เกี่ยวกับโครงการ

 
วิธีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ

               การศึกษาตามแนวพุทธปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนวิถีพุทธ  คือ  กระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งทางด้านความประพฤติ ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อความเจริญงอกงามทุกขั้นตอนของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกิน อยู่ ดู ฟัง ในชีวิตประจาวันที่มีสติสัมปชัญญะคอยกากับ เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนจนเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เจริญสืบต่อไป และเนื่องจากพุทธศาสนามีหลักการพัฒนาว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะฝึกฝนและพัฒนาตนได้ ประกอบกับวิเคราะห์ผู้เรียนว่ามีสติปัญญา อุปนิสัย ความพร้อม และภูมิหลังที่แตกต่างกัน การพัฒนาจึงเน้นที่ตัวผู้เรียนแต่ละคนเป็นสาคัญ

              โรงเรียนวิถีพุทธเน้นการจัดสภาพทุก ๆ ด้านเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตามหลักธรรมอย่างบูรณาการที่ส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามตามลักษณะแห่งปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ คือ
 

1. สัปปุริสสังเสวะ หมายถึง การอยู่ใกล้คนดี ใกล้ผู้มี ครู อาจารย์ดี มีข้อมูล มีสื่อที่ดี
2. สัทธัมมัสสวนะ หมายถึง เอาใจใส่ศึกษาโดยมีหลัดสูตรการเรียนการสอนที่ดี
3. โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ พิจารณาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี
4. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ หมายถึง ความสามารถนาความรู้ไปใช้ในชีวิตได้ถูกต้องเหมาะสม


2.วัตถุประสงค์
 

1. ด้านกายภาพ จัดสภาพใกล้ชิดธรรมชาติ ชวนมีจิตใจสงบและส่งเสริมการบริหารจิต เจริญปัญญา
2. ด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต จัดกิจกรรมที่บูรณาการไตรสิกขาโดยเน้น การกิน อยู่ ดู ฟัง ด้วยสติสัมปชัญญะรู้คุณค่าแท้
3. ด้านการสอน มีหลักสูตรสถานศึกษาและจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างชัดเจน ต่อเนื่อง
4. ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ ส่งเสริมวัฒนธรรม แสวงหาปัญญา มีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นกัลยาณมิตรต่อกันทุกคน พยายามปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น
5. ด้านการบริหารจัดการ ร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนพัฒนานักเรียนและพัฒนาซึ่งกันและกัน

วิธีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธ

1. ด้านกายภาพ โรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมลักษณะการพัฒนา ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมี - พระพุทธรูป ที่เด่น เหมาะสม ที่ชวนให้ระลึกถึงพระรัตนตรัยอยู่เสมอที่หอประชุม - มีป้ายนิเทศ ต้นไม้คุณธรรม ที่เน้นให้นักเรียนได้ศึกษาพุทธธรรม

2. ด้านกิจกรรมพื้นฐานวิถีพุทธ โรงเรียนจัดกิจกรรมวิถีชีวิตประจาวัน ประจาสัปดาห์หรือในโอกาสต่างๆ เป็นภาพรวมทั้งโรงเรียน ที่ปฏิบัติบูรณาการทั้งศีล สมาธิ ปัญญา โดยเน้นมีวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรมการกิน อยู่ ดู ฟัง ด้านสติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นไปตามคุณค่าแท้ของการดาเนินชีวิต ได้จัดกิจกรรมดังนี้ - กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระก่อนเข้าเรียนและก่อนเลิกเรียนประจาวัน เพื่อใกล้ชิดกับศาสนา - กิจกรรมการปฏิญาณตนเป็นพุทธมานกะ ซึ่งจัดขึ้นปีละครั้ง - กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระและอบรมจริยธรรมในวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ - กิจกรรมการฝึกทาวิปัสสนากรรมฐานจะจัดขึ้นในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา - กิจกรรมการอบรมธรรมะจากพระภิกษุ - กิจกรรมวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา

3. ด้านการเรียนการสอน สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรสถานศึกษาเน้นการเรียนการสอนที่บูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ต่อเนื่องสม่าเสมอ การจัดการเรียนรู้ให้บูรณาการสู่การปฏิบัติ โดยการนาความคิดของพุทธธรรมเป็นฐานเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่หลักธรรมในการพัฒนาตนเองและผู้อื่น กระบวนการเรียนรู้มีลักษณะ สอนให้รู้ ทาให้ดู อยู่ให้เห็น โดยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย (กายภาวนา) ด้านความประพฤติ (ศีลภาวนา) และด้านปัญญา (ปัญญาภาวนา) มุ่งให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ กิน อยู่ ดี ฟัง เป็น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีเมตตา การกิน อยู่เป็น เพื่อประโยชน์ในการดารงชีวิตอยู่อย่างเหมาะสมเป็นไปตามคุณค่าแท้หรือการ ดูเป็น เอาประโยชน์ในการเรียนรู้เพิ่มพูนปัญญา


4. ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ สถานศึกษาส่งเสริมบรรยากาศใฝ่เรียนรู้ มีกัลยาณมิตรเคารพอ่อนน้อม ยิ้มแย้มแจ่มใส การมีเมตตากรุณาต่อกัน โดยครูเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน

5. ด้านการบริหารจัดการ สถานศึกษาแสวงหาความร่วมมือจากชุมชนโดยสร้างความเข้าใจวิธีการดาเนินการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยจัดการศึกษาตามสภาพความพร้อม คานึงภาพงดงามของโรงเรียนวิถีพุทธมาใช้พัฒนาผู้เรียน ดังนี้
           5.1 หลักสุตรสถานศึกษา 1. สอดแทรก เพิ่มเติมพุทธธรรมในวิสัยทัศน์ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 2. เพิ่มเติมคุณธรรมจริยธรรมในผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 3. มีการบูรณาการพุทธธรรมในการจัดการเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระ 4. สอดแทรกความรู้ และการปฏิบัติจริงในการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยการบูรณาการไตรสิกขาเข้าในชีวิตประจาวัน

          5.2 ผู้สอน 1. เป็นตัวอย่างที่ดีของลักษณะ สอนให้รู้ ให้ทาดู อยู่ให้เป็น อย่างสม่าเสมอ 2. เป็นกัลยาณมิตรกับผู้เรียน มีเมตตาธรรม อ่อนโยน อดทน อดกลั้นและเสริมสร้างขวัญกาลังใจแก่ผู้เรียนเสมอ      
           5.3 การจัดการเรียนรู้ 1. พัฒนาผู้เรียนนอบด้าน ทั้งกาย (ภาวนา) ความประพฤติ (ศีลภาวนา) จิตใจ (จิตตภาวนา) ปัญญา (ปัญญาภาวนา) 2. จัดโอกาส ส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้และปฏิบัติธรรมต่างๆ สอดคล้องกับวิถีชีวิต (กิน อยู่ ดู ฟัง ) 3. สร้างส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรม แสวงปัญญาและวัฒนธรรมเมตตา 4. เน้นให้เกิดการเรียนรู้แบบ โยนิโสมนสิการ (กระบวนการคิดวิเคราะห์พิจารณาเหตุผลที่ดีและถูกวิธี) เข้าใจและค้นพบคุณค่าแท้จริงของสรรพสิ่ง การจัดกิจกรรมของโรงเรียนวิถีพุทธ 4 อย่าง 1. กิจกรรมส่งเสริมเนื้อหาตามหลักสูตร 1. แสดงตนเป็นพุทธมามกะ 2. ประกวดมารยาทชาวพุทธ 3. กิจกรรมค่ายพุทธบุตร 4. เรียนธรรมศึกษาและสอบธรรมศึกษา 5. การบริหารจิต การเจริญปัญญา

 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th