นักเรียนวิถีพุทธ
พัฒนาครูบุคลากรวิถีพุทธ
ปฎิบัติธรรมบุคลากรวิถีพุทธ
พัฒนาเครือข่ายวิถีพุทธ
พัฒนาผู้บริหารวิถีพุทธ
หลักสูตรชาวพุทธ
คำอธิบายหลักสูตร
     
 
     


๑. ความสำคัญและความเป็นมาของหลักสูตรหลักชาวพุทธ
          
          
บุคคลที่จะเรียกได้ว่าเป็น “ชาวพุทธ” จะต้องมีหลักการ มีคุณสมบัติประจำตัว และมีมาตรฐานความประพฤติที่รองรับ ยืนยัน และแสดงออกถึงความเป็นชาวพุทธนั้น หลักการและปฏิบัติการที่เรียกว่า “หลักชาวพุทธ” ดังต่อไปนี้เป็นภูมิธรรมขั้นพื้นฐานของชาวพุทธ ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักการ และดำเนินตามปฏิบัติการนี้ นอกจากเป็นชาวพุทธสมแก่นามแล้ว จะมีชีวิตที่พัฒนาก้าวหน้างอกงามและช่วยให้สังคมเจริญมั่นคงดำรงอยู่ในสันติสุข เป็นผู้สืบต่อวิถีชาวพุทธไว้พร้อมทั้งรักษาธรรมและความเกษมศานต์ให้แก่โลก เป็นข้อความตอนหนึ่งในหลักธรรม บรรยายโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
         
          โรงเรียนวีถีพุทธ มุ้งเน้นฝึกฝนนักเรียนที่เป็นเยาวชน อันจะเป็นอนาคตของชาติ โดยใช้หลักธรรมสำคัญคือ หลักไตรศึกษา เน้น พฤติกรรมการแสดงออกมาผสานให้กลมกลืนเป็นกระบวนการเดียวกันกับระบบการศึกษาในปัจจุบันเพื่อให้มีคุณลักษณะที่ต้องการ คุณธรรมพัฒนาเพื่อให้เกิดความดีงามต่อเยาวชนของชาติที่เป็นเสาหลักสำคัญในอนาคตของประเทศชาติ คือความเป็นวิถีพุทธที่งดงาม เยาวชนทั้งหลายต่างเป็นพุทธมามกะนับถือพุทธศาสนามาแต่กำเนิด หากได้รับการปลูกฝังหน้าที่ความเป็นชาวพุทธอย่างถูกต้อง จะได้เกิดความตระหนัก เกิดศรัทธาปสาทะ อย่างถูกต้อง นำหลักธรรมไปปฏิบัติและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
 
๒. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๒.๑ เพื่อให้นักเรียนได้รู้หลักการของความเป็นชาวพุทธที่แท้จริง
๒.๒ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติตนตามหลักของชาวพุทธจนเป็นวิถีชีวิตและถูกต้อง
๒.๓ เพื่อสร้างความตระหนักเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อความเป็นชาวพุทธที่ดี
 
๓. เนื้อหาการอบรม

๓.๑ คุณสมบัติของชาวพุทธ
๓.๒ มาตรฐานความประพฤติของชาวพุทธ
๓.๓ ภูมิธรรมของชาวพุทธเบื้องต้น
๓.๔ หลักปฏิบัติของชาวพุทธ
๓.๕ การทำให้ชีวิตงดงามตามวิถีชาวพุทธ
๓.๖ หน้าที่พลเมืองดีตามวิถีชาวพุทธ
๓.๗ ศาสนพิธีเบื้องต้น
๓.๘ ธรรมะนันทนาการ/ธรรมะจากสื่อ
๓.๙ พิธีมอบตัวเป็นศิษย์
๓.๑๐ สวดมนต์ทำวัตรเย็น/ปฏิบัติธรรม
 
๔. คำอธิบายสาระการอบรม

๔.๑ คุณลักษณะที่สำคัญของชาวพุทธ หมายถึง สิ่งที่ชาวพุทธพึ่งมี ที่สำคัญ ได้แก่ การนับถือและเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการนับถือพระรัตนตรัย การใช้หลักความเชื่อด้วยปัญญา และการใช้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน

๔.๒ มาตรฐานความประพฤติของชาวพุทธ หมายถึง ความประพฤติหรือการแสดงออกที่เป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ที่บ่งบอกได้ว่าเป็นชาวพุทธ และเป็นแบบอย่างให้แก่ผู้อื่นได้

๔.๓ ภูมิธรรมของชาวพุทธเบื้องต้น หมายถึง มนุษยธรรม คือ ศีล ๕ เป็นเบื้องต้นและและธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล และหลักธรรมคิหิปฏิบัติในเบื้องต้น

๔.๔ หลักปฏิบัติของชาวพุทธ หมายถึง ข้อที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติในเบื้องต้น คือ บุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา การรักษาศีลตามกำลังศรัทธา การศึกษาหลักธรรมที่สำคัญในเบื้องต้น และ หลักของชาวพุทธ ๑๒ ประการ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)

๔.๕ การทำให้ชีวิตงดงามตามวิถีพุทธ หมายถึง การปฏิบัติตามมารยาทชาวพุทธอย่างถูกต้อง ปฏิบัติศาสนพิธีได้ถูกต้องเหมาะสม

๔.๖ หน้าที่พลเมืองดีตามวิถีชาวพุทธ หมายถึง หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นพลเมืองและสอดคล้องกับวิถีชาวพุทธ โดยคำนึงถึงหลักคุณธรรมจริยธรรม/จิตอาสา ปฏิบัติตนต่อองค์ประกอบของพระพุทธศาสนาได้อย่างเหมาะสม

๔.๗ ศาสนพิธีเบื้องต้น หมายถึง พิธีการทางศาสนาที่จำเป็นพื้นฐาน เช่น การจัดโต๊ะหมู่บูชา การจัดสถานที่ประกอบพิธี การเตรียมเครื่องไทยธรรม ลำดับพิธี การประเคน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

๔.๘ ธรรมนันทนาการ/ธรรมะจากสื่อ หมายถึง การใช้สื่อจากแหล่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการปลูกฝั่งหน้าที่ความเป็นชาวพุทธ

๔.๙ พิธีมอบตัวเป็นศิษย์/การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หมายถึง กิจกรรมเบื้องต้นการอบรม เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการเตรียมตัวเข้าสู้กระบวนการอบรม

๔.๑๐ การสวดมนต์/ปฏิบัติธรรม หมายถึง กิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น โดยใช้บทสวดมนต์แปลของวัดสวนโมกข์ การบริหารจิตเจริญปัญญา ใช้แนวสติปัฎฐาน ๔

๕. แนวทางการจัดกิจกรรม

๕.๑ การบรรยายประกอบสื่อ
๕.๒ แบ่งกลุ่มระดมความคิด
๕.๓ ฝึกปฏิบัติจริง
๕.๔ ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้
๕.๕ แสดงบทบาทสมมุติ
๕.๖ กิจกรรมสร้างแรงบัลดานใจ (จุดเทียนอุดมการณ์/การตั้งสัตย์ปฏิญาณตน)
 
๖. การประเมินผล

๖.๑ ทำแบบทดสอบ/ตอบคำถาม
๖.๒ สังเกตจากการปฏิบัติ หรือการแสดงบทบาทสมมุติ
๖.๓ ตรวจผลงาน
 
๗. หลักธรรมประกอบการอบรม

๗.๑ ศีล ๕
๗.๒ บุญกิริยาวัตถุ ๓
๗.๓ พระรัตนตรัย
๗.๔ กุศลมูลและอกุศลมูล ๓      
๗.๕ มารยาทชาวพุทธ
๗.๖ หลักศาสนพิธีเบื้องต้น
๗.๗ หลักชาวพุทธ ๑๒ ประการ (พระพรหมคุณาภรณ์ ป.ปยุตฺโต)
๗.๘ หลักของศรัทธา
 
๘. คุณลักษณะที่ผู้เข้าอบรมพึงได้รับ

๘.๑ นักเรียนได้รู้หลักการของความเป็นชาวพุทธที่แท้จริง
๘.๒ นักเรียนปฏิบัติตนตามหลักของชาวพุทธจนเป็นวิถีชีวิตและถูกต้อง
๘.๓ นักเรียนเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อความเป็นชาวพุทธที่ดี
 
๙. กำหนดการ

หลักสูตร ๓ วัน ๒ คืน
 
ดาวน์โหลดเอกสารหลักสูตร
  • กำหนดการ : Download (81.54 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • อบรมหลักสูตรนี้
    หลักสูตรค่ายวิถีพุทธ
    คำอธิบายหลักสูตร
         
     
         


    ๑. ความสำคัญและความเป็นมาของหลักสูตรค่ายวิถีพุทธ
             
              สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ในภาวะปัจจุบันอยู่ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง มีการแข่งขันกันอย่างสูงและรุนแรง ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านวัตถุและฐานะทางเศรษฐกิจ ทำให้เด็กและเยาวชนขาดภูมิคุ้มกัน ก่อให้เกิดปัญญาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ปัญหาด้านสังคมจึงเกิดขึ้น เช่น ปัญหาด้านยาเสพติด ความยากจน เด็กเร่ร่อน การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
             
              การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เด็ก เยาวชนหลงผิดไปตามกระแสของสังคม ละทิ้งคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้การดำเนินชีวิตขาดหลักธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่จะทำให้ชีวิตมีความมั่นคงและสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งเด็ก เยาวชนคือหัวใจสำคัญในการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เป็นกลุ่มคนที่มีพลัง มีศักยภาพมาก การกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดี พัฒนาศักยภาพและพลังในเชิงสร้างสรรค์ สร้างให้เด็ก เยาวชน ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองพร้อมมีภูมิคุ้มกัน รู้เท่ากันการเปลี่ยนแปลง ไม่ตกเป็นเหยื่อหรือสร้างปัญหาให้กับสังคม เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่า เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เด็ก เยาวชนจึงจำเป็นต้องมีความรู้และศีลธรรม ควบคู่กันไป เพื่อให้เด็ก เยาวชนมีคุณธรรม จริยธรรม มีศีล มีธรรม และมีค่านิยมในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
             
              ค่ายวิถีพุทธจึงเป็นการที่จะช่วยพัฒนาเด็ก เยาวชน โดยการพัฒนาจิตและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ตามหลักพุทธศาสนา อันเป็นแนวทางที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตนให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต เก่ง ดี มีสุข และสามารถนำหลักธรรมคำสอนที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ การพัฒนากาย โดยการแสดงออกทางกริยามารยาทของชาวพุทธ มีพฤติกรรมที่ดีงาม เหมาะสม การพัฒนาศีลโดยการอยู่ร่วมกับครอบครัว ชุมชน สังคม และบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข การพัฒนาจิต ให้เป็นจิตที่สมบูรณ์ มีสุขภาพจิตที่ดี และการพัฒนาทางด้านปัญญา ให้เกิดปัญญาในการรู้จริง รู้เท่าทันปัจจุบัน รู้วิธีการป้องกัน รู้วิธีการแก้ไขปัญหา สามารถสร้างภูมิต้านทานให้กับตนเองด้วยคุณธรรม นำพาชีวิตสู่ความสำเร็จเพื่อเกื้อกูลแก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติ
     
    ๒. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    ๒.๑ เพื่อพัฒนาจิตและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ตามหลักพุทธศาสนา
    ๒.๒ เพื่อฝึกจิตให้มีสติ รู้เท่าทัน และแสดงออกทางด้าน กาย วาจา ใจ ได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถปรับตัวรับต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
    ๒.๓ เพื่อเรียนรู้ และเข้าใจในหน้าที่ของชาวพุทธ
    ๒.๔ เพื่อส่งเสริม ปลูกจิตสำนึกในการรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
    ๒.๕ เพื่อให้สามารถนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่าง เก่ง ดี และมีความสุข
     
    ๓. เนื้อหาการอบรม

    ๓.๑ การเข้าถึงพระรัตนตรัย
    ๓.๒ ภาวนา ทำสมาธิ เพื่อการพัฒนาจิต
    ๓.๓ องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา
    ๓.๔ มารยาทชาวพุทธ
    ๓.๕ เป้าหมายการศึกษาเพื่อเข้าถึงชีวิต
    ๓.๖ หลักธรรมชาวพุทธ
    ๓.๗ หลัก 5 D
     
    ๔. คำอธิบายสาระการอบรม

    ๔.๑ การเข้าถึงพระรัตนตรัย คือ การน้อมรับเอาคำสั่งสอนของพระรัตนตรัยเป็นเครื่องนำทางชีวิต

    ๔.๒ ภาวนา ทำสมาธิ เพื่อการพัฒนาจิต การพัฒนาจิตในพระพุทธศาสนาว่า จิตเป็นรากฐานสำคัญที่จะแสดงออกในอากัปกิริยาตลอดหน้า ใจ เมื่อได้รับการอบรมย่อมมีสติ  ย่อมมีความฉลาดรอบคอบ

    ๔.๓ องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา จะต้องประกอบด้วย คำสอนของศาสนา บุคลากรในศาสนา พิธีกรรม สถานที่และวัตถุสำคัญทางศาสนา

    ๔.๔ มารยาทชาวพุทธ เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคมสามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี

    ๔.๕ หลักธรรมชาวพุทธ ได้แก่
    ๑) บุญกิริยาวัตถุ  คือ การทำบุญ การทำความดีด้วยกิริยาต่าง ๆ ถือเป็นธรรมที่ส่งเสริมให้การประพฤติพรหมจรรย์มีการตั้งอยู่อย่างเป็นนิจ และให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข

    ๒) ฆราวาสธรรม คือ ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน (สัจจะ : ความซื่อสัตย์, ทมะ : การฝึกตน, ขันติ : ความอดทน, จาคะ : การบริจาค/การเสียสละ)

    ๓) อบายมุข ๖ คือ วิถีชีวิต ๖ อย่าง แห่งความโลภและความหลงที่ทำให้เกิดความเสื่อม

    ๔) ธรรมนูญชีวิต (ทิศ ๖) คือ พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม

    ๕) อกุศลกรรมบถ ๑๐

    ๔.๖ หลัก 5 D ได้แก่ (๑) เป็นลูกที่ดีของพ่อ-แม่ (๒) เป็นศิษย์ที่ดีของครู-อาจารย์ (๓) เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน (๔) เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และ (๕) เป็นสาวกที่ดีของพระศาสดา
     
    ๕. แนวทางการจัดกิจกรรม

    ๕.๑ เจริญจิตภาวนา (กราบพระเพื่อมงคลของชีวิต) ทักทายวิถีคุณธรรม
    ๕.๒ ธรรมะบรรยาย (คุณค่าแห่งวิถีพุทธ)
    ๕.๓ กิจกรรมกลุ่ม เรียนรู้การอยู่ร่วมกัน สร้างความรัก ความสามัคคี
    ๕.๔ ปลูกจิตสำนึก ในการเป็นเยาวชนที่ดี นำสิ่งที่ได้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
    ๕.๕ การเจริญจิตภาวนา (สวดมนต์/เดินจงกลม/นั่งสมาธิ)
    ๕.๖ จุดเทียนปัญญา วิถีพุทธ
    ๕.๗ ประเมิน/สรุปผลประจำวัน (เขียนบรรยายสิ่งที่ได้ในกิจกรรมที่ทำ)
    ๕.๘ บูชาครู อธิษฐานจิต เพื่อชีวิตใหม่ ขอขมาพระอาจารย์
     
    ๖. การประเมินผล

    ๖.๑ ด้านศีล  เด็ก เยาวชน มีการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ มีพฤตกรรมที่ดีขึ้น
    ๖.๒ ด้านสมาธิ  เด็ก เยาวชน มีส่วนร่วมและเอาใจใส่ต่อการทำกิจกรรม
    ๖.๓ ด้านปัญญา  เด็ก เยาวชน มีความรอบรู้และสามารถนำหลักธรรมไปพัฒนา เผยแพร่ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

    ๗. หลักธรรมประกอบการอบรม

    ๗.๑ การพัฒนาเด็ก เยาวชนตามหลักพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงการฝึกฝนพัฒนาให้สมบูรณ์ตามหลักไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ  ปัญญา  หรืออีกนัยหนึ่งคือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญาไปพร้อมกัน โดยเน้นที่การพัฒนาปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกฝนให้เกิดความรู้ในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง สามารถเข้าใจปัจจัยเหตุปัญหา และแก้ไขได้

    ๗.๒ บุญกิริยาวัตถุ  คือ การทำบุญ การทำความดีด้วยกิริยาต่าง ๆ ถือเป็นธรรมที่ส่งเสริมให้การประพฤติพรหมจรรย์มีการตั้งอยู่อย่างเป็นนิจ และให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข

    ๗.๓ ฆราวาสธรรม คือ ธรรมสำหรับผู้ครองเรือน (สัจจะ : ความซื่อสัตย์, ทมะ : การฝึกตน, ขันติ : ความอดทน, จาคะ : การบริจาค/การเสียสละ)

    ๗.๔ อบายมุข ๖ คือ วิถีชีวิต ๖ อย่าง แห่งความโลภและความหลงที่ทำให้เกิดความเสื่อม

    ๗.๕ ธรรมนูญชีวิต (ทิศ ๖) คือ พุทธจริยธรรมเพื่อขีวิตที่ดีงาม

    ๗.๖ อกุศลกรรมบถ ๑๐
     
    ๘. คุณลักษณะที่ผู้เข้าอบรมพึงได้รับ

              เด็ก เยาวชน ได้เรียนรู้และเข้าใจ ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พัฒนาให้เป็นคนเก่ง ดี มีสุข โดยมีคุณธรรม จริยธรรม คือ ขยัน หมั่นเพียร  ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย  มีความรัก ความสามัคคี มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และจรรโลงความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

    ๙. กำหนดการ

    หลักสูตร ๓ วัน ๒ คืน
    ดาวน์โหลดเอกสารหลักสูตร
  • กำหนดการ : Download (79.12 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • อบรมหลักสูตรนี้
    หลักสูตรโครงงานคุณธรรม
    คำอธิบายหลักสูตร
         
     
         


    ๑. ความสำคัญและความเป็นมาของหลักสูตรโครงงานคุณธรรม
             
              ในสภาวะปัจจุบัน นักเรียนถูกปล่อยปละละเลยจากครอบครัว ขาดการอบรม ว่ากล่าวตักเตือน สิ่งเหล่านี้ถูกมองข้ามจากทางบ้าน ทำให้มีการแสดงออกโดยไม่ถูกต้อง เมื่อมาอยู่รวมกันในสังคม ชุมชน โดยเฉพาะในโรงเรียนทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย เพราะนักเรียนแต่ละคนมาจากสภาพครอบครัวที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีการฝึกปฏิบัติ เพื่อนำเอาหลักธรรมคำสอนต่าง ๆ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ ในด้านการเรียนและการดำเนินชีวิต อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เพราะถ้านักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจในการนำหลักธรรมมาใช้ จะประสบกับปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้

              โครงงานคุณธรรม คือ การเรียนรู้ที่ไม่จำกัด องค์รวมแห่งความดี ที่ไร้ขีดจำกัด การทำความดีเชิงรุก พร้อมกับการเรียนรู้ชีวิตอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ แก่นการเรียนรู้คือ “ร่วมกันทำดี อย่างมีปัญญา”

              ดังนั้นโครงงานคุณธรรม จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกฝ่าย เพราะปัญหาต่าง ๆ ได้รับการพิจารณาและแก้ไข เด็กและเยาวชน ได้รับการปลูกฝังบ่มเพาะ ซึมซับ และเรียนรู้คุณธรรมความดีงาม เด็กและเยาวชนได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดเชิงระบบ ฝ่ายการทำโครงงานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เด็กและเยาวชนได้รับการฝึกทักษะการทำงานจริง การทำงานเป็นระบบ ความรับผิดชอบต่องาน และได้รับการฝึกทักษะจากสังคม ผ่านกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ และเมื่อโครงงานเหล่านั้นได้มีการขยายผลไปถึงการแก้ปัญหาภายในครอบครัว ชุมชน สังคม ก็จะได้รับประโยชน์สุขนั้นด้วย
     
    ๒. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    ๒.๑ เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานคุณธรรม มีการคิดวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เป็นจริงในสังคม
    ๒.๒ เพื่อให้เข้าใจในบริบทวิถีชีวิตความเป็นอยู่
    ๒.๓ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง และพัฒนา ขยาย ให้โอกาสแก่บุคคลอื่น
     
    ๓. เนื้อหาการอบรม

    ๓.๑ โครงงานคุณธรรมคืออะไร
    ๓.๒ การจัดทำโครงงาน
    ๓.๓ การสอดแทรกธรรมะ การเจริญจิตภาวนา
    ๓.๔ กิจกรรมนันทนาการ
     

    ๔. คำอธิบายสาระการอบรม

    ๔.๑ โครงงานคุณธรรม คือ การเรียนรู้ที่ไม่จำกัด องค์รวมแห่งความดี ที่ไร้ขีดจำกัด การทำความดีเชิงรุก พร้อมกับการเรียนรู้ชีวิตอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ แก่นการเรียนรู้คือ “ร่วมกันทำดี อย่างมีปัญญา”

    ๔.๒ การจัดทำโครงงาน เป็นการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นขั้นตอนและใช้ความรู้ที่ตนเองได้มาบูรณาการ

    ๔.๓ การเจริญจิตภาวนา คือ การปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจหลักธรรม เข้าใจความเป็นไปของชีวิต เพื่อให้จิตใจผ่องใส เบิกบาน แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ การสวดมนต์ การทำสมาธิ การเจริญวิปัสสนา
     
    ๕. แนวทางการจัดกิจกรรม

    ๕.๑ เจริญจิตภาวนา / กราบพระเปลี่ยนชีวิต
    ๕.๒ ทักทายวิถีคุณธรรม
    ๕.๓ พบพระ พบธรรม
    ๕.๔ กิจกรรมนันทนาการ
    ๕.๕ แบ่งกลุ่มโครงงานคุณธรรม
    ๕.๖ การสร้างความตระหนักรู้ แรงบันดาลใจ ในการเลือกประเด็นปัญหา มาคิดริเริ่ม นำมาเป็นหัวข้อในการทำโครงงาน
    ๕.๗ รวบรวมประมวลข้อมูล และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
    ๕.๘ จัดทำร่างโครงงาน
    ๕.๙ ดำเนินงานโครงงาน
    ๕.๑๐ สรุปประเมินผลและเขียนโครงการ
    ๕.๑๑ นำเสนอโครงงาน (ตลาดนัดคุณธรรม)
    ๕.๑๒ จุดเทียนปัญญา (วิถีพุทธ วิถีคุณธรรม)
    ๕.๑๓ บูชาครู วิถีคุณธรรม อธิษฐานจิต เพื่อชีวิตใหม่ ขอขมาพระอาจารย์
     
    ๖. การประเมินผล

    ๖.๑ นักเรียนมีพฤติกรรม มีการพัฒนาในด้าน ร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ดีขึ้น (ศีล)
    ๖.๒ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เอาใจใส่ จดจ่อต่อเนื่อง มีความตั้งใจ ไม่ละทิ้งในหน้าที่ (สมาธิ)
    ๖.๓ มีความรอบรู้ สามารถนำไปเผยแผ่ ขยายผล แนะนำ ประยุกต์ใช้ในประจำวัน และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข (ปัญญา)

    ๗. หลักธรรมประกอบการอบรม

    ๗.๑ อิทธิบาท ๔ คือ (๑) ฉันทะ คือ ความพอใจ (๒) วิริยะ คือ ความขยัน ความเพียร (๓) จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ ความตั้งใจ และ (๔) วิมังสา คือ พิจารณา ปรับปรุง
    ๗.๒ ขันติ โสรัจจะ คือ ความอดทนต่อความยากลำบาก
    ๗.๓ หิริโอตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป
     
    ๘. คุณลักษณะที่ผู้เข้าอบรมพึงได้รับ

    เมื่อจัดทำโครงงานคุณธรรมแล้ว  ผู้เข้าอบรมจะประกอบด้วยคุณธรรม 8 ประการ คือ
    ๘.๑ ขยัน ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจัง ต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร
    ๘.๒ ประหยัด คือผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย
    ๘.๓ ซื่อสัตย์ คือผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งหน้าที่ ตรงต่อเวลา
    ๘.๔ มีวินัย เป็นผู้ปฏิบัติในขอบเขต กฎระเบียบ
    ๘.๕ สุภาพ เป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน ตามสถานภาพและกาละเทศ ไม่ก้าวร้าวรุนแรง
    ๘.๖ สะอาด คือผู้ที่ฝึกจิตให้สะอาด ไม่ขุ่นมัว
    ๘.๗ สามัคคี คือผู้ที่เปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    ๘.๘ มีน้ำใจ คือผู้ที่มีความจริงใจต่อกัน ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตัว ควรเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

    ๙. กำหนดการ
     
    หลักสูตร ๓ วัน ๒ คืน
     
    ดาวน์โหลดเอกสารหลักสูตร
  • กำหนดการ : Download (79.67 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • : Download (4 kb)
  • อบรมหลักสูตรนี้
     
     
     
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
       
    เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
    ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
     
    สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
    ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
    โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
    Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
    โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
    อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
    โทรศัพท์: 083 305 2392 |
    เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
    พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th