รุ่งอรุณแห่งการศึกษาวิถีพุทธเพื่อการฉลองพระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑๐๐ ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖

 

รุ่งอรุณแห่งการศึกษาวิถีพุทธเพื่อการฉลองพระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร  

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ๑๐๐ ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖

แนวคิดเบื้องต้น

          ในวาระโอกาสอันเป็นมงคลของพุทธศาสนิกชนฉลองพระชันษาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก๑๐๐ปี ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ การบูชาและแสดงกตัญญูกตเวทิคุณเป็นที่สุดต่อสมเด็จพระสังฆราช คือ การให้ธรรมทาน กับเยาวชนอันเป็นอนาคตของประเทศไทย  ด้วยการสนับสนุนนำเอาหลักธรรมในพุทธศาสนา เป็นหลักในการเรียนการสอนในโรงเรียน  หรือที่เรียกกันว่า “การศึกษาวิธีพุทธ”

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระบบการศึกษาไทยเพื่อการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีคุณธรรม คือ ธรรมทานอันสำคัญซึ่งขับเคลื่อนให้เกิดโรงเรียนวิถีพุทธ โดยได้นำแนวคิดจากอารยสงฆ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน  รวมทั้งของพระพรหมคุณาภรณ์ว่าด้วยรุ่งอรุณแห่งการศึกษาหรือบุพนิมิตของการเรียนรู้คือ โยนิโสมนสิการ และกัลยาณมิตร และนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน วิถีปฏิบัติและกิจวัตรประจำวัน และการพัฒนาครูของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

          ด้วยเหตุนี้จึงควรสนับสนุนและส่งเสริมให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนากับเยาวชน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความก้าวหน้าและยั่งยืนโดยการขับเคลื่อนด้วยแนวทางที่หลากหลาย

กิจกรรมหลักตามโครงการ

  • การปฏิบัติบูชาของครู และบุคลากรทางการศึกษา ทั้งการปฏิบัติธรรม และการภาวนาในชีวิตประจำวัน เพื่อดำรงตนเป็นกัลยาณมิตรของเยาวชนและผู้ปกครอง
  • กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของคณะครูเพื่อก่อให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจในการขับเคลื่อนโรงเรียนวิถีพุทธ
  • การส่งเสริมให้การประพฤติอันดีงามของนักเรียนงอกเงยจากการได้โอกาสเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรับฟัง และให้ความเห็นสะท้อนกลับ จนเกิดเป็นความรับรู้ และเจตนาใหม่ในการคิดดี พูดดี และทำดี
  • การสนับสนุนผู้ปกครองให้มีวิถีชีวิตที่เป็นแบบอย่างให้กับเยาวชน มีจิตใจที่เป็นปกติห่างไกลจากอบายมุข ให้ความรักและความเข้าใจต่อลูกหลาน และมีจิตสาธารณะ เพื่อสร้างครอบครัวเข้มแข็ง

เป้าหมายของโครงการ

  • ปีที่ ๑ มีโรงเรียนนำร่อง เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ๑๐๐ โรงเรียน คุณครู ๑,๐๐๐ คน นักเรียน ๑๐,๐๐๐ คน
  • ปีที่ ๒ มีโรงเรียน เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ๕๐๐ โรงเรียน ครู ๕๐๐ คน นักเรียน ๕๐,๐๐๐ คน

 

 

ระยะเวลาของโครงการ

  • ระยะที่ 1 ตั้งแต่ เดือน เมษายน 2556 ถึง มีนาคม 2557
  • ระยะที่ 2 ตั้งแต่ เดือน เมษายน 2557 ถึง มีนาคม 2558

องค์กรที่จะเชิญเข้าร่วมโครงการ (ในขั้นต้น)

  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)
  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)
  • สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • กระทรวงศึกษาธิการ
  • สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สถาบันอาศรมศิลป์ เป็นต้น  

โครงการประกอบ

  1. การจัดประชุมเครือข่ายเอเชีย-แปซิฟิกเพื่อการศึกษาแบบองค์รวม

ผลการหารือระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการจัดการประชุมAsia-Pacific Network for Holistic Education (APNHE)ในรูปแบบของการสัมมนาโต๊ะกลม (Roundtable Meeting)ได้ข้อสรุปดังนี้

  • กำหนดการคือ วันศุกร์ที่ ๒๔ และวันเสาร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
  • วัตถุประสงค์สำคัญคือ การนำเสนอผลการทำงานและจุดที่ต้องพัฒนาปรับปรุง เพื่อขอหารือและรับฟังข้อเสนอแนะ นอกจากนี้ จะมีการแลกเปลี่ยนในเรื่องการก่อตั้งเครือข่ายฯ และการจัดงานInternational conference for Holistic Education เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยจากการปฏิบัติงาน และยกระดับการเรียนรู้ด้านการศึกษาแบบองค์รวม
  • ความเข้าใจร่วมกันต่อการศึกษาแบบองค์รวม

การศึกษาแบบองค์รวมมีความเข้าใจพื้นฐานว่า  มนุษย์แต่ละคนจะค้นหาอัตลักษณ์ (Identity) ความหมาย (meaning) และเป้าหมายของชีวิตผ่านความเชื่อมโยงที่ตนมีต่อชุมชนและโลกภายนอก และคุณค่าของมนุษย์ เช่น ความกรุณา สันติภาพ ในการค้นหานี้เป็นการเรียนรู้แบบเป็นส่วนทั้งหมดของความหมายที่หลากหลายระดับ และประสบการณ์นานาประการ เมื่อมองในแง่มุมของการศึกษา การศึกษาแบบองค์รวมมีเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านปัญญา อารมณ์ สังคม กายภาพ และศักยภาพด้านศิลปะ ความสร้างสรรค์ และจิตใจ ซึ่งสามารถประมวลได้ดังนี้

  1. ด้าน Ultimacy หมายถึง การรู้แจ้งในความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจกับชีวิตภายนอก มองในแง่จิตวิทยา สิ่งนี้คือการบรรลุในตนเอง (Self-actualization) ที่มนุษย์แต่ละคนควรมุ่งไปสู่การพัฒนาจิตใจขั้นสูงสุดของตน
  2. สมรรถนะทางจิตใจ (Sagacious competence) หมายถึง การแสดงออกถึงจิตใจที่มั่นคงและใคร่ครวญอย่างถูกต้อง ได้แก่ การมีอิสรภาพ (Freedom) ปลอดจากความเห็นผิด เกิดสัมมาทิฐิ (Good-judgment) ด้วยการเรียนรู้ขั้นสูงของตน (Meta learning) การมีความสามารถทางสังคม (Social ability) การทำให้เกิดคุณค่าแท้ในใจตน (Refining values) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะและนิสัยของตน และการรู้จักตนเอง (Self knowledge) ซึ่งเป็นการพัฒนาอารมณ์ 
  3. การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาแบบองค์รวม

เนื่องจากการขับเคลื่อนในเรื่องการจัดตั้งเครือข่ายฯเป็นภารกิจระยะยาวและเป็นการยกระดับการรวมตัวของแวดวงผู้ทำงานด้านนี้ในประเทศไทยด้วย จึงเห็นสมควรพิจารณาดังนี้

  • จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรองรับงานด้านนี้ เครือข่ายที่ทำงานด้านโรงเรียนวิถีพุทธ ลักษณะสำคัญของคณะกรรมการ คือ มีความคล่องตัวในการประชุม และติดตามการทำงาน ขณะเดียวกันก็มีศักยภาพด้านการเชื่อมโยงองค์กร หน่วยงาน และเครือข่ายอื่นๆด้วย

 

  1. จัดตั้งกองทุนเพื่อการวิจัยการศึกษาแบบองค์รวม

โดยที่การพัฒนาเครือข่ายฯนี้มียุทธศาสตร์สำคัญคือ การสร้างผลงานทางวิชาการว่าด้วยการศึกษาแบบองค์รวม ในเรื่องนี้จึงมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนดังกล่าวคือ

  • เป้าหมายเพื่อยกระดับประสบการณ์การปฏิบัติงานขับเคลื่อนการพัฒนากาย ศีล จิต และปัญญาของเยาวชน ครู ครอบครัว และคนทำงานในองค์กร โดยเชื่อมโยงองค์ความรู้ในระดับประเทศ(Local)กับระดับโลก (Global)
  • บทบาทหน้าที่ของกองทุนฯในการจัดตั้งกองทุนขึ้นรองรับยุทธศาสตร์นี้ ให้สำนักงานของกองทุนนี้ขับเคลื่อนการวิจัยการศึกษาแบบองค์รวมทั้งด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติธรรม การภาวนา จิตวิทยา การให้คำปรึกษา การศึกษาด้านพลเมือง เป็นต้น โดยทำหน้าที่สร้างการมีส่วนร่วมของบุคคลในแวดวงต่างๆด้านนี้ให้พัฒนาผลงานทางวิชาการ

 กำหนดทิศทางการวิจัยการศึกษาแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาพลเมืองโลก

โดยที่แนวโน้มการขับเคลื่อนการศึกษาแบบองค์รวมในระยะต่อไปเน้นเนื้อหาสำคัญ(Theme)ด้านการศึกษาและพัฒนาพลเมืองโลก เช่น การประชุมวิสาขโลกในปีพ.ศ.๒๕๕๖ หัวข้อสำคัญประการหนึ่งคือ การศึกษาและพัฒนาพลเมืองโลกแนวพุทธ เนื้อหาหลักดังกล่าวมีสาระที่เปิดกว้างรองรับการทำงาน และการวิจัยในด้านการพัฒนากาย ศีล จิต และปัญญาของเยาวชน และครอบครัว ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะพิจารณากำหนดทิศทางการวิจัย เพื่อสื่อสารและกระตุ้นให้แวดวงการศึกษาแบบองค์รวมในสังคมไทยได้พิจารณาเข้าร่วมศึกษาวิจัยภายใต้เนื้อหาสำคัญดังกล่าว

รายละเอียดติดตามได้ที่นี่ ต่อไป..


เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2556 | อ่าน 2803
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ข่าวสารโรงเรียน อื่นๆ
 
เข้าวัดเจริญสติในวันธรรมสวนะ
22/08/2566
เปิดอ่าน 2308
 
พิธีเปิดการอบรมพระนวกภูมิ จ.พังงา
16/08/2566
เปิดอ่าน 2069
 
พิธีเปิด กิจกรรมค่ายต้นกล้าคุณธรรมน้อมนำกิจกรรมค่ายต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำเป็นพุทธะบูชา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ฯ
16/08/2566
เปิดอ่าน 2159
 
โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรม ค่ายต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำเป็นพุทธบูชา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ฯ
16/08/2566
เปิดอ่าน 2171
 
แห่เทียนพรรษา และบำเพ็ญประโยชน์
16/08/2566
เปิดอ่าน 2032
 
เตรียมงานอบรมพระนวกภูมิ จ.พังงา
16/08/2566
เปิดอ่าน 1987
 
กิจกรรม วงล้อพระธรรมสู่ไตรสิกขา
28/06/2566
เปิดอ่าน 2479
 
ประกาศผลโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำรุ่นที่ 13
12/09/2565
เปิดอ่าน 4001
 
ข่าวประชาสัมพันธ์โรงเรียนบ้านบัววัด
02/09/2565
เปิดอ่าน 3817
 
วารสารข่าว
17/06/2565
เปิดอ่าน 4459
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th