โครงการ มหกรรมลานโพธิ์ ตอนงานวัดลอยฟ้า (temple in the cloud)

“โครงการ มหกรรมลานโพธิ์  ตอนงานวัดลอยฟ้า ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้”

(temple in the cloud)

ของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

 

  1. ชื่อโครงการ หรือชุดโครงการ

มหกรรมลานโพธิ์  ตอนงานวัดลอยฟ้า ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้

ของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

  1. ความเป็นมา หลักการและเหตุผล

ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นวาระสำคัญอย่างยิ่งของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย  จะมีการเฉลิมฉลองสัมพุทธชยันตี ครบวาระ ๒๖๐๐ ปีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้  ร่วมกับธรรมภาคีทุกภาคส่วน  มาร่วมกันนำเสนอแนวคิดและหลักสูตรในการนำเอาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  นำเสนอ ชักชวนต่อประชาชนในวงกว้าง  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้นำเอามานึกคิด ไตร่ตรอง  เพื่อเกิดการคิดดีและทำถูกตามแนวทางพุทธธรรม  เข้าสู่แนวทางความสุขที่แท้จริง ที่พระองค์ท่านมาถ่ายทอดให้ชาวโลกได้นำไปศึกษาปฏิบัติ

 

ความเป็นมา พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรม

  1. ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นปีครบรอบ ๒๖๐๐ ปีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วทรงเมตตาสั่งสอนเผยแผ่อีก ๔๕ ปีจึงปรินิพพาน แล้วจึงเริ่มนับพุทธศักราช โดยฝ่ายอินเดีย ลังกา นับปีปรินิพพานเป็น พ.ศ.๑ ในขณะที่ข้างฝ่ายไทยและประเทศในแถบนี้นับเป็น พ.ศ.๑ เมื่อครบรอบปี
  2. ในลังกามีการเฉลิมฉลองเมื่อวิสาขบูชาปีที่แล้ว อินเดียเริ่มฉลองตั้งแต่ปีที่แล้วต่อเนื่องมาถึงปีนี้ เรียกกันทั่วไปว่า พุทธชยันตี หมายถึงการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีต่อความทุกข์ อันหมายถึงกิเลส มาร สิ่งไม่ดีงามทั้งปวง
  3. พระมหาเถระทั้งหลาย อาทิ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้ชี้แนะว่าควรที่ชาวพุทธและชาวไทยจะได้ร่วมกันเฉลิมฉลองด้วยการช่วยกันเผยแผ่และส่งเสริมการเรียนรู้และน้อมนำหลักธรรมของพระพุทธองค์มาปฏิบัติเพื่อการชนะอย่างพุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น และ เบิกบาน ด้วยการเจริญใน ทาน ศีล สมาธิ และ ภาวนา ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น

ขบวนการและภาคีขับเคลื่อนในประเทศไทย

  1. มหาเถรสมาคมได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ เสนอให้รัฐบาลดำเนินการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ประกอบด้วย กิจกรรมด้านการปฏิบัติบูชา ด้านวิชาการ และ ด้านกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม โดยคณะสงฆ์จะเน้นกิจกรรมด้านวิชาการ ซึ่งได้ร่วมกับองค์การสหประชาชาติจัดงานวิสาขบูชาโลกที่มีผู้แทนชาวพุทธจากทั่วทั้งโลกเข้าร่วมหลายพันคน ในระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๒ มิถุนายน ที่พุทธมณฑล หอประชุมสหประชาชาติ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วังน้อย)
  2. ภาคีเครือข่ายพุทธศาสนิกชน ตลอดจนผู้สนใจได้มีการดำริและเตรียมการอย่างกว้างขวางหลากหลาย เฉพาะอย่างยิ่งงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา ที่ท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤษภาคม – ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จในวันที่ ๓๐ 
  3. รัฐบาลออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ตกลงให้สนับสนุนงานของคณะสงฆ์ และ งานที่ท้องสนามหลวง รวมทั้งงานเวียนเทียนที่พุทธมณฑล โดยจะมีการวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์กลางพุทธศาสนาโลกที่พุทธมณฑลด้วย นอกนั้น ให้ราชการ และ เอกชนพิจารณาจัดงานด้วยการเจียดจ่ายจากงบประมาณประจำและจัดหากันเอง

แนวทางของโครงการ

มหกรรมลานโพธิ์จัดขึ้นในใจกลางเมือง  ให้เป็นการชุมนุมขององค์กรทางพุทธศาสนา  ได้มีโอกาสนำเสนอกิจกรรมและหลักสูตรเพื่อให้คนได้ฝึกฝนพัฒนาตัวเอง (Self Cultivation)  ที่รูปแบบที่หลากหลายทั้งแบบพื้นฐานและแบบผสมผสาน 

โดยมีการกุศโลบายการนำเสนอ  ให้มีการหักมุม  โดนใจคนในสังคมสมัยใหม่  โดยนำการละเล่นในงานวัดที่เป็นไสยศาสตร์เก่าๆ  ที่คนคุ้นชิน เช่นเสี่ยงเซียมซี บ้านผีสิง สาวน้อยตกน้ำ ยาดอง  มาผลิกหักมุมอย่างเหนือความคาดหมาย  ให้มีเนื้อหาเข้าหาธรรมะ  และสะท้อนชีวิตใหม่ที่ใกล้ตัวของคนในสังคมบริโภคนิยมในปัจจุบัน  เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ขัดแย้ง  ยั่วให้คิด แต่ไม่เคร่งเครียด  แต่ให้ประชาชนได้คิด  เห็นปัญหาใกล้ตัวว่ามาจากการยึดติดกับตัวกู ของกูที่พระท่านได้สอนไว้  จะเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการฝึกตนตามหลักธรรม 

และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน  จะได้มีโอกาสพิจารณาหลักสูตรหลายหลายแบบ  ที่องค์กรพุทธต่างๆ นำมาเสนอ  ค้นหา พิจารณา ตามแต่จริตและปัจจัยของแต่ละคน เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิต ครอบครัว และสังคม ให้มีชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างแท้จริง

โดยได้ชักชวนองค์กรต่างๆทุกภาคส่วน  มาร่วมแรงร่วมใจ ตามกำลังและความชำนาญ  เข้าเป็นภาคีร่วมจัดในลักษณะเหมือนกฐินสามัคคี  สามารถพัฒนาให้เกิดเป็นรูปแบบที่นำไปจัดได้อย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้องค์กรชาวพุทธได้มีพื้นที่แสดงผลงาน  และช่องทางชักชวนประชาชนให้เข้าสู่การปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ  ให้การร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจในพระธรรม  นำไปใช้เป็นหลักนำชีวิต  เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  เกิดประสิทธิผล   มีความยั่งยืน 

นอกจากนี้  ยังมุ่งหวังการจัดมหกรรมลานโพธิ์นี้นำไปสู่พัฒนาความร่วมมืออื่นๆ ขององค์กรทุกภาคส่วน  ให้เป็นเครือข่ายธรรมภาคีเพื่อสังคม  ที่มีทิศทางและเป้าหมายใหญ่เดียวกัน  มีความร่วมมือพึ่งพากันตามสมควร โดยมีการดำเนินงานเป็นอิสระ  เพื่อให้มีแรงขับดันสังคมได้อย่างมีพลัง  มีความคล่องตัวแต่มีระบบ

3. วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย

๑.ประสานภาคีเครือข่ายองค์กรเข้าเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญและกำลังศรัทธา
๒.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่างๆ  ส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปได้ฝึกตนให้เป็นคนดี  มีความสุข ตามแนวทางพุทธธรรม
๓.พัฒนาและทดลองนวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำกิจกรรม การส่งเสริมการศึกษา ปฏิบัติและเผยแผ่ธรรมในรูปแบบลักษณะที่น่าสนใจและทันสมัย ให้เข้ากับวิธีชีวิตของคนที่เปลี่ยนไป

 

พื้นที่เป้าหมาย
  1. พื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณสยามแสควร์ / พื้นที่รอบกรุงเทพมหานครที่รถไฟฟ้าไปถึง
กลุ่มเป้าหมาย

๑. ผู้ร่วมกิจกรรม:

  1. เป้าหมายหลัก- ประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง ๒๕-๕๐ ปีที่ยังไม่ได้ใช้พุทธธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต:  เห็นความสำคัญของศีลธรรมพอสมควร  แต่ยังไม่ได้นำเอาธรรมะ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง
  2. เป้าหมายรอง- คนทั่วไปที่สนใจธรรมะอยู่แล้ว เคยศึกษา  และปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง

๒. องค์กรภาคีร่วมจัด

  1. หน่วยงานรัฐและเอกชนขนาดใหญ่  ในการเป็นภาคีเข้าร่วมและสนับสนุน
  2. วัด คณะสงฆ์ และองค์กรชาวพุทธ  ในการนำเสนอหลักสูตรและนวัตกรรม ในการปฏิบัติ การเจริญสติ  การฝึกอบรมที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่สนใจเข้าร่วม
  3. กลุ่มโรงเรียน  มหาวิทยาลัย  สื่อสารมวลชน และสำนักพิมพ์  ในการนำเสนอแนวทางและเนื้อ  ทั้งด้านวิชาการ  และด้านสันทนาการ  ในการปลูกฝังแนวคิดด้านพุทธธรรม และศีลธรรม ให้แก่เด็กและเยาวชน  แนะนำ แนะแนวทางให้แก่ประชาชนที่ต้องการให้ลูกเติบโตไปเป็นคนดี  และครอบครัวมีความสุข 
  4. กลุ่มอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญ  ทั้งเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือกลุ่มบุคคล  ที่เสียสละเวลาและรายได้  เข้ามารับผิดชอบ  เสริมในด้านต่างๆที่เป็นอาชีพ หรือความถนัดของตน  ช่วยพัฒนางาน  เพื่อให้ได้งานให้ตรงกับวัตถุประสงค์  และมีคุณภาพพอที่จะชักจูงคนรุ่นใหม่ 

 

ตัวชี้วัด
  1. ปริมาณผู้ชมงาน: มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดมากกว่า ๘๐,๐๐๐ คน และผู้รับชมผ่านสื่อสารมวลชนในรูปแบบต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐,๐๐๐ คน
    1. เป้าหมายหลัก-  ๔๐,๐๐๐ คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐,๐๐๐ คนต่อวัน
    2. เป้าหมายรอง-   ๔๐,๐๐๐ คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐,๐๐๐ คนต่อวัน
  2. ทัศนคติของผู้ชมงาน : ทำให้ผู้ชมงานเห็นประโยชน์ของธรรมะในการใช้ชีวิตประจำวัน เพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่า ๖๐%
  3. จำนวนองค์กรร่วมจัด
    1. หน่วยงานรัฐและเอกชนขนาดใหญ่  ไม่ต่ำกว่า ๘ องค์กร
    2. วัด คณะสงฆ์ และองค์กรชาวพุทธ  ไม่ต่ำกว่า ๘๐ องค์กร
    3. กลุ่มโรงเรียน  มหาวิทยาลัย  สื่อสารมวลชน และสำนักพิมพ์  ไม่ต่ำกว่า ๖๐ องค์กร
    4. กลุ่มอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญ  ไม่ต่ำกว่า ๒๐ กลุ่ม
  4. ระยะเวลาของโครงการ
    1. ระยะเวลาเตรียมการ : เดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕
    2. ระยะเวลาจัดมหกรรม : วันที่ ๑๗ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕
  5. ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการนายสันติ โอภาสปกรณ์กิจ

คณะทำงานเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, อาสาสมัครและธรรมภาคีของหอจดหมายเหตุฯ

ภาคีหลักหรือองค์กรสนับสนุนอื่น ๆ

  1. ภาคีร่วมจัดกิจกรรมทางธรรม :

วัด ศาสนสถาน สถานปฏิบัติธรรม ฯ / กลุ่ม องค์กร คณะบุคคลต่าง ๆ

  1. ภาคีร่วมจัดภาคีกิจกรรม ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม :

เครืออมรินทร์ / เครือเดอะเนชั่น / บริษัท Playworkจำกัด / บริษัท Kathi Studioจำกัด / บริษัท EitS Solution จำกัด / คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม / วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหิดล

  1. ภาคีสนับสนุน

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ / สำนักนายกรัฐมนตรี / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) / กระทรวงวัฒนธรรม / ธนาคารไทยพาณิชย์ / เครือซิเมนต์ไทย / กรุงเทพมหานคร / การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย / มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช / อินทัชกรุ๊ป / บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) / บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด

 

  1. แผนดำเนินงาน

 

แนวงาน ประกอบด้วย ๕ ส่วนสำคัญ

ผ่าน ๔ โซนใหญ่ลานโพธิ์ ลานธรรม ศาลาราย และ มหาวิหาร

๑. แสดงนวัตกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน พร้อมการแสดงผลงาน หนังสือและสื่อธรรมในยุคไซเบอร์ของภาคีองค์กรชาวพุทธทั้งหลาย

  1. การนำเอาการละเล่นในงานวัด การละเล่นในงานวัดที่เป็นไสยศาสตร์เก่าๆ  ที่คนคุ้นชิน เช่นเสี่ยงเซียมซี บ้านผีสิง สาวน้อยตกน้ำ ยาดอง มาหักมุมให้เป็นธรรมะ  และสะท้อนชีวิตใหม่ที่ใกล้ตัวของคนในสังคมบริโภคนิยมในปัจจุบัน เช่นการเสี่ยงเซียมซีตอบโจทย์  โดยเลือกปัญหาที่อยากหาคำตอบ แต่แทนที่จะเป็นคำทำนายตามดวงแบบไสยศาสตร์ กลับได้เป็นได้เป็นหลักธรรม คำสอนของคณาจารย์รูปต่างๆ เป็นต้น
  2. จัดซุ้มแสดงผลงาน หนังสือและสื่อธรรม เพื่อเผยแผ่พระธรรมของพระพุทธองค์ ด้านองค์กรเครือข่ายธรรมะ สถานปฏิบัติธรรม หนังสือ เว็บไซต์ ทีวีธรรมะ และ สื่อต่าง ๆ ฯลฯ 
  3. ร่วมกิจกรรม การแสดงธรรม การอภิปราย เสวนาอย่างหลากหลาย ของครูบาอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สื่อ ศิลปิน นักคิดค้นคว้าและนักปฏิบัติ ตลอดจนคนรุ่นใหม่ที่สนใจและแสวงหา

 

เพื่อการเรียนรู้และสักการบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และ พระสังฆคุณ ๕ นิทรรศการสำคัญ ๑-พระพุทธประวัติสุดประเสริฐ ๒-ทรงตรัสรู้อะไร ๓-ถึงไทยและอุษาคเนย์ ๔-จอมเจดีย์สี่ภาค ๕-อัครศาสนูปถัมภก และ ๖-สาวกสืบสาน

  1. เรียนรู้และนมัสการพระพุทธเจ้าผ่านนิทรรศการพระพุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผ่าน ๖ ช่วงสำคัญแห่งชีวิตของพระพุทธองค์ตั้งแต่ประสูติ เจริญเติบโตและเสาะแสวงหาความรู้ ออกบวช พากเพียรปฏิบัติ ตรัสรู้บรรลุธรรม เมตตาเผยแผ่แก่พหูชน ดับขันธปรินิพพาน ในมหาวิหารลอยฟ้า รอยัลพารากอนฮอลล์
  2. เรียนรู้ข้อธรรมสำคัญในนิทรรศการชุด “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ? ”
  3. สักการบูชาพระมหาธาตุเจดีย์องค์สำคัญพร้อมพระพุทธรูปองค์สำคัญและหลักฐานจารึกรอยพระธรรม กับหุ่นขี้ผึ้งครูบาอาจารย์รูปสำคัญจาก ๔ ภาค

 

 

ภาค

พระธาตุ

พระพุทธรูป

พระธรรม

พระสงฆ์สุปฏิปันโน

เหนือ

พระธาตุหริภุญชัย

พระพุทธชินราช

ปฏิจจสมุปบาท

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

อีสาน

พระธาตุพนม

หลวงพ่อพระใส

............

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

กลาง

พระปฐมเจดีย์

หลวงพ่อพระพุทธโสธร

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

สมเด็จพระพุฒาจารย์

(โต พรหมรังสี)

วัดระฆัง

ใต้

พระบรมธาตุเมืองนคร

พระพุทธสิหิงค์

เยธัมมา ฯ

หลวงพ่อทวด

 

๒. เพื่อการทำบุญและให้ทาน

  1. ร่วมทำบุญใส่บาตรพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี ๔ วัน ที่ลานด้านหน้าสยามพารากอน บนสกายวอล์ค และ สถานีรถไฟ บีทีเอส. จากบริเวณศูนย์การค้าสยาม ถึง ราชประสงค์
  2. ร่วมสมทบทุนทำบุญสร้างทำหนังสือและสื่อธรรมสำคัญ เพื่อถวายวัด มอบแก่โรงเรียน สถาบันสถานศึกษา และ โรงแรมสถานที่พักแรมทั่วประเทศไทย ประกอบด้วย
    1.  “หนังสือสวดมนต์ ๙ คาถาสำคัญ”ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเมื่อ ๒๖๐๐ ปีที่แล้ว จนมีผู้บรรลุธรรมเป็นอริยสาวกผู้นำพระพุทธศาสนาออกเผยแผ่มาถึงทุกวันนี้
    2. หนังสือ “พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย”โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) และหนังสือแนะนำ “ตามรอยพุทธธรรม”สำหรับผู้เริ่มศึกษา
    3. หนังสือ WHAT BUDDHA TEACH ? พระพุทธเจ้าสอนอะไร ?สำหรับวางในสถานพักแรมทั่วประเทศไทย ของ สำนักงานทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ฯลฯ

 

๓. เพื่อการถือศีล ทำสมาธิ เรียนรู้ภาวนา เจริญสติและปัญญา

  1. ร่วมรับและถือศีล ๕ ศีล ๘ต้อนรับวันวิสาขบูชา ๒๕๕๕ ครบ ๒๖๐๐ ปี พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่ามกลางดวงแก้วอันประเสริฐทั้ง ๓ : พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  2. ร่วม “สวดมนต์ ๙ คาถาสำคัญ ๒๖๐๐ ปี”ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงจนมีผู้บรรลุธรรมทันทีมาแล้ว
  3. ร่วมเป็น หนึ่งใน ๒,๖๐๐ คน ทำสมาธิเจริญจิตภาวนาหมู่ประจำแต่ละวัน กับครูบาอาจารย์จากทั่วประเทศไทย
  4. ร่วมเป็น หนึ่งใน ๒๖,๐๐๐ คน ในโครงการ “ทำมะ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตื่น ๒๖ วัน เปลี่ยนชีวิต”กับ ธรรมภาคีและเครือข่าย สสส.
  5. ร่วมฟังพระธรรมเทศนาประดับสติปัญญาจากครูบาอาจารย์จากทั่วประเทศไทย

 

๔. เพื่อนำเสนอกิจกรรมธรรมบันเทิง ดนตรี เพลง ละคร ภาพยนตร์ทั้งหลาย

  1. มหกรรมการแสดงดนตรีและเพลงเพื่อธรรมะของนานาวงดนตรี ศิลปิน นักร้องต่าง ๆ จากทั่วประเทศ
  2. มหกรรมการแสดงละคร การละเล่นเพื่อธรรมะของนานานักแสดง ศิลปินต่าง ๆ จากทั่วประเทศ
  3. มหกรรม ๒,๖๐๐ คลิปมือถือ“สงบ ท่ามกลางความวุ่นวาย”
  4. ตัวอย่างภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์พุทธปัญญานานาชาติ

 

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. ประชาชนเปลี่ยนทัศนคติ
    2. ประชาชนเข้าปฏิบัติธรรมมากขึ้น
    3. ประชาชนสนับสนุนองค์กรพุทธมากขึ้น
    4. มีกลุ่มคนรวมกันไปเป็นอาสาสมัคร  เข้าร่วมกับองค์กรพุทธต่างๆมากขึ้น  ช่วยนำเสนอหลักสูตรและกิจกรรมใหม่ๆ
    5. สื่อสารมวลชนติดตามข่าวเสนอมากขึ้น  เปิดพื้นที่ในสื่อให้กับงานด้านพุทธธรรมมากขึ้น
    6. องค์กรที่เข้าร่วมโครงการเห็นประโยชน์ในธรรม   นำไปส่งเสริมให้พนักงานในแต่ละองค์กร  ให้เข้าร่วมในหลักสูตรเจริญสติ  หรือ จัดให้มีการฝึกอบรมในด้านการเจริญสติและการนำหลักธรรมเข้ามาใช้ในการพัฒนาตน  ให้มีความพอใจและมีความสุขในงานและในชีวิต
    7. องค์กรพุทธฯ  มีการนำเสนอหลักสูตรการเจริญสติ  และการประยุกต์ใช้พุทธธรรมมากขึ้น  มีคุณภาพ มีระบบการจัดการ  มีการวัดผลมากขึ้น  มีความหลากหลายทั้งในด้านวิธีการ และความเข้มข้น
    8. แต่ละองค์กรพุทธ  มีการพัฒนาหลักสูตรการเจริญสติให้กับคนกลุ่มที่ยังมีศรัทธาไม่มาก หรือปรับหลักสูตรให้เหมาะกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป  มีพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
    9. ชาวพุทธเกิดศรัทธา  รวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นองค์กร  มีการร่วมมือระหว่างกัน  สร้างเครือข่ายในการผลักดันให้การฝึกตนตามแนวพุทธธรรม เป็นที่นิยมของประชาชน
    10. ภาคีร่วมงาน  เห็นความสำคัญในการงานชุมนุมการเสนอผลงานและหลักสูตรขององค์กรพุทธ  ร่วมกันจัดให้มีมหกรรมอย่างนี้เกิดขึ้นสม่ำเสมอทุกปี

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (74 kb)

เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2555 | อ่าน 3254
เขียนโดย โรงเรียนบ้านลานคา

       
 
 
  อ่าน ข่าวสารโรงเรียน อื่นๆ
 
เข้าวัดเจริญสติในวันธรรมสวนะ
22/08/2566
เปิดอ่าน 2308
 
พิธีเปิดการอบรมพระนวกภูมิ จ.พังงา
16/08/2566
เปิดอ่าน 2070
 
พิธีเปิด กิจกรรมค่ายต้นกล้าคุณธรรมน้อมนำกิจกรรมค่ายต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำเป็นพุทธะบูชา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ฯ
16/08/2566
เปิดอ่าน 2160
 
โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรม ค่ายต้นกล้าคุณธรรม น้อมนำเป็นพุทธบูชา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ฯ
16/08/2566
เปิดอ่าน 2173
 
แห่เทียนพรรษา และบำเพ็ญประโยชน์
16/08/2566
เปิดอ่าน 2034
 
เตรียมงานอบรมพระนวกภูมิ จ.พังงา
16/08/2566
เปิดอ่าน 1989
 
กิจกรรม วงล้อพระธรรมสู่ไตรสิกขา
28/06/2566
เปิดอ่าน 2480
 
ประกาศผลโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำรุ่นที่ 13
12/09/2565
เปิดอ่าน 4001
 
ข่าวประชาสัมพันธ์โรงเรียนบ้านบัววัด
02/09/2565
เปิดอ่าน 3817
 
วารสารข่าว
17/06/2565
เปิดอ่าน 4459
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th