'คนระลึกชาติ!'ที่หมู่บ้านตะคร้อที่พิสูจน์แล้ว

การเวียนว่ายตายเกิด เป็นความเชื่อที่มีมาแต่สมัยโบราณ และเป็นหลักสำคัญของศาสนาที่สำคัญของโลก ที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเพื่อสอนให้คนไม่ทำบาป เพื่อไม่ให้ติดเป็นบาปกรรมในชาติภพต่อไป แต่ทำความดีเพื่อให้เป็นบุญกุศลส่งไปถึงชาติต่อๆ ไป


อย่างไรก็ตามเมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๒ หนังสือ "ตะคร้อ หมู่บ้านโลกตะลึง เล่ม๑" กับ ๑๖ กรณีศึกษาตายแล้วเกิด คนจำอดีตชาติ (Reincarnation) ที่เขียนโดยการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลของ นายธวัชชัย ขำชะยันจะ ผู้ศึกษากรณีการจำอดีตชาติ หรือระลึกชาติ จึงเป็นหลักฐานที่เกิดจากความสนใจที่จะศึกษากรณีดังกล่าวในหมู่บ้านตะคร้อ ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ ที่มีผู้จำอดีตชาติได้และยังมีชีวิตอยู่มากกว่า ๔๐ ราย ทำให้มีการสืบพยานรู้เห็นจำนวนมาก เป็นหลักฐานที่เป็นรูปธรรมและสามารถพิสูจน์ได้ โดยล่าสุด นายธวัชชัย ได้ออกผลงาน "ตะคร้อ หมู่บ้านโลกตะลึง เล่ม ๒" ซึ่งเป็นการเจาะลึก ลักษณะที่น่าสนใจของผู้จำอดีตชาติได้

ทั้งนี้ นายธวัชชัย ได้สำรวจศึกษาและเก็บข้อมูลการระลึกชาติได้ของคนในหมู่บ้านตะคร้อ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๘ พบว่ามีผู้จำอดีตชาติได้ที่ยังมีชีวิตอยู่มากกว่า ๕๐ ราย บางรายยังสามารถจำอดีตชาติได้ บางรายมีพยานรู้เห็นจำนวนมาก บางรายมีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมสามารถพิสูจน์ได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้เท่าที่ทราบมีผู้ที่จำอดีตชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างรายล่าสุด คือ ยายเพียร แย้มประดับ ตายไปเมื่อปี ๒๕๓๕ กลับมาเกิดเป็นเด็กหญิงญาณินท์ ศิริมงคล ถึงกับทำให้ลูกหลานของยายเพียรดีใจ ลูกหลานยายเพียรบางคนถึงกับเรียกเด็กหญิงญาณินท์ว่า "แม่" หรือ "ยาย" โดยทุกวันนี้ลูกหลานยายเพียรรับเด็กหญิงญาณินท์มาเลี้ยงเหมือนญาติคนหนึ่งในครอบครัว

สำหรับความเห็นที่เกี่ยวกับการค้นคว้าเรื่องการระลึกชาตินั้น ดร.นัยพินิจ คชภักดี เลขาธิการสมาคมค้นคว้าทางจิตแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงหนังสือทั้ง ๒ เล่มว่า หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหลักฐานการศึกษาค้นคว้ากรณีคนที่จำอดีตชาติได้ในประเทศไทย ที่สำคัญอันหนึ่ง และแม้ว่าผู้เขียนไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ แต่ก็เป็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อสอนให้เราไม่ตั้งอยู่ในความประมาท และประพฤติปฏิบัติตนแต่ในสิ่งที่ดี และเป็นบุญกุศล เพื่อให้ได้ไปเกิดในชาติภพที่ดีงามต่อไป จึงขอแสดงความชื่นชมและอนุโมทนาในกุศลบุญที่คุณธวัชชัย ได้พากเพียรศึกษาและนำมาเขียนเล่าความจริงให้เป็นประโยชน์สืบต่อไป

ด้าน อ.สุตทยา วัชราภัย อาจารย์พิเศษนิด้าและวิทยากรรับเชิญบรรยายเกี่ยวกับการจำอดีตชาติได้ ซึ่งเคยร่วมงานกับคณะศึกษาวิจัยผู้ที่จำอดีตชาติได้ จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา บอกว่า คุณธวัชชัยได้พาผมไปที่ บ้านตะคร้อ โดยได้พักอยู่ที่บ้านของคุณธวัชชัยตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ถึง ๔ มิถุนายน ๒๕๔๒ รวม ๔ วัน ๕ คืน ซึ่งเป็นเรื่องแปลกและออกจะเหลือเชื่อว่าในหมู่บ้านตะคร้อจะมีเด็กที่จำอดีตชาติได้มากขนาดนั้น เพราะก่อนหน้านี้ผมเคยพบหมู่บ้านที่มีเบาะแสเรื่องตายแล้วเกิดใหม่มากที่สุดเพียง ๕ รายเท่านั้นในภาคอีสาน

"หนังสือตะคร้อ คนจำอดีตชาติ ทั้ง ๒ เล่ม จะตอบคำถามผู้ที่เข้าใจว่าตายแล้วสูญ ไม่มีชาติก่อนและชาติหน้า ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิที่เป็นบาปอย่างหนัก จะได้เข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ผมหวังว่าหนังสือทั้ง ๒ เล่มนี้จะมีส่วนช่วยผลักดัน ให้เกิดกลุ่มและเครือข่ายผู้ศึกษาค้นคว้าเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ เพื่อช่วยกันสร้างกระแสสังคมให้เกิดความสนใจที่จะออกสืบหาเบาะแสเด็กที่จำอดีตชาติได้รายใหม่เพื่อจะได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในทุกพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ" อ.สุตทยา กล่าว

ในขณะที่นายธวัชชัยยืนยันว่า ไม่ได้มุ่งหวังที่จะให้ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการแต่อย่างใด แต่ต้องการบอกเล่าเรื่องราวข้อมูลความจริง ที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่จำอดีตชาติได้ และพยานที่เกี่ยวข้องโดยละเอียด ทั้งทางฝ่ายอดีตชาติและปัจจุบันชาติ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ คำพูดและการแสดงออกของผู้ที่จำอดีตชาติได้ (Statements and Behavior) ความฝันบอกเหตุ (Announcing Dreams) ความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด (Birth Defects) รอยตำหนิ แผลเป็น หรือปานที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด (Birthmarks) และสิ่งอื่นๆ หรือเหตุการณ์แวดล้อมอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ที่สัมพันธ์กันกับอดีตชาติ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสิ่งต่างๆ ดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน ระหว่างปัจจุบันชาติและอดีตชาติ อย่างเป็นรูปธรรมและมีเหตุมีผล

"เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านและผู้ที่สนใจตามสมควร อย่างน้อยก็ทำให้เกิดความเห็นความเชื่อที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ว่าชีวิตภายหลังความตายหรือชาติหน้านั้นมีอยู่ จะได้เริ่มวางแผนวางจุดมุ่งหมายในชีวิตได้อย่างถูกต้อง ไม่หลงทางและใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ทำให้ผู้ที่กำลังคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่วอยู่ ได้เกิดความละอายและความเกรงกลัวต่อบาป รวมทั้งทำให้ผู้ที่กำลังท้อแท้ในการทำความดีอยู่ได้มีกำลังใจว่า ผลของการทำความดีของท่านจะไม่เป็นหมัน ถึงแม้ว่าบางสิ่งจะยังไม่เห็นผลในชาตินี้ก็ตาม" นายธวัชชัย กล่าวลิ้งท้าย

ปัจจุบัน “หมู่บ้านตะคร้อ” เป็นหมู่บ้านหนึ่งใน ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด ๑๘ หมู่บ้าน มีประชากรประมาณ ๑,๐๐๐ คน จากจำนวนครัวเรือนประมาณ ๓,๐๐๐ ครัวเรือน สำหรับชื่อของหมู่บ้าน สันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนบริเวณนี้มีต้นตะคร้อซึ่งผลมีรสเปรี้ยว ขึ้นอยู่มาก คนโบราณจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “โคกตะคร้อ” ต่อมาจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านตะคร้อ” ที่สำคัญคือ ทุกวันนี้ที่หมู่บ้านตะคร้อมีคนระลึกชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ


สังสารวัฏและกฎแห่งกรรม

พระราชญาณกวี หรือ ปิยโสภณ (ปธ๙.) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก พระนักวิชาการ พระนักเขียน และพระนักบรรยายธรรม บอกว่า การจำอดีตชาติได้เป็นการยืนยันเรื่องสังสารวัฏ หรือการเวียนว่ายตายเกิด ที่ว่าชีวิตมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วก็กลับมากเกิดอีก ตั้งอยู่ ดับไป หมุนเป็นวงกลมเช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนมดแดงไต่ขอบกระด้ง หรือใช้ปากกาเขียนวงกลมทับกันหลายๆ ชั้น หากยังไม่สิ้นกิเลส ด้วยเหตุที่ความซับซ้อนของภพชาตินี้เอง ผู้มาเกิดส่วนใหญ่จึงจำอดีตของตนเองไม่ได้ จุดเริ่มต้นของชีวิตอยู่ไหน จุดสิ้นสุดอยู่หนใด ตนถือกำเนิดเป็นอะไรมาก่อน ภาษาพระเรียกว่า "อนมตคฺโค"

การจำอดีตชาติได้เป็นการยืนยันเรื่องกฎการจำอดีตชาติได้เป็นการยืนยันเรื่องแห่งกรรม ตามหลักพุทธศาสนาที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำกรรมใดไว้ต้องได้รับผลกรรมนั้นแน่นอน เหมือนหว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น ยืนยันว่า สรรพสัตว์มีกรรมเป็ของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผลเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้เป็นบุญหรือบาปจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป

"อาตมาคิดว่าการจำอดีตชาติได้เป็นเรื่องดี แต่บางทีการลืมอดีตได้บ้างก็อาจจะดีกว่า ดิดดูให้ดีว่า ถ้าวันนี้เราจำทุกอย่างในอดีตได้หมด เราจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เราจะขัดแย้งกันมากแค่ไหนหากสาวไปถึงอดีตชาติ เพราะไม่รู้ใครจะเป็นสามีภรรยาของใคร เป็นพ่อเป็นแม่ของใครมาก่อน ด้วยเหตุนี้ธรรมชาติจึงทำให้มนุษย์ส่วนใหญ่จำอดีตชาติไม่ได้ เพื่อป้องกันความสับสนในชีวิต ผู้ที่อยากให้ชีวิตชาตินี้หรือชาติหน้าเป็นอย่างไร จงลงมือเดินทางตามแผนชีวิตที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเถิด" พระราชญาณกวีกล่าว

เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2556 | อ่าน 5617
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18658
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9894
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11224
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15317
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12184
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11194
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11144
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11696
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12984
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12219
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th