ข้อคิดพระไตรปิฏกของพระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต )

การพิจารณาเรื่องใดก็ต้องให้วิธีการตรงกับเรื่องที่พิจารณานั้น เรื่องที่กำลังพิจารณาในที่นี้ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติและไม่ใช่เรื่องความคิดเห็นด้วยซ้ำ แต่เป็นเรื่องของข้อเท็จจริงว่า ข้อความใน
คัมภีร์ว่าอย่างไร เหมือนกับจะพิสูจน์ว่าใครพูดจากล่าวถ้อยคำไว้อย่างไร ก็ต้องไปหาหลักฐานคือบันทึก ถ้อยคำที่เขาพูดหรือเขาเขียนไว้มาดูกัน ไม่ใช่มาอ้างว่าตัวไปปฏิบัติการอะไรรู้มา เมื่อตรวจสอบหลักฐาน เรื่องนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาว่าท่านว่าไว้อย่างไร ก็ต้องไปเอาคัมภีร์เหล่านั้นมาเปิดดู ถึงจะไปนั่งเข้า สมาธิทำภาวนาอย่างไร ถ้าไม่ไปเปิดคัมภีร์ดูก็ไม่มีทางสำเร็จ และเมื่อยกข้อความในคัมภีร์มาอ้างแล้ว ถ้า มีการพูดเสริมเติมอะไร ผู้ที่ได้ศึกษาดีแล้วก็จะแยกได้ว่า ส่วนไหนเป็นของคัมภีร์ ส่วนไหนเป็นของผู้แสดง ความคิดเห็นพูดขยายออกไป

ถ้าไปอ้างว่าตัวเองปฏิบัติ ผู้อื่นไม่ปฏิบัติ ก็กลายเป็นเปิดประเด็นใหม่ ผู้ปฏิบัติที่อ้างว่าตนเห็นจาก การปฏิบัติว่านิพพานเป็นอัตตา ก็คงจะต้องไปเถียงกับผู้ปฏิบัติอีกฝ่ายหนึ่ง ที่กล่าวว่าเขาก็เห็นจากการ ปฏิบัติว่านิพพานเป็นอนัตตา แต่ว่าให้ถูกต้องแล้ว ผู้ปฏิบัติที่แท้จริงย่อมจะไม่สับสนในเรื่องนี้ จะแยกได้ว่า ส่วนใดเป็นเรื่องของหลักฐานทางเอกสาร ส่วนใดป็นเรื่องของผลจากการปฏิบัติ

และตรงนี้อีกเช่นกันคือจุดที่อาตมาได้บอกไว้แล้วว่า เพื่อให้เกิดความตรงไปตรงมา และเป็นการ ใช้เสรีภาพทางปัญญาที่พระพุทธศาสนาเปิดโอกาสอยู่แล้ว ถ้าความรู้จากผลการปฏิบัติของท่านไม่ตรงกับ ที่พระไตรปิฎกและอรรถกถาว่าไว้ ก็ควรเถียงกับพระไตรปิฎกและอรรถกถานั้นอย่างตรงไปตรงมาจะดีกว่า

การแสดงหลักธรรมสำคัญให้ผิดเพี้ยนไปด้วยวิธีบิดเบือนอำพรางหลักฐานนี่สิ เป็นการทำลาย
พระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง ยิ่งกว่าพฤติการณ์ของบุคคลบางกลุ่มบางคณะที่มัวหมองวุ่นวายเสียอีก
เพราะเป็นการทำลายถึงรากเหง้าของพระพุทธศาสนา หรือเป็นการลบล้างพระพุทธศาสนาออกไปเลย เรียกว่าเป็นการทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ซึ่งร้ายแรงกว่าการประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย ที่เป็น
เพียงการทำสกปรกเปรอะเปื้อนแก่พระศาสนา ซึ่งเราสามารถชำระล้างออกไปได้

นอกจากนั้นประเด็นการอ้างผลจากการปฏิบัติ ไม่ควรจะยกมาพูดในกรณีนี้เลย เพราะปัญหา ในหมู่คณะของตนเองว่า ที่ปฏิบัติอยู่นั้น ตรงตามคำสอนและความหมายของธรรมกายอย่างที่หลวงพ่อ สดท่านประสงค์หรือไม่ ก็ยังไม่ยุติ ไม่ต้องพูดถึงปัญหาที่ว่าการปฏิบัตินั้นตรงตามพุทธประสงค์หรือไม่

แท้จริง การปฏิบัติต่างๆ ทั้งหลายนั่นเสียอีกที่จะต้องมีวิธีตรวจสอบว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง
หรือไม่ สำหรับในกรณีนี้ก็คือการตรวจสอบว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนาหรือไม่

เมื่อมีการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งที่น่าสงสัยว่า ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาหรือไม่ หรือ เป็นการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็ตาม หรือว่ามีการปฏิบัติต่างกันของต่างบุคคลต่างกลุ่ม จะต้อง
วินิจฉัยว่า การปฏิบัติของใครหรือของกลุ่มไหนถูกต้อง อยู่ในพระพุทธศาสนา ก็ตาม ผู้ที่ตัดสินชี้ขาดก็คือ
พระพุทธเจ้า

แม้แต่ผลของการปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน เมื่อหลายคนปฏิบัติกันไปแล้ว ได้พบประสบเห็นหรือหยั่งรู้
อะไร อาจจะเป็นผลที่ถูกต้อง หรือเป็นผลที่ผิดพลาดเกิดจากความหลงหรือเข้าใจผิดของตน แม้แต่จะเป็น
ผลที่ถูกต้อง ก็มีหลายชั้นหลายระดับ เมื่อเป็นการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาผู้ที่จะตัดสินชี้ขาดว่าเป็นผลที่ถูก
ต้องหรือผิดพลาด และเป็นผลในขั้นไหนระดับไหน ก็คือพระพุทธเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ก็ไม่มีปัญหา แต่เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว จะตัดสิน
ได้อย่างไร ใครจะตัดสิน ก็ตอบได้ว่า ต้องตัดสินด้วยคำสอนหรือสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ คำสอนหรือ
คำตรัสของพระพุทธเจ้านั้นจะหาได้ที่ไหน บันทึกไว้ที่ใด ตอบได้ว่าอยู่ในพระไตรปิฎก เพราะพระไตรปิฎก
เป็นที่บรรจุคำสอนของพระพุทธเจ้า คำสอน หรือคำตรัสของพระพุทธเจ้าเท่าที่เก็บรวบรวมไว้ได้มีอยู่ใน
พระไตรปิฎก ท่านรักษากันไว้ในพระไตรปิฎก

เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งใครเป็นพระศาสดาแทนพระองค์ จึงไม่มีบุคคลใดเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดคำสอน การปฏิบัติ และผลการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาแทนพระองค์ แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมและวินัย คือคำสั่งสอนที่พระองค์ได้ทรงแสดงแล้ว และบัญญัติไว้แล้วแก่
พระสาวกทั้งหลาย จะเป็นพระศาสดา ของชาวพุทธในเมื่อ พระองค์ล่วงลับไปแล้ว
ต้องย้ำว่า ธรรมและวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้ ไม่ใช่ธรรมและวินัยที่ใคร ก็
ตามจะมาอ้างว่าตนได้รู้ได้เห็น จากการปฏิบัติของตน หรือจากญาณหยั่งรู้ของตน เพราะธรรม หรือวินัยที่บุคคลนั้นเห็น ( ถ้าไม่ตรงกับธรรมและวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติ ) ก็เป็นธรรม
หรือวินัยของผู้นั้นไม่ใช่ธรรมหรือวินัยของพระพุทธเจ้า
ธรรมและวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้เท่าที่เก็บรวบรวมมาได้ มีอยู่ในพระไตรปิฎก
คือ พุทธพจน์ใน พระไตรปิฎกนั้น รวมมาได้และรักษาไว้ได้เท่าไร ก็มีเท่านั้น พระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก
เป็นองค์แทนของพระพุทธเจ้า ที่จะตัดสินคำสอน การปฏิบัติ และผลการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา จึงมีความสำคัญสูงสุด และเราก็มีพุทธพจน์ที่แสดง ธรรมและวินัย ของพระพุทธองค์อยู่เท่านั้น กับที่ท่านนำจากพระไตรปิฎกไปอ้างอิงไว้ในคัมภีร์อรรถกถาเป็นต้น จะหาที่อื่นไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น พระอรหันต์สาวกและพระเถราจารย์ตลอดมาทุกรุ่นจึงถือเป็นหน้าที่สำคัญสูงสุดที่จะรักษาพระไตรปิฎก ไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ไว้อย่างดีที่สุดเท่าที่ท่านจะทำได้ เมื่อใดพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกหมดไป ก็ต้องยอบรับความจริงว่า เมื่อนั้นมาตราฐานของพุทธศาสนาได้หมดสิ้นไปแล้ว
พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นที่ยอมรับนับถือในวงการพุทธศาสนาทุกฝ่าย
ทั่วทั้งหมดว่า เป็น คัมภีร์บรรจุพุทธพจน์ที่เก่าแก่ดั้งเดิมและมั่นคงยืนนานที่สุดเท่าที่มีอยู่ ดังได้พูดมาข้าง
ต้นแล้ว นอกจากความเก่าแก่ต่อเนื่อง แล้ว ระบบการจัดหมวดหมู่ การลำดับเนื้อหา วิธีการทางภาษา
เช่น คำชุด ข้อความซ้ำๆ และการบรรจุพระสูตรและเนื้อ ความที่เหมือนกันให้กระจายอยู่หลายแห่ง
หลายเล่ม โดยอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ทรงจำต่างกลุ่มกันอย่างท้าทายการตรวจสอบเป็นต้น วิธีการเหล่านี้ซึ่งมีรายละเอียดมาก ไม่อาจบรรยายไว้ในที่นี้ เป็นทั้งเครื่องแสดงความตั้งใจจริงของ พระเถระในอดีตที่จะรักษาความบริสุทธิ์บริบูรณ์ของพุทธพจน์ และเป็นเครื่องเสริมสร้างความมั่นใจว่า
คัมภีร์ได้รับการนำสืบกันมาอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
จริงอยู่ ไม่ว่าจะรักษาไว้ดีอย่างไร เนื้อหาที่มากมาย และกาลเวลาที่ยาวนานเป็นพันๆ ปี ย่อม
ต้องมีช่องให้เกิด ความตกหล่นคลาดเคลื่อนขาดเกินไปบ้าง แต่จากเหตุผลที่ว่ามาแล้ว ก็สบายใจได้ว่า
ความบกพร่องเหล่านั้นจะมีอัตราส่วนน้อยยิ่งและที่ปรากฏอยู่แก่ผู้ที่ศึกษาก็เห็นชัดว่า หลักการใหญ่ ถ้อยความสำคัญๆ และเนื้อหาส่วนมากอยู่ในสภาพ ที่มั่นใจได้
คำในจดหมายถึง บก. "สมาธิ" ฉบับที่ ๗๑ ที่ว่า " พระไตรปิฎกก็คือตำราเก่าแก่เล่มหนึ่งที่มีอายุ
ยืนยาวนานมาถึง ๒๕00 ปี จึงย่อมมีการต่อเติมเสริมแต่งกันมา และแปลผิดบ้างถูกบ้าง " ข้อความนี้ อ่านแล้วน่าห่วงมาก ถ้าชาวพุทธมากคนมีความเข้าใจอย่างนี้ ก็จะมีท่าทีที่ผิดต่อพระพุทธศาสนา เป็นความเสื่อมแก่ทั้งตนเอง
และต่อพระศาสนาโดยส่วนรวม ท่านที่พูดอย่างนี้เป็นผู้ทำร้ายพระศาสนา แม้ถ้ามิใช่โดยตั้งใจ ก็ทำไป
โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ตนกำลังพูดถึง อีกทั้งท่าทีของการพูดก็มีลักษณะ
ของการลบหลู่ ไม่เห็นความสำคัญ จะพาผู้อื่นไขว้เขวไปด้วย
พระไตรปิฎกไม่ใช่เป็นเพียงตำราเก่าแก่ ที่อยู่มากับเวลาแล้วเก่าไปตามกาลเท่านั้น แต่เป็น
หลักฐานสมัยโบราณที่มี ระบบการรักษาอย่างดีที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยรู้จัก พระไตรปิฎกมิใช่มีเพียง
เล่มหนึ่ง แต่เป็นประมวลแห่งหลักฐานที่มีปริมาณ มากมาย การต่อเติมเสริมแต่งทำได้ยากยิ่งนัก และเพื่อป้องกันการแปลผิดแปลถูก ก็ได้รักษาไว้ในภาษาเก่า ให้อยู่ในรูปลักษณ์ดั้งเดิมที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งแม้ถ้าจะมีการแปลผิดไปบ้าง ก็จะมีต้นฉบับเดิมไว้ตรวจสอบได้ตลอดไป และไม่ให้คำแปลผิดไปนั้น
ไปกระทบต่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ของต้นฉบับเดิม

พุทธพจน์ในกาลามสูตรที่ว่า " อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอ้างตำรา " มีไว้สำหรับการใช้อ้างของ บุคคลที่ตั้งใจศึกษาหาความรู้จริงซึ่งเป็นผู้มีความเคารพ และมองเห็นความสำคัญของคัมภีร์หรือตำรา
อย่างถูกต้อง เช่นเดียวกับพุทธพจน์อีกข้อหนึ่งที่ว่า " อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครู
ของเรา " ก็มีไว้สำหรับการใช้อ้างของบุคคลที่ใฝ่ธรรม แสวงปัญญา ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักเคารพ และมองเห็น ความสำคัญของครูอาจารย์ ไม่ใช่มีไว้สำหรับการใช้อ้างของผู้ที่ไม่มีความรับผิดชอบ ขาดความเคารพลบหลู่ คุณค่าและความสำคัญของครูอาจารย์และคัมภีร์

__________________
ผมเปิดเว็บใหม่ให้ทุกคนเล่น www.plungjai.com


เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2555 | อ่าน 7665
เขียนโดย

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18524
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9755
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11138
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15197
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12074
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11093
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11026
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11590
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12872
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12108
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th