สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก เป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ

สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกเป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ

พระพรหมบัณฑิต

ส่วนงานของสหประชาชาติที่กำกับดูแลองค์กรนอกภาครัฐของคณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติได้มีหนังสือลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ แจ้งให้ ทราบอย่างเป็นทางการว่า บัดนี้ สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak) ได้รับอนุมัติให้มีสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ซึ่งจะทำให้สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีสิทธิ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติและสามารถแต่งตั้งผู้แทนอย่างเป็น ทางการไปประจำการที่สำนักงานสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก นครเจนีวา และกรุง เวียนนา รายละเอียดปรากฏตามจดหมายที่แนบท้ายบทความนี้
การอนุมัติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติดังกล่าวมีขึ้นใน การประชุมของคณะมนตรีฯ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอ ของคณะกรรมการกลั่นกรองที่มีชื่อว่าคณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐ คณะ กรรมการชุดนี้ได้มีมติเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เสนอให้ที่ประชุมคณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติอนุมัติให้สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีสถานะ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ด้วยเหตุนี้ คณะมนตรีฯ จึงมีมติดังกล่าวเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคมที่ผ่านมาซึ่งตรงกับวัน บุรพาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เรื่องเดิมมีอยู่ว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้รับมอบหมายจาก มหาเถรสมาคมและรัฐบาลให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ที่ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จ ในการประสานให้ประมุขสงฆ์และผู้นำชาวพุทธทั่วโลกลงนามในแถลงการณ์ร่วมเมื่อ ปี ๒๕๔๘ ที่รับรองว่าพุทธมณฑลของไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
ต่อมา ในปี ๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้รับฉันทานุมัติ จากผู้นำชาวพุทธทั่วโลกให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมารับผิดชอบการจัดงานวิสาขบูชาโลก โดยใช้ชื่อว่าสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak) พร้อมกับให้การรับรองธรรมนูญขององค์กร สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ได้รับการจด ทะเบียนเป็นสมาคมที่กระทรวงวัฒนธรรมของไทย เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ระบุรายละเอียดในการขอจดทะเบียนว่ามีสำนักงานตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย และมีอธิการบดีของมหาวิทยาลัยได้เป็นประธานสภาฯ
เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกได้ยื่นใบสมัครขอ เข้าเป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีฯ โดยระบุว่า พันธกิจหลักของสภาฯ คือ การประสานความร่วมมือกับชาวพุทธทั่วโลกเพื่อจัดประชุมวิสาขบูชาโลก และเพื่อ ดำเนินภารกิจร่วมกันในเรื่องต่อไปนี้
. การพัฒนาที่ยั่งยืน
. สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (ภาวะโลกร้อน)
. การศึกษา
. การสร้างสันติภาพ

อธิการบดีในฐานะประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ได้มอบหมายให้คณะ ผู้แทนเดินทางไปชี้แจงต่อที่ประชุมของคณะกรรมการกลั่นกรอง ณ สำนักงานใหญ่ องค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก อธิการบดีเองได้เดินทางไปต่างประเทศ บ่อยครั้งในระยะนั้นเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมขององค์การสหประชาชาติ เช่น เดินทางไป เข้าร่วมประชุมเรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี ๒๕๕๒ และเดินทางไปเข้าร่วมประชุมชาวพุทธโลก (World Buddhist Forum) ที่ประเทศจีน เป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้เพื่อสะสมผลงานสำหรับนำไปอ้างอิงประกอบคำชี้แจงต่อคณะกรรม
การกลั่นกรอง ผลงานที่สำคัญที่สุดก็คือ การจัดประชุมวิสาขบูชาโลก ณ สำนักงาน สหประชาชาติที่กรุงเทพฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เป็นต้นมา
คณะผู้แทนของมหาวิทยาลัยใช้เวลาสองปีในการเดินทางไปชี้แจงต่อคณะกรรม การกลั่นกรองที่นครนิวยอร์ก อธิการบดีและคณะได้ติดต่อประสานงานนอกรอบเพื่อ ทำความเข้าใจกับประเทศที่คัดค้านการสมัครเป็นองค์กรที่ปรึกษาของสภาฯ ประเด็น สำคัญในการคัดค้านก็คือทำไมสภาฯ ต้องมีที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย เมื่อคณะผู้แทนของ มหาวิทยาลัยได้ส่งถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรและไปชี้แจงด้วยวาจาจนเป็นที่พอ ใจของทุกฝ่ายแล้ว ประเทศที่เคยคัดค้านได้ยุติการคัดค้าน เมื่อไม่มีประเทศใดคัดค้าน ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองจึงมีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เห็นชอบให้เสนอคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติเพื่อมีมติอนุมัติให้ สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกมีสถานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีฯ ซึ่ง คณะมนตรีฯ ก็ได้มีมติอนุมัติตามเสนอนั้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เมื่อได้รับสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีฯ แล้ว สภาสากลวันวิสาข บูชาโลก มีสิทธิพิเศษดังต่อไปนี้
๑. มีสิทธิได้รับแจ้งให้เข้าร่วมกิจกรรมของคณะมนตรีฯ และมีโอกาสให้คำ ปรึกษาแก่ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติภายในกรอบพันธกิจของสภา สากลวันวิสาขบูชาโลก
๒. มีสิทธิแต่งตั้งผู้แทนอย่างเป็นทางการเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานใหญ่ สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา และกรุง เวียนนา ผู้แทนของของสภาฯ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานกิจกรรม การประชุม ต่างๆ ของสหประชาชาติและองค์กรทั่วไป นอกจากนี้ สภาฯ สามารถแต่งตั้งผู้แทนให้ เป็นผู้สังเกตการณ์ในการประชุมของคณะมนตรีฯ การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชา ชาติ การประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และที่ประชุมระหว่างรัฐบาลอื่นๆ
๓. มีสิทธิเสนอถ้อยแถลงด้วยวาจาในที่ประชุมคณะมนตรีฯ และเสนอถ้อยแถลง เป็นลายลักษณ์อักษรไม่เกิน ๕๐๐ คำให้เลขาธิการสหประชาชาติแจ้งเวียนแก่บรรดา ประเทศสมาชิกของคณะมนตรีฯ
๔. มีสิทธิขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ และอาจ ได้รับการร้องขอจากเลขาธิการสหประชาชาติให้ทำการศึกษาวิจัย หรือทำรายงาน ให้กับสำนักเลขาธิการสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการต่างๆ ของคณะมนตรีฯ
๕. มีสิทธิใช้อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกขององค์การสหประชา ชาติ เช่น ห้องประชุม ห้องสมุด ห้องแถลงข่าว
เมื่อมีสิทธิพิเศษดังกล่าวมาแล้ว สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกย่อมมีพันธกรณีที่จะ ต้องส่งรายงานกิจกรรมขององค์กรที่แสดงถึงการสนับสนุนงานของสหประชาชาติและ ของคณะมนตรีฯ รายงานฉบับนี้ต้องทำส่งทุก ๔ ปี สภาฯ ต้องส่งรายงานครั้งแรก ภายในวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ในการจัดทำรายงานฉบับนี้จะต้องมีการเก็บรวบรวม เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าสภาฯ ได้เข้าร่วมประชุมหรือร่วมกิจกรรมของสหประชา ชาติตลอดทุกช่วงเวลา ๔ ปี
ถ้าสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกไม่ส่งรายงานกิจกรรมที่ว่านี้ภายในเวลาที่กำหนด ก็จะถูกเพิกถอนสถานะองค์กรที่ปรึกษาพิเศษ หรือถ้าไม่ร่วมหรือไม่สนับสนุนกิจกรรม ของสหประชาชาติติดต่อกันเป็นเวลาสามปีก็อาจจะถูกเพิกถอนสถานะองค์กร
ที่ปรึกษาพิเศษได้เช่นกัน
แม้ว่าสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก จะมีสถานะเป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษของ สหประชาชาติไปแล้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ยังต้องสนับสนุน กิจกรรมของสภาฯ ต่อไป ทั้งนี้เพราะลำพังสภาฯ เองซึ่งมีสถานะเป็นเพียงองค์กรนอก ภาครัฐย่อมไม่สามารถประสานงานกับมหาเถรสมาคมและรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ความสำเร็จในการจัดงานวิสาขบูชาโลกที่ผ่านมาเป็นผลจากการสนับสนุนอย่าง เต็มกำลังของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่อยู่ ในกำกับของรัฐ ดังนั้น ถ้าจะให้การดำเนินงานของสภาฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังที่ผ่านมา สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยจะต้องร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นต่อไป
ถ้าสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แยกทางกันเดินนับจากนี้ไป ต่างฝ่ายต่างจะเสียประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ ประโยชน์ที่ สภาฯ จะต้องเสียไปก็คือช่องทางในการประสานงานกับมหาเถรสมาคมและรัฐบาล ส่วนสิทธิประโยชน์ที่มหาวิทยาลัยจะต้องเสียไปก็คือช่องทางในการทำงานร่วมกับ ประชาคม โลกซึ่งเป็นสิทธิพิเศษของสภาฯ
นอกเหนือจากมีสิทธิพิเศษดังกล่าวแล้ว เราต้องยอมรับว่านับจากนี้ไป สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกจะเป็นองค์กรเนื้อหอมที่องค์กรชาวพุทธทั่วโลกต้องการ เข้ามาผูกสัมพันธ์ด้วย มหาวิทยาลัยจึงสามารถใช้สภาฯ เป็นเวทีกลางในการสร้าง ความร่วมมือกับองค์กรชาวพุทธทั่วโลกและเป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานงานกับ องค์การสหประชาชาติและประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ
วันนี้ สภาสากลวันวิสาขบูชาโลกเปรียบเหมือนกับสาวเนื้อหอมที่มีคนมารุมตอม รุมจีบกันมากมายจนหัวบันไดบ้านไม่แห้ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะต้องทำตัวเป็นพี่เลี้ยงที่ดีซึ่งจะคอยกำกับดูแลให้สาวงามวางตัวพอดีพองามคือไม่ใจ ง่ายจนเกินไปและไม่เล่นตัวจนน่าชัง
(คำแปลจดหมาย)
๑ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖)
เรียน ผู้แทนองค์กรนอกภาครัฐ
ผมยินดีที่จะเรียนให้ท่านทราบว่า คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่ง สหประชาชาติ (Economic and Social Council – ECOSOC) ในการประชุมสมัยสารัตถะ เมื่อเดือน กรกฎาคม ค.ศ. ๒๐๑๓ (พ.ศ. ๒๕๕๖) ได้รับรองข้อเสนอของ
คณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐ ในการอนุมัติให้สถานะที่ปรึกษาพิเศษแก่ องค์กรของท่าน อันได้แก่ สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak – ICDV) ในนามของเจ้าหน้าที่ทุกคนของคณะกรรมการว่าด้วยองค์กร นอกภาครัฐ ผมขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจแก่ท่านด้วย
การมีสถานะเป็นที่ปรึกษาทำให้องค์กรของท่านสามารถติดต่อสัมพันธ์กับคณะ มนตรีฯ (ECOSOC) และหน่วยงานทั้งหลายที่ขึ้นตรงต่อคณะมนตรีฯ รวมทั้งสำนัก เลขาธิการสหประชาชาติ โครงการต่างๆ กองทุน และสำนักงานในหลายด้านด้วยกัน เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว เราขอนำเสนอข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับสิทธิพิเศษของสถานะที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีฯ รวมถึงพันธกรณีที่ องค์กรของท่านจะต้องดำเนินการตามภายใต้ความสัมพันธ์นี้ ดังนั้น เราจึงขอให้ท่าน ใช้เวลาศึกษารายละเอียดที่อยู่ด้านล่างอย่างถี่ถ้วน ดังนี้
ก. สิทธิพิเศษและผลประโยชน์ของสถานะที่ปรึกษา
๑ . ข้อมติคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ที่ ๑๙๙๖/๓๑
ข้อมติคณะมนตรีฯ ที่ ๑๙๙๑/๓๑ เมื่อ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๙๖ ได้กำหนดกฎเกณฑ์การปรึกษาหารือกับองค์กรนอกภาครัฐไว้ ทั้งนี้ ขอให้ ท่านโปรดศึกษารายละเอียดของข้อมติทั้งหมดได้ที่ http://csonet.org/content/documents/199631.pdf โดยเอกสาร ดังกล่าวระบุข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการมีส่วนร่วมในงานของคณะมนตรีฯ รวมทั้งโอกาสขององค์กรของท่านที่จะหารือกับประเทศสมาชิกและระบบ สหประชาชาติทั้งมวล บนพื้นฐานของลักษณะงานและขอบเขตการดำเนิน งานที่องค์กรของท่านถือปฏิบัติ นอกจากนี้ คณะมนตรีฯ หรือหน่วยงาน


ใดหน่วยงานหนึ่งของคณะมนตรีฯ สามารถขอข้อมูลแบบชำนาญการหรือ คำแนะนำจากองค์กรที่มีความสามารถพิเศษในเรื่องใดก็ได้
• ในสถานะที่ปรึกษา ท่านย่อมได้รับแจ้งระเบียบวาระการประชุมของคณะ มนตรีเศรษฐกิจและสังคม
• องค์กรที่มีสถานะที่ปรึกษาทั่วไปสามารถยื่นคำร้องไปยังเลขาธิการ สหประชาชาติ ผ่านคณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐ เพื่อนำเสนอ ประเด็นที่มีความสนใจเป็นพิเศษเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมชั่วคราว ของคณะมนตรีฯ ได้
๒ . การเข้าร่วมการประชุมและการเข้าถึงสหประชาชาติ
สถานะขององค์กรของท่านให้สิทธิท่านแต่งตั้งผู้แทนอย่างเป็นทางการเพื่อ ไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และ สำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา และกรุงเวียนนา ผู้แทนของท่าน สามารถลงทะเบียนและเข้าร่วมงาน กิจกรรม การประชุมต่างๆ ของ สหประชาชาติและองค์กรทั่วไป นอกจากนี้ ท่านสามารถแต่งตั้งผู้แทนที่ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สังเกตการณ์ในการประชุมสาธารณของคณะ มนตรีฯ และองค์กรที่ขึ้นต่อคณะมนตรีฯ การประชุมสมัชชาใหญ่ คณะ มนตรีสิทธิมนุษยชน และที่ประชุมระหว่างรัฐบาลอื่นๆ ซึ่งเป็นกลไก ตัดสินใจของสหประชาชาติ องค์กรประเภทบัญชีรายชื่อสามารถส่งผู้แทน เข้าร่วมการประชุมที่มีเรื่องอยู่ในข่ายที่องค์กรนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบ แนว ทางการเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวอาจรวมถึงวิธีการมีส่วนร่วมอื่นๆ ด้วย เพื่อประกันการมีส่วนร่วม ท่านจะต้องใช้ username และ password ที่ ทางคณะมนตรีฯ ได้มอบให้องค์กรของท่านเพื่อใช้ในการ login เข้า


เว็บไซต์ของคณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐ ที่ www.un.org/ecosoc/ngo เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
• สำหรับการขอบัตรอนุญาตเข้า-ออก สถานที่ต่างๆ ในแต่ละช่วงปีปฏิทิน โปรดใช้ข้อมูล login และ password ข้างต้นและทำตามวิธีใช้ที่ปรากฏ อย่างเคร่งครัดสำหรับตารางในขณะนั้น โปรดทราบว่าผู้แทนที่ได้รับการ แต่งตั้งโดยองค์กรของท่านต้องเดินทางมารับบัตรอนุญาตเข้า-ออกด้วย ตนเอง ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ ที่นครนิวยอร์ก นครเจนีวา หรือ กรุง เวียนนา
• ข้อมูล login และ password มีความสำคัญเช่นกันในการที่จะปรับข้อมูล และประวัติขององค์กรของท่านให้เป็นปัจจุบัน อีกทั้งสร้างความมั่นใจให้ องค์กรของท่านสามารถรับการติดต่อได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น ขอให้โปรด ตรวจสอบและปรับแก้ข้อมูลขององค์กรของท่านทุกๆ 6 เดือน ที่ http://esango.un.org/civilsociety/login.do
• การมีถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรในคณะมนตรีฯ
• องค์กรทั่วไปและองค์กรที่ได้รับสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษสามารถนำส่ง ถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรได้ โดยถ้อยแถลงดังกล่าวจะต้องมีเนื้อหา สอดคล้องกับวาระของคณะมนตรีฯ ในประเด็นที่องค์กรเหล่านั้นมีความ ชำนาญพิเศษ ทั้งนี้ เลขาธิการสหประชาชาติสามารถเวียนถ้อยแถลง ดังกล่าวให้ประเทศสมาชิกของคณะมนตรีฯ ได้ด้วย
• ข้อมติคณะมนตรีฯ ที่ ๑๙๙๑/๓๑ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขของการ นำส่งและเวียนถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษร เงื่อนไขดังกล่าวประกอบ ด้วยกรณีดังต่อไปนี้ แต่อาจจะนอกเหนือจากนี้ก็ได้


(ก) ถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรจะต้องใช้ภาษาทางการของ สหประชาชาติ (อังกฤษหรือฝรั่งเศส) ภาษาใดภาษาหนึ่ง
(ข) องค์กรของท่านจะต้องส่งเอกสารถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์ อักษรภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนการประชุมคณะมนตรีฯ ใน แต่ละปี เพื่อให้เวลาเลขาธิการสหประชาชาติและองค์กรหารือกัน ตามความเหมาะสม ก่อนที่จะมีการเวียนถ้อยแถลง
(ค) ความยาวของเอกสารถ้อยแถลงจากองค์กรที่มีสถานะเป็นที่ ปรึกษาทั่วไปจำกัดอยู่ที่ ๒,๐๐๐ คำอย่างมากที่สุด
(ง) ความยาวของเอกสารถ้อยแถลงจากองค์กรที่มีสถานะเป็นที่ ปรึกษาพิเศษจำกัดอยู่ที่ ๕๐๐ คำอย่างมากที่สุด
(จ) เลขาธิการสหประชาชาติในการหารือกับประธานคณะมนตรีฯ หรือคณะมนตรีฯ หรือคณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐ อาจเชิญองค์กรประเภทบัญชีรายชื่อให้ยื่นถ้อยแถลงเป็นลาย ลักษณ์อักษรได้ ข้อกำหนดในการเสนอถ้อยแถลงดังกล่าว เมื่อ เป็นที่เห็นชอบแล้วให้ถือคณะมนตรีฯถือปฏิบัติได้
๓ . การนำเสนอถ้อยแถลงด้วยวาจาในที่ประชุมคณะมนตรีฯ
• ข้อกำหนดในการนำเสนอถ้อยแถลงด้วยวาจาประกอบด้วย กรณีดังต่อไปนี้ แต่อาจจะนอกเหนือจากนี้ก็ได้
(ก) คณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐของคณะมนตรีฯ สามารถเสนอแนะคณะมนตรีฯ ว่าองค์กรที่มีสถานะเป็นที่ ปรึกษาทั่วไปและที่ปรึกษาพิเศษใดควรแถลงด้วยวาจาต่อที่ ประชุมคณะมนตรีฯ รวมถึงหัวข้อที่ควรจะแถลง ซึ่งองค์กรนั้นๆ


มีสิทธิกล่าวถ้อยแถลงหนึ่งครั้งต่อหน้าคณะมนตรีฯ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ กับความเห็นชอบของคณะมนตรีฯ
(ข) เมื่อใดก็ตามที่คณะมนตรีฯ อภิปรายเกี่ยวกับสารัตถะของหัว ข้อซึ่งองค์กรนอกภาครัฐนำเสนอในฐานะที่ปรึกษาทั่วไป และโดย ที่หัวข้อดังกล่าวปรากฏอยู่ในระเบียบวาระของคณะมนตรีฯ องค์กรนั้นจะมีสิทธินำเสนอด้วยวาจาต่อหน้าคณะมนตรีฯ ตาม ความเหมาะสม
๔ . การหารือกับคณะมนตรีฯ และองค์กรในสังกัด
คณะกรรมาธิการและองค์กรในสังกัดของคณะมนตรีฯอาจขอคำปรึกษากับ องค์กรนอกภาครัฐทั่วไปและองค์กรที่มีสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษ โดยการ ปรึกษาหารือดังกล่าวอาจมาจากคำขอขององค์กรนอกภาครัฐ อีกทั้งองค์ กรประเภทบัญชีรายชื่ออาจแถลงต่อองค์กรในสังกัดของคณะมนตรีฯ ตาม คำแนะนำของเลขาธิการสหประชาชาติ หรือตามการร้องขอของ คณะกรรมาธิการและองค์กรในสังกัดที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมาธิการของคณะมนตรีฯ อาจเสนอแนะให้องค์กรนอกภาครัฐที่มี ความชำนาญพิเศษในสาขานั้นๆ มาร่วมทำการศึกษาวิจัยหรือสืบหาความ จริง หรือตระเตรียมเอกสารให้แก่คณะกรรมาธิการ
องค์กรนอกภาครัฐสามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในสำนัก เลขาธิการสหประชาชาติในประเด็นอันเป็นที่สนใจหรือห่วงกังวลร่วมกัน โดยการปรึกษาดังกล่าวอาจมาจากคำขอร้องขององค์กรนอกภาครัฐหรือ เลขาธิการสหประชาชาติ


เลขาธิการสหประชาชาติอาจขอให้องค์กรที่มีสถานะเป็นที่ปรึกษาทั่วไป องค์กรที่มีสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษ และองค์กรที่เป็นประเภทบัญชี รายชื่อ ทำการศึกษาหรือจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ได้

๖.การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของสหประชาชาติ
เลขาธิการสหประชาชาติมีอำนาจอนุญาตให้องค์กรนอกภาครัฐซึ่งมีสถานะเป็น ที่ปรึกษา ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของสหประชาชาติ ได้ดังนี้
สถานที่สำหรับจัดการประชุมหรือการประชุมย่อยที่เกี่ยวข้องกับงานของ คณะมนตรีฯ
การจัดที่นั่งและสิ่งอำนวยความสะดวกตามความเหมาะสมสำหรับการรับ เอกสารระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติในวาระที่เป็น สาธารณะ เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจและสังคมและประเด็นที่เกี่ยวข้อง
การจัดการเสวนาอย่างไม่เป็นทางการในประเด็นอันเป็นที่สนใจพิเศษของ คณะหรือองค์กร
การใช้บริการของสำนักงานบริการเอกสารสารนิเทศสหประชาชาติ
การแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคณะมนตรีฯ และหน่วยงานในสังกัด อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตามที่เลขาธิการสหประชาชาติ เห็นสมควร
การใช้ห้องสมุดของสหประชาชาติ

ความรับผิดชอบและพันธกรณีขององค์กรนอกภาครัฐที่มีสถานะที่ปรึกษา
การนำส่งรายงานทุกๆ ๔ ปี


• องค์กรที่มีสถานะที่ปรึกษาทั่วไปและที่ปรึกษาพิเศษมีหน้าที่ส่งรายงาน เกี่ยวกับกิจกรรมขององค์กรในการสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีฯ และสหประชาชาติหนึ่งครั้งทุกๆ ๔ ปี หรือที่เรียกว่า รายงานในช่วง ๔ ปี ตามข้อมติคณะมนตรีฯ ที่ ๑๙๙๑/๓๑ และข้อมติคณะมนตรีฯ ที่ ๒๐๐๘/๔ เรื่อง “มาตรการการปรับปรุงขั้นตอนการรายงานในช่วง ๔ ปี” ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว องค์กรของท่านจะต้องส่งรายงาน ฉบับแรกสำหรับช่วง ค.ศ. ๒๐๑๓-๒๐๑๖ ไม่เกินวันที่ ๑ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๑๗ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เพื่อให้คณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐ ของคณะมนตรีฯพิจารณา ทั้งนี้ โปรดดาวน์โหลดและปฏิบัติตามแนว ทางการส่งรายงานตามที่ปรากฏในเว็บไซต์ www.un.org/ecosoc/ngo
ในช่วงระหว่างการส่งรายงานทุกๆ ๔ ปี องค์กรต่างๆ ควรบันทึก รายละเอียดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการประชุมและกิจกรรมของ สหประชาชาติรวมถึงความร่วมมือกับกองทุนและสำนักงานต่างๆ ของ สหประชาชาติ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับรวบรวมไว้ในรายงานต่อไป
• การระงับและถอดถอนออกจากสถานะที่ปรึกษา
ตามข้อมติคณะมนตรีฯ ที่ ๒๐๐๘/๔ ถ้าองค์กรนอกภาครัฐไม่สามารถ ส่งรายงานในช่วง ๔ ปีภายในเวลาที่กำหนด คณะกรรมการว่าด้วย องค์กรนอกภาครัฐของคณะมนตรีฯ จะเสนอให้มีการระงับสถานะที่ ปรึกษาขององค์กรดังกล่าวทันทีเป็นเวลา ๑ ปี
ตามข้อมติข้างต้น ที่ ๒๐๐๘/๔ เดียวกันนี้ องค์กรนอกภาครัฐที่ถูก ระงับสถานะที่ปรึกษาเนื่องจากมิได้ส่งรายงานช่วง ๔ ปีดังกล่าว จะต้องส่งรายงานภายในระยะเวลาของการที่ถูกระงับสถานะ เพื่อให้ คณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐพิจารณาและรับทราบรายงาน


ดังกล่าว หากองค์กรนอกภาครัฐดังกล่าวไม่สามารถส่งรายงานได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด คณะกรรมการว่าด้วยองค์กรนอกภาครัฐ ของคณะมนตรีฯ จะเสนอให้คณะมนตรีฯ ถอดถอนสถานะที่ปรึกษา ทันที โดยผลประโยชน์และสิทธิพิเศษต่างๆ ขององค์กรดังกล่าวจะยุติ ลงเมื่อคณะมนตรีฯ ได้ถอดถอนสถานะที่ปรึกษาดังกล่าว
• องค์กรที่ถูกถอดถอนสถานะที่ปรึกษาจะสามารถสมัครเป็นที่ปรึกษาได้ อีกครั้งหลังระยะเวลาครบ ๓ ปี นับจากวันแรกที่การถอดถอนสถานะมี ผลบังคับใช้
• นอกจากนี้ การระงับสถานะที่ปรึกษาขององค์กรนอกภาครัฐเป็นเวลา ๓ ปี หรือการตัดสินใจถอดถอนสถานะดังกล่าวของคณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคม โดยคำแนะนำของคณะกรรมการว่าด้วยองค์กร นอกภาครัฐ สามารถเกิดขึ้นได้ในกรณี ดังนี้
(ก) หากองค์กรดังกล่าวไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมโดยผ่านหน่วย งานในสังกัดหรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการแทน ใช้สถานะ ในทางมิควรโดยกระทำการใดที่ขัดต่อวัตถุประสงค์และหลักการของกฎ บัตรสหประชาชาติ รวมถึงการกระทำใดๆ ที่ไม่สามารถยืนยันได้ หรือมี วัตถุประสงค์ทางการเมืองซึ่งปองร้ายต่อรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งขัดต่อ วัตถุประสงค์และหลักการดังกล่าว
(ข) หากปรากฏหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีอิทธิพลแทรกแซง จากรายได้อันเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมที่นานาชาติถือว่าเป็น อาชญากรรม เช่น การลักลอบค้ายาเสพติด การฟอกเงิน หรือการค้าอาวุธ ผิดกฎหมาย


(ค) หากองค์กรมิได้ทำการสนับสนุนที่เป็นประโยชน์ให้กับการ ทำงานของสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะมนตรีฯ หรือ คณะกรรมาธิการฯ หรือองค์กรภายใต้สหประชาชาติในระยะ ๓ ปีที่ผ่าน มา
ข้อห้ามอันเคร่งครัดต่อการกระทำที่ไม่เหมาะสมในสถานะที่ ปรึกษา
องค์กรนอกภาครัฐที่ได้รับสถานะที่ปรึกษาไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในระบบ สหประชาชาติ ดังนั้น จึงไม่มีสถานะเป็นผู้แทนหรือพนักงานของสหประชาชาติ และไม่มีอำนาจกระทำการใดแทนสหประชาชาติ หรือใช้ชื่อหรือตราสัญลักษณ์ เพื่อรับรองกิจกรรมขององค์กรไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม นอกจากนี้ สถานะที่ ปรึกษามิได้ให้สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การยกเว้นภาษี หนังสือเดินทางทูต สิทธิ พิเศษในการเดินทาง เป็นต้น แก่องค์กรนอกภาครัฐแต่อย่างใด
ไม่อนุญาตให้องค์กรนอกภาครัฐที่ได้รับสถานะที่ปรึกษาใช้ตราสัญลักษณ์ สหประชาชาติบนอุปกรณ์เครื่องเขียน นามบัตร เว็บไซต์ ป้ายการประชุม รถยนต์ อาคารที่ทำงาน เป็นต้น การละเมิดข้อห้ามดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่อ องค์กรของท่าน รวมถึงการระงับสถานะที่ปรึกษา
ถ้าท่านประสงค์แสดงสถานะของท่านบนหัวกระดาษจดหมาย ท่านสามารถใส่ ข้อความต่อไปนี้ภายใต้ชื่อองค์กรท่าน“องค์กร...( ) ประเภทของสถานะ คณะ มนตรีเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่... )ปีที่ได้รับสถานะ( ”
หากท่านมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อเรา เรามีความยินดีที่ได้มีโอกาส ร่วมงานกับท่านและยินดีสนับสนุนการมีส่วนร่วมของท่านในงานของสหประชาชาติใน อนาคต โดยเฉพาะงานของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมและองค์กรในสังกัด

ขอแสดงความนับถือ
) อาบรามอฟ อังเดร (
หัวหน้าแผนกองค์กรนอกภาครัฐ
กรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ


เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2556 | อ่าน 11020
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18463
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9707
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11093
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15152
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12034
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11054
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 10991
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11544
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12823
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12072
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th