การศึกษาแบบองค์รวม

คำว่า “การศึกษาแบบองค์รวม” นั้น เป็นองค์ความรู้ที่เป็นสาขาวิชาในแนวความคิดใหม่
ตามหลักการศึกษาระดับสูง เป็นหลักสูตรที่เน้นปรัชญาการศึกษา เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการ
เรียนรู้ภายในตนกับการเรียนรู้จากภายนอก ซึ่งเป็นแนวความคิดที่เน้นการเรียนรู้เพื่อการ
เปลี่ยนแปลง (Transformative learning) โดยการหลอมรวมหรือบูรณาการความรู้ที่เป็นทั้งศาสตร์
ศิลป์ และกระบวนการเรียนรู้ภายในตนเข้าด้วยกัน ไม่แยกย่อยลงลึกสู่แต่ละสาขาของศึกษาศาสตร์
แต่เน้นการจัดสัดส่วนสาระกระบวนการทางการศึกษา และพัฒนาศักยภาพภายในของผู้เรียนได้
อย่างสมดุลกัน
หลักสูตรสาขาวิชา การศึกษาแบบองค์รวมนี้ จึงพยายามสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ทาง
การศึกษา และการฝึกหัดอบรมครู ให้สามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้สาระวิชากับการสร้าง
กระบวนการการเรียนรู้จากภายใน โดยการฝึกฝนปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีแบบแผนด้วยศาสตร์
ที่ครอบคลุมตั้งแต่การเรียนรู้จักตนเองอย่างลึกซึ้ง (Contemplative practices) การขยายศักยภาพ
ของการเรียนรู้ การฝึกทักษะ ปฏิสัมพันธ์แห่งการเรียนรู้จากผู้อื่นและสรรพสิ่งอย่างเป็น
กัลยาณมิตร และการเข้าถึงคุณค่าของสาระต่าง ๆ ด้วยปัญญา (โยนิโสมนสิการ) ในที่สุด จึง
สามารถจัดการความรู้ (Knowledge management) ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตอย่างมีความสุขและ
พอเพียง
นอกจากนี้การเปิดหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษาแบบองค์รวม นี้ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มิได้มีพื้นฐานปริญญาตรี ทางศึกษาศาสตร์ แต่มีพื้นฐานความรู้ในสาขาใด
สาขาหนึ่งโดยตรง เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิเทศศาสตร์
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฯลฯ และต้องการเป็นครู หรือ
สนใจเรื่องการเรียนรู้ เช่น พ่อแม่ ให้มีโอกาสเข้ามาศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างสมดุล
ผสมผสานเชื่อมโยงกับความรู้เฉพาะทางของแต่ละคนที่แตกต่างหลากหลาย พร้อมทั้งได้
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์แก่วงการศึกษาไทย ในการสร้าง
บุคลากรทางการศึกษาที่กว้างขวางขึ้นอีกทางหนึ่ง
ทั้งนี้ องค์ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาแบบองค์รวม ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั้งในและ
ต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย แนวคิดของนักการศึกษาและผู้รู้ ตลอดจนประสบการณ์การจัด
การศึกษาในแนวทางนี้ในต่างประเทศ ดังตัวอย่างเอกสารที่แนบมาพร้อมกันนี้

การศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education)
จากการศึกษาเรื่องแนวความคิดเรื่องการศึกษาแบบองค์รวม หรือการศึกษาเพื่อพัฒนา
คนในทุกๆ ด้าน Holistic Education อาจกล่าวได้ว่าในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปในหลากหลาย
ทิศทาง โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากแนวความคิดและปรัชญาทางการศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งมี
โรงเรียนจากทั่วโลกที่ลุกขึ้นมาอ้างว่าเป็นการศึกษาแบบองค์รวมหลากหลายโรงเรียน และมี
แนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าแนวคิดเรื่องการศึกษาแบบองค์รวมดังกล่าวจะไม่ใช่แนวคิดใหม่
แต่ก็อาจระบุชี้ชัดได้ยากยิ่งว่า วิธีการจัดการศึกษาอย่างไร จึงเป็นการจัดการศึกษาแบบองค์รวม
อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม สามารถสรุปการศึกษาตามเอกสารได้ดังต่อไปนี้


ที่มาของการศึกษาแบบองค์รวม
Forbes (1996) ได้กล่าวถึงรากฐานของการศึกษาแบบองค์รวมในปัจจุบัน ซึ่งมีโรงเรียน
กว่า ๗,๕๐๐ แห่ง1 จากทั่วโลกที่อ้างว่าใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบองค์รวม และมีแนวโน้มที่
จะเพิ่มขึ้นอีกมากมายตามลำดับ รากฐานการพัฒนาการศึกษาแบบองค์รวมจึงมาจากนัก
การศึกษาที่สำคัญของโลก อันได้แก่ Jean Rousseau , Ralph Waldo Emerson , Johann
Pestalozzi , Friedrich Froebel , Jiddu Krishnamurti , Rudolf Steiner , Maria Montessori ,
Carl Jung , Abramham Maslow , Carl Rogers , Paul Goodman , John Holt , Ivan IIIich ,
Paulo Fraire โดยเป็นกระบวนการที่มีการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ช่วงปี 1960
Naoko Saito (2000) กล่าวถึง การพัฒนาแนวคิดทางการศึกษาของ จอห์น ดิวอี้ (John
Dewey) ว่า เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของมนุษย์อย่างเป็นองค์รวม
ตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งจากภายนอกและภายใน
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) (2004) ได้กล่าวถึงแนวทางการศึกษาแบบ
Progressive Education ซึ่งมีรากฐานมาจากการเคลื่อนไหวของ Dewey ได้เรียกแนวทางการ
จัดการเรียนการสอนดังกล่าวว่าเป็นการพัฒนาเด็กในทุกๆ ด้าน (Development of the Whole
child) อันได้แก่ กาย (Physical) จิตใจ (Mental) อารมณ์ (Emotional) และสังคม (Social)
-------------------------------------------------
1 Jerry Mintz(ed.), The Handbook of Alternative Education (1994) จากการสำรวจโรงเรียนทางเลือก
(Alternative School) พบว่า มีโรงเรียนอย่างน้อย 7,500 แห่ง ที่อธิบายตนเองว่ามีแนวทางการจัดการศึกษา
แบบองค์รวม (Holistic Education)

ความหมายและแนวความคิดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างเป็นองค์รวม (Holistic Education)
Ron Miller (2000) ได้กล่าวไว้ว่า การศึกษาเชิงองค์รวมเป็นการศึกษาที่ตั้งอยู่บนฐาน
ของการพัฒนาบุคลากรสามารถค้นพบความหมายและเป้าหมายในชีวิตผ่านการเห็น
ความสัมพันธ์ของตนเองต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน โลกธรรมชาติ จิตวิญญาณ และระบบจักรวาลทั้ง
มวล Miller ได้อธิบายเปรียบเทียบระบบการศึกษาแบบองค์รวมและการศึกษากระบวนทัศน์เก่า
โดยให้ความเห็นว่าการศึกษาในกระบวนทัศน์เก่าส่งเสริมให้มนุษย์ตัดความสัมพันธ์ของตนเอง
ต่อสิ่งรอบตัว โดยกระตุ้นให้เกิดการอยู่รอดผ่านการแข่งขันในตลาดแรงงานของโลกแห่งทุนนิยม
ซึ่งการศึกษาเหล่านี้ทำให้มนุษย์เกิดความแตกแยกและเน้นการเอาประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น
ในขณะที่การศึกษาแบบองค์รวมนั้นเน้นเรื่องความสัมพันธ์ของบุคคลต่อโลก ความหมายของ
บริบท ทั้งด้านกายภาพ ความสัมพันธ์ ฯลฯ ต่อบุคคลหนึ่งๆ ผ่านทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย
ในสถานที่แต่ละแห่ง
Scott H. Forbes (1996) ได้กล่าวว่า นักปรัชญาทางการศึกษาแบบองค์รวมนั้นได้ให้
ความสำคัญต่อการเห็นความจริง
แผนภาพที่ ๑ การแสดงความเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์และระบบ อันได้แก่ โลกธรรมชาติ สังคม/
ชุมชน จิตวิญญาณ และจักรวาล ตามแนวความคิดการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education Approach)
กระบวนการมองเห็นเชิงความสัมพันธ์ดังแผนภาพที่ ๑ นั้น เป็นกระบวนการที่
นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “กระบวนการเชิงระบบ” (System Approach) ซึ่งแสดงถึงความ
เชื่อมโยงของมนุษย์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน/สังคม โลกธรรมชาติ จิตวิญญาณและจักรวาล
โดยนักวิทยาศาสตร์ เช่น Davie Bohm , David Peat , Kari Pribram Ilya Prigogine ต่างก็
ยืนยันว่าการมองเห็นระบบทั้งหมดนั้นเป็นแนวทางที่จะทำให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ได้
จากที่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เคยยกตัวอย่างถึงรถยนต์ องค์ประกอบทั้งหมด
ประกอบกันจึงเรียกว่าเป็นรถยนต์ได้ หากพิจารณาแยกส่วนเพียงเครื่องยนต์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งก็ไม่
อาจเรียกได้ว่าเป็นรถยนต์
สรุปได้ว่า การศึกษาแบบองค์รวมจึงเน้นให้มนุษย์พัฒนาจิตสำนึกและตระหนักถึง
ความสำคัญของตนเองกับระบบของโลกภายนอก และพัฒนาบุคคลในเชิงกายภาพ ปรีชาญาณ
อารมณ์ และสังคม โดยมีปัจจัยที่สำคัญ ๒ ประการด้วยกัน ได้แก่ (Ron Miller , 2000)
๑) การเรียนรู้จากภายในบุคคล อันได้แก่การศึกษาที่จะทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของ
บุคคลและโลกได้นั้น ต้องเริ่มจากภายในตัวบุคคล อันได้แก่ อารมณ์ ความรู้สึก อันเป็น
พลวัตที่เกิดขึ้นภายในอย่างแตกต่างกันตามประสบการณ์ ความคิด ความรู้สึกของแต่ละ
บุคคล และเชื่อมโยงต่อสิ่งใกล้ตัว เช่น เพื่อน ครู ฯลฯ
๒) ครูที่มีความเคารพต่อผู้เรียน อย่างมีใจที่เปิดกว้างและมีความรัก เพื่อให้เด็กแต่ละคน
สามารถเติบโตตามวาระที่เป็นอยู่ได้ ครูในระบบของการศึกษาแบบองค์รวมนั้นไม่
จำเป็นต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่เป็นผู้ที่สามารถรับรู้ได้ถึงความ
ต้องการและความรู้สึกของผู้เรียน
แนวความคิดด้านการศึกษาแบบองค์รวมจึงเน้นความสัมพันธ์ระหว่าง ครู กับนักเรียน
และไม่เน้นไปที่หลักสูตรการเรียนการสอน แต่ในขณะเดียวกัน ครูจึงต้องเป็นผู้ที่รู้จักตนเองและ
สามารถสอนเรื่องต่างๆ ผ่านการกระทำที่ปรากฏต่อนักเรียน เช่น ผู้เรียนจะเรียนเรื่องราวของ
Shakespeare จากครูที่มีความชอบเรื่องของ Shakespeare เรียนเคมีจากครูที่รักวิทยาศาสตร์
ดังนั้น หลักสูตรจึงไม่ใช่ปัจจัยที่ให้ความรู้แก่นักเรียน แต่ความเป็นครูของครูที่มีผลต่อการเรียนรู้
ทั้งหมดของเด็กนักเรียน
Foebes ,(2004) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของการศึกษาแบบองค์รวม อันได้แก่
๑) การศึกษาที่เปิดให้ผู้เรียนมีอิสรภาพในการเรียนรู้ (Freedom) และมีลักษณะที่ยืดหยุ่น
เพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้เรียนอย่างเร่งรีบ
๒) ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักพิจารณาความจริง และสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Good
Judgment) ทั้งต่อตนเอง ต่อสังคมและระบบโดยรวม โดยแสดงให้เห็นถึงความ
เชื่อมโยงของตนเองกับระบบอย่างสม่ำเสมอ
๓) มีแนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์ และส่งเสริมให้ผู้เรียน
มีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง (Meta-Learning)
๔) พัฒนาความสามารถทางสังคม เช่น ความสัมพันธ์ ฯลฯ (Social Ability)
๕) ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถระบุคุณค่าของการเรียนรู้ต่อตนเองได้ (Refining Values)
ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้มีประสิทธิภาพ หากได้เรียนสิ่งที่มีความหมายและมี
ความสำคัญต่อเขา ดังนั้นในการเรียนรู้ดังกล่าวผู้เรียนจึงเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของ
ตนเอง
๖) ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Self Knowledge) และความสามารถ
ในการนำพาตนเองไปสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ไปสู่การมองเชิงองค์รวม
ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้าน Holistic Education
ชลลดา ทองทวี (2007) ได้กล่าวถึง ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนด้าน Holistic
Education อันได้แก่ มหาวิทยาลัย เจเอฟเค (JFK University) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1964 โดย
มุ่งเน้นตอบสนองต่อกลุ่มนักศึกษาผู้ใหญ่ที่ต้องการเข้ามาศึกษาต่อในระบบ เพื่อพัฒนาสาย
อาชีพและแสวงหาความหมายในชีวิต มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญต่อการสืบค้นทางปัญญา บ่ม
เพาะวิสัยทัศน์และจิตวิญญาณ และการอุทิศตนให้กับชุมชนและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดย
ส่งเสริมการศึกษาเชิงองค์รวม เป็นสหวิทยาการและการศึกษาเชิงประสบการณ์ ภายใต้
บรรยากาศของการเคารพความแตกต่างของปัจเจกบุคคล และความแตกต่างทางวัฒนธรรม
เพื่อสานสัมพันธ์เพื่อผดุงโลกที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สำนักการศึกษาเชิงองค์รวม (School
of Holistic Studies) ของมหาวิทยาลัย เจเอฟเค เปิดสอนด้านการให้การศึกษาด้านสุขภาวะ
(health education) การแนะแนว (counseling) ศิลปะ และการศึกษาเกี่ยวกับจิตสำนึก
(consciousness) และ integral psychology โดยจะเป็นการศึกษาในเชิงองค์รวม กล่าวคือ ผ่าน
กาย ใจ และจิตวิญญาณ ทั้งนี้ หัวใจของหลักสูตรนี้คือ การผสานเชื่อมโยงระหว่างความจริง
ภายในตน การค้นพบตัวเอง และการทำงานในโลกภายนอก กระบวนการเรียนการสอน จะมี
ลักษณะการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ โดยจะสอนทักษะของการเคลื่อนไหวร่างกาย การทำสมาธิ
และการสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ เพื่อบูรณาการความรู้เชิงวิชาการเข้ากับภาคปฏิบัติ
ทั้งนี้ สำนักการศึกษาเชิงองค์รวม (School of Holistic Studies) เปิดสอนในสาขา
ดังต่อไปนี้ Bachelor of Fine Arts , in Studio Arts ; Master of Fine Arts in Studio Arts ;
Master of Arts in Consciousness & Transformative Studies ; Master of Arts in
Counseling Psychology โดยมีสาขาวิชาเฉพาะให้เลือก 3 ด้าน คือ Transpersonal
Psychology , Somatic Psychology และ Holistic Studies
มหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่มีแนวความคิดในการสอนเชิงองค์รวม
- California Institute for Integral Studies (CIIS) www.ciis.edu
- Education for Sustainability , South Bank University , Distance Learning Centre , UK.
www.Isbu.ac.uk/efs
- Naropa Institute www.naropa.edu
- Pisgah Forest Institute www.brevard.edu/pfi
- Purton House College www.holisticnet.co.uk/purton/
- Schumacher College www.schumachercollege.gn.apc.org/
- Sharpham College www.sharpham-trust.org/
- Wisconsin Center for Environment Education www.uwsp.edu/cnr/wcee
องค์กรด้านการศึกษาแบบองค์รวมอื่นๆ
- AERO : Alternative Education Resource Organization
- AIIPIE : Alliance for Parental Involvement in Education
- Association of Waldolf Schools of North America
- Down to Earth Books
- Education in Search of Spirit
- Encompass : Center for Natural Learning Rhythms
- Folk Education Association of America (FEAA)
- Great Ideas in Education
- Home Education Magazine
- John Dewey Project on Progressive Education
- Montessori Foundation
- National Association for Core Curriculum (NACC ; Kent , OH)
- National Coalition of Alternative Community School (NCACA)
- National Coalition of Education Activists (NCEA ; Rhinbeck,NY)
- Path of Learning
- Rethinking Schools
ส่วนกรณีของการศึกษาแบบองค์รวมในประเทศไทยนั้น อาจกล่าวได้ว่าเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่
ก่อนการปฏิรูปการศึกษาในปี ๒๕๔๒ และได้รับความสนใจในฐานะที่เป็นการศึกษาทางเลือก
(Alternative Education) มาก่อน ซึ่งเกิดขึ้นทั้งในระบบและนอกระบบและมีรูปแบบที่แตกต่าง
หลากหลาย รวมทั้งกรณีของบ้านเรียน (HOME SCHOOL) ด้วย โดยมีลักษณะร่วม คือ การให้
ความสำคัญของผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น และความสำคัญของสาระวิชาตามหลักสูตรเป็น
รอง รวมทั้งปรับเปลี่ยนบทบาทของครู จากการกำกับการเรียนโดยสิ้นเชิง มาเป็นผู้นำพา
นักเรียนสู่การเรียนรู้เชิงประจักษ์ สัมผัสประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง ผ่านการปฏิบัติกิจวัตร
กิจกรรมและการงานจริงมากขึ้น ต่อมาจึงเกิดแนวคิดของ “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” ขึ้น ในระบบ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแม้จะเริ่มจากแนวคิดแบบองค์รวมแต่เมื่อนำไปสู่การปฏิบัติในระดับ
สถานศึกษากลับคลาดเคลื่อนไปจากจุดมุ่งหมายและไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ได้จริงใน
สถานศึกษาส่วนใหญ่ เพราะบุคลากรทางการศึกษา คือ ครูและผู้บริหาร ยังมิได้ปรับเปลี่ยน
บทบาททัศนคติและวิธีการบริหารจัดการให้เอื้ออำนวยต่อกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ทำ
ให้เห็นรากฐานของปัญหาการศึกษาได้ชัดเจนขึ้น
ในขณะเดียวกัน กระแสการศึกษาแนวใหม่ก็เริ่มเกิดขึ้นในสถานศึกษาหลายแห่งทั้งแบบ
ที่เป็นการริเริ่มนวัตกรรมของการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เช่น Montessori และ Waldolf เป็นต้น
รวมทั้งกรณีของโรงเรียนแนวพุทธธรรม ซึ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของตนเอง ให้
สามารถบูรณาการคุณธรรม/หลักไตรสิกขาลงสู่หลักสูตรสาระวิชาต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งสองกรณี
นี้หากเกิดขึ้นจากความพยายามของสถานศึกษาเอง มิได้เกิดจากการปฏิบัติตามคำสั่งต้นสังกัด
ก็จะพบว่ามีการปรับเปลี่ยนทั้งโรงเรียนและต่อเนื่องจนกระทั่งได้กลายมาเป็นโครงการทดลองใน
การปฏิรูปการศึกษาของรัฐในระดับปฏิบัติด้วย นั่นคือ School-based development เป็นต้น
เพราะฉะนั้น การศึกษาแบบองค์รวมจึงมิได้เป็นเพียงการศึกษาทางเลือกนอกระบบเท่านั้น แต่
ด้วยคุณสมบัติที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจนและ
แตกต่างจากเดิม จึงแพร่หลายและได้ถูกนำไปทดลองใช้ในบริบทของโรงเรียนต่างๆ มากขึ้น
ในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพของระบบการศึกษาไทย ในช่วง ๒ ทศวรรษที่
ผ่านมานี้ นักคิด นักการศึกษาของไทยซึ่งมีบทบาทสำคัญในการให้หลักการและแนวทางที่
สอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคม เพื่อคลี่คลายปัญหาทั้งหลายอันเนื่องมาจาก ระบบ
การศึกษาที่ไม่อาจสร้างหรือพัฒนาคนให้รู้รอบนั้น จึงเป็นส่วนส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการ
ปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองปัญหาอย่างเชื่อมโยง และมาตั้งต้นที่ระบบการศึกษาแบบองค์รวม
นั่นเอง ดังเช่น
๑. แนวคิดของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ที่เปิดมุมมอง การศึกษา คือ ชีวิต
บุพภาคของการศึกษา (กัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการ) ตลาดจนระบบการศึกษา
วิถีพุทธ ไตรสิกขา
๒. แนวคิดของศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ซึ่งได้ให้แนวทางการศึกษาเพื่อ
แก้วิกฤตสังคมไทยไว้แทบทุกมิติ ที่จะนำไปสู่การศึกษาแบบองค์รวมนั่นเอง
๓. แนวคิดของศาสตราจารย์ กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ ได้เป็นผู้ประพันธ์ตำราการบูร
ณาการทางการศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยมีรายละเอียดที่อิงหลักพุทธ
ธรรมและรูปธรรมของการปฏิบัติที่หลากหลายด้วย
อ้างอิง
Forbes, S.(1999). Holistic Education ; An Analysis of Its Intellectual Precedents and
Nature. Unpublished dissertation , University of Oxford
Forbes, S.(2004).What Holistic Education Claims About Itself ; An Analysis of Holistic
School’s Literature. American Education Research Association
Forbes, S.(1996). Values in Holistic Education, Third Annual Conference on Education,
Spirituality and the Whole child. Roehampton Institute
Miller, R.(2000).Making Connections to the World : some Thoughts on Holistic Curriculum
(Brandon, VT: Foundation for Educational Renewal,2000)
Saito, Naoko (2000).Perfecting Democracy through Holistic Education Dewey’s
Naturalistic Philosophy of Growth Reconsidered.(Teacher College, Columbia University)
ชลลดา ทองทวี (2007), การศึกษาแบบองค์รวม
ประภาภัทร นิยม (2545), ปฏิบัติงานให้เป็นการปฏิบัติธรรม,วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาการ
เรียนรู้ ฉบับที่ 2 ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนรุ่งอรุณ
ประเวศ วะสี (2548), ระบบการเรียนรู้ใหม่ไปให้พ้นวิกฤตแห่งยุคสมัย
สุมน อมรวิวัฒน์ (2544), หลักบูรณาการทางการศึกษาตามนัยแห่งพุทธธรรม


ที่มา: http://gotoknow.org/file/vicharnpanich/holistic+education.pdf

เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2556 | อ่าน 10222
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18526
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9758
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11138
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15199
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12074
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11094
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11027
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11592
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12872
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12108
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th