ชาวพุทธมุ่งออกแบบระบบการศึกษาสำหรับการเป็นพลเมืองโลกยกประเทศภูฏานเป็นต้นแบบวิถีพุทธ
ชาวพุทธมุ่งออกแบบระบบการศึกษาสำหรับการเป็นพลเมืองโลกยกประเทศภูฏานเป็นต้นแบบวิถีพุทธ
22พ.ค.2556 ตามที่มหาวิทยลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและมหาเถรสมาคมจัดการกิจกรรมวันวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ 10 เรื่อง “การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก : มุมมองพระพุทธศาสนา” เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 21-22 พฤษภาคมที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ โดยมีผู้แทนชาวพุทธจากทั่วโลกจาก 87 ประเทศที่ประมาณ 1,400รูป/คนเข้าร่วม
ในโอกาสนี้เว็บไซต์ มจร.ได้เสนอบทความเรื่อง "การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก : มุมมองพระพุทธศาสนา" ซึ่งสรุปผลจากการจัดกิจกรรมดังกล่าวความว่า
การศึกษาของโลกในยุคปัจจุบันอาจต้องเป็นการศึกษาเพื่อเตรียมผู้เรียนให้มีศักยภาพในการตอบรับความท้าทายของโลกยุคโลกาภิวัฒน์ นี่คือสิ่งที่กำลังได้รับความสนใจในด้านการเปลี่ยนถ่ายการจัดการเรียนการสอนแบบเก่าไปสู่แบบใหม่ ระบบการจัดการเรียนการสอนแบบเก่ามักถูกวิภาควิจารณ์ถึงข้อจำกัดด้านหลักสูตร ผู้วิจารณ์ต้องการให้ยกระดับหลักสูตรไปสู่เป้าหมายระดับสากล เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวที่ท้าทายต่างๆ ของโลกปัจจุบัน หลักสูตรต้องสามารถเชื่อมต่อผู้เรียนให้สามารถตอบรับความท้าทายใหม่ๆ ได้อย่างประสบความสำเร็จ
การเสวนาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ถึงการออกแบบระบบการศึกษาสำหรับการเป็นพลเมืองโลกในสังคมพุทธ โดยยึดพื้นฐานด้านคุณค่า แบบอย่างที่ดี และวิถีทางการดำเนินชีวิตตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงไว้ในเมตตสูตร ปัจจุบันนี้สังคมที่พัฒนาแล้วมักจะพิจารณาการศึกษาว่าเป็นวิธีหนึ่งในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นพลเมืองโลก สิ่งที่เป็นที่นิยมทั่วโลกในขณะนี้คือความต้องการออกแบบระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการเป็นพลเมืองโลก หลายชุมชน สังคมมองการศึกษาว่าเป็นการลงทุนเรื่องคนบนพื้นฐานของแต่ละบุคคล ดังนั้นการศึกษาจึงเป็นกระบวนที่ทำอย่างรอบครอบและตั้งใจสำหรับให้อำนาจแก่เยาวชนรุ่นใหม่ให้สามารถต่อสู้กับความท้าทายที่ไม่แน่นอนต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จากข้อมูลปี 2008 มีเด็กๆ ทั่วโลกนี้กว่า 69 ล้านคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ กว่าครึ่งหนึ่งของพลเมืองที่ไม่ได้รับการศึกษาอยู่ใน 15 ประเทศเท่านั้น และที่สำคัญคือจาก 15 ประเทศนั้นมี 3 ประเทศที่มีพลเมืองส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา (ประเทศไทยมีเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษา 0.6 ล้านคน) หรือมีพลเมืองส่วนน้อยที่นับถือพระพุทธศาสนา (อินเดีย 5.6 ล้านคน และบังคลาเทศ 2 ล้านคน) ซึ่งรวมถึงเด็กๆ ที่ไม่ได้รับการศึกษาด้วย เป้าหมายการพัฒนาในระยะหนึ่งพันปีจะมุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของการศึกษาเพื่อกำจัดความยากจน และความไม่เสมอภาคทางเพศ ความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงแหล่งการศึกษาและผลสำฤทธิ์ทางการเรียนรู้ถูกมองว่าเป็นกำแพงอันมหึมาในการให้การศึกษาแก่คนทุกคน ความยากจนยังคงเป็นเรื่องสำคัญในการทำให้ประชาชนทั่วโลกขาดโอกาส
โดยทั่วไปแล้วการศึกษามีศักยภาพในการยกระดับการเป็นมนุษย์จากสภาพความยากจน สภาพทางการเมือง สังคม วัฒนธรรมและศาสนา เพื่อยกระดับความเข้าใจและการประเมินค่าให้สูงขึ้นการศึกษาทำให้มวลมนุษย์สามารถเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการศึกษายังรับประกันความสุขตลอดชีวิตสำหรับผู้เรียนอีกด้วยการศึกษาสามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมสันติสุข และยุติธรรมในการวัดระดับสากล เมื่อการศึกษาให้กำเนิดความรู้สึกเป็นสังคมโลก
ความจริงคือว่าพระพุทธศาสนาและสังคมชาวพุทธกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายด้านความหลากหลายวัฒนธรรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความต้องการให้พัฒนาวิสัยทัศน์ของพลเมืองโลก สิ่งนี้ผลักดันนักคิดชาวพุทธให้สะท้อนความคิดต่อการพัฒนาการศึกษาของพลเมืองโลกเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับพลเมืองของชาติให้ประยุกต์ใช้วิสัยทัศน์ของโลกได้ ในการเตรียมพลเมืองสู่การเป็นพลโลกนั้น จำเป็นต้องยกระดับวิธีการศึกษาแบบเก่าให้เป็นการศึกษาแบบหนึ่งเดียว การจะเอาชนะข้อจำกัดด้านหลักสูตรแบบเดิมๆ การสร้างทัศนคติพลโลกใหม่ในด้านการจัดการศึกษานั้น พลเมืองสามารถได้รับการเตรียมความพร้อมและการเชื่อมต่อที่ดีเพื่อให้ตอบรับความท้าทายเรื่องราวต่างๆ ของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การสำนึกรู้ความเชื่อมต่อในด้านธุรกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในเชิงเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทางการเมืองและศาสนา เราควรใช้วิสัยทัศน์พลเมืองโลกแบบชาวพุทธเช่นหลักธรรมที่พบในเมตตสูตร (แนวคิดเรื่องการพัฒนาจิตประกอบเมตตา) เพื่อการเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ของระบบการศึกษา นี่อาจเป็นเพียงหนทางเดียวที่ชาวพุทธและสังคมพุทธสามารถเตรียมพลเมืองที่ดีกว่าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
ธรรมของพระพุทธเจ้าคือการสอนที่ดีที่สุดแก่มวลมนุษยชาติ โดยพระองค์เองซึ่งเปรียบเหมือนแสงสว่างของพระอาทิตย์ที่ส่องสว่างไปทั่วทุกมุมของโลก โดยเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นชาติ ศาสนา คนรวย หรือคนจน เพื่อช่วยให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์และพบความสุข พระพุทธเจ้าศากยมุนีเลือกที่จะออกบวชหลังจากออกจากราชสมบัติ และความสุขทุกอย่าง หลังจากค้นพบความจริงพระองค์ทรงสอนพระธรรมโปรดมนุษย์ตลอด 45 ปี ซึ่งเป็นหนทางไปสู่ความจริง และความสุขภายในจิตใจ การปลูกจิตสำนึกทางพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานของการศึกษาคณะสงฆ์ ซึ่งหมายความว่า วัดควรที่จะเน้นการปฏิบัติเพื่อเป็นหนทางไปสู่นิพพาน ปาฏิโมกข์ก็เป็นฐานของปัญญา วินัยก็เป็นฐานคุณสมบัติที่ดีทุกอย่าง
การเป็นประชาคมโลกก็เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะสร้างดินแดนที่บริสุทธิ์และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การศึกษาสำหรับปัญญานั้น ปัญญาไม่เพียงแต่การคัดเลือกข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งความคุ้มกันและความรัก ปัญญายังรวมไปถึงการมองเห็นธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ถ้าหลักสูตรเป็นส่วนที่สำคัญของปัญญาหลังจากนั้นเราจะสนับสนุน สิ่งนี้เข้าไปสู่โรงเรียนของเราอย่างไร หลักสูตรของโรงเรียนต้องแตกย่อยข้อมูลลงไปสู่บทเรียนด้วยการเน้นให้มีความรู้ต่อเนื่องได้ หลักสูตรควรพัฒนาภายใต้ความต่อเนื่องที่สำคัญ 6 อย่าง คือ
1. หลักสูตร
2. ชุมชน
3. กายและใจ
4. โลก
5. ความคิด
6. จิตใจ
ยกตัวอย่างปัญญาที่ตั้งบนการศึกษาที่น่าสนใจที่สุด คือประเทศภูฏานซึ่งเป็นที่รู้จักคือเป็นประเทศที่มีเป้าหมายแรกคือพัฒนาความสุขมวลรวมของประเทศมากกว่าที่ไปเน้นเศรษฐกิจมวลรวม พวกเขาเน้นความสุขและการเป็นอยู่ที่ดี ภูฏานเน้นปัญญาที่ตั้งบนฐานวัฒนธรรมกับทัศนคติที่กว้างไกล
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (140 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (140 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (140 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (140 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (140 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม6 : Download? (140 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม7 : Download? (140 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม8 : Download? (140 kb)
เขียนเมื่อ
28 พฤษภาคม 2556 | อ่าน
3359
เขียนโดย
พระมหาวิชาญ สุวิชาโน
|