ปรัชญาการเรียนรู้ที่ถูกต้องของมนุษย์ โดย รศ.ดร.เกียรติวรรณ อมาตยกุล

เอกสารนี้ นำเอาบางส่วนบางตอนของ ?เอกสารประกอบการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง ปฏิรูปการศึกษาด้วยความรัก?
โดย ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิเด็ก มาใช้
พีอาร์ ซาร์การ์ : ฉลาด เก่ง ดี และมีความสุข
พีอาร์ ซาร์การ์ นักปราชญ์ นักจิตวิทยา
พีอาร์ ซาร์การ์ นักปราชญ์ นักจิตวิทยา และนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ชาวตะวันออกผู้ก่อตั้งแนวคิด
มนุษย์นิยมแนวใหม่ หรือแนวคิดนีโอฮิวแมนสิสขึ้น พีอาร์ ซาร์การ์ มองมนุษย์ด้วยสายตาที่คล้ายกับ มาสโลว์
และโรเจอร์ส ว่ามนุษย์มี ศักยภาพแฝงเร้นที่ยิ่งใหญ่ซ่อนอยู่ในตัวด้วยกันทุกคน มนุษย์จึงมีความสำคัญ
มีคุณค่าเหนือสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น พื้นฐานจิตใจมนุษย์นั้นมีความดีงาน มีคุณค่า ใฝ่รู้ มีความต้องการภายในที่
จะพัฒนาตัวเองไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาจึงมีหน้าที่ที่จะต้องช่วยพัฒนาศักยภาพแฝงเร้นที่มีอยู่
ในตัวคนเราแต่ละคนออกมาให้ได้สูงที่สุด


การที่คนเรามีปัญหา เกิดความเฉื่อยชา ไม่อยากที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่มีความสุขและทำสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ เนื่องมาจากข้อมูลจากสภาพแวดล้อมและการอบรมสั่งสอนที่ไม่ถูกต้องที่ถูกบันทึกไว้ในจิตใต้สำนึกของคนๆ
นั้นนั่นเอง พีอาร์ ซาร์การ์ ได้อธิบายโครงสร้างทางจิตของคนเราไว้แตกต่างจากนักจิตวิทยาตะวันตกเป็นอย่างมาก


โครงสร้างทางจิตของคนเราตามแนวความคิดของ พีอาร์ ซาร์การ์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. จิตสำนึก ซึ่งประกอบไปด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า มีหน้าที่รับรู้ นึกคิดและสั่งการ
2. จิตใต้สำนึก มีหน้าที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้งห้า
3. จิตเหนือสำนึก ซึ่งเป็นแหล่งความคิดสร้างสรรค์ การหยั่งรู้เอง ความรัก ความเมตตา และความสุขที่ยิ่งใหญ่
ของมนุษย์

จิตเหนือสำนึกของมนุษย์จะทำงานเมื่อคนเราอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายอย่างล้ำลึก หรือ คลื่นสมองต่ำนั่นเอง
การศึกษาที่ถูกต้องจะต้องมีหน้าที่พัฒนาคนให้สมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน (Holistic Education) คือทั้งด้านร่างกาย
จิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก มิใช่เป็นแค่ขบวนการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาการจากผู้สอนไปสู่ผู้เรียนเพียง
อย่างเดียว เป้าหมายสูงสุดของการศึกษาในทัศนะของ พีอาร์ ซาร์การ์ จะต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้กลายเป็น
คนที่ ฉลาด เก่ง และมีความสุข การจัดการศึกษาจะต้องเป้นไปแบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางดังที่กล่าวไปตั้งแต่ตอนต้นแล้ว และมีลักษณะที่สำคัญอีกบางประการที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

การสร้างบรรยากาศให้คลื่นสมองต่ำ
นักจิตวิทยาการศึกษาในปัจจุบันได้ยอมรับแล้วว่า อารมณ์ และความรู้สึกของคนเรามีผลต่อการเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
คนเราจะมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้สูงสุดเมื่อจิตใจอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายที่สุด ปราศจากความตึงเครียด
และปราศจากความวิตกกังวล ดังที่นักจิตวิทยานีโอฮิวแมนนิสผู้มีชื่อเสียงได้กล่าวไว้ว่า ? คนเราจะเกิดการเรียนรู้ และใช้ศักยภาพของตัวเองได้สูงที่สุดเมื่อสบายใจและมีความสุข ซึ่งเราอาจจะเรียกสภาวะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนี่ว่า
?สภาวะคลื่นสมองต่ำ? ในประเทศบังกาเรียได้มีการพัฒนาการเรียนการสอนแบบใหม่ที่เรียกว่า
Suggestopedia โดยให้นักเรียนนั่งอย่างสบายที่สุด และทำจิตใจให้สบายจากากรฟังเพลงคลาสสิคเบาๆ
และวิธีที่ผู้สอนจะค่อยๆ แนะนำ ภายใต้บรรยากาศอันรื่นรมณ์ และเสียงเพลงเบาๆ ผู้สอนจะค่อยๆ บรรยายถึง
เรื่องวิชาการต่างๆ ในอารมณ์ที่เคลิบเคลิ้มนี้ นักเรียนจะสามารถจดจำสิ่งต่างๆ ที่ครูสอนได้อย่างง่ายดาย ผล
ปรากฏว่านักเรียนที่ใช้วิธีการเรียนรู้แบบ Superlearning นี้สามารถเรียนรู้บทเรียนจากหลักสูตร 1 ปี
ได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน


สมองของมนุษย์นี้ประกอบด้วยเซลล์ประสาทนับล้านๆ เซลล์ เซลล์เหล่านี้จะก่อให้เกิดกระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ซึ่งอาจเรียกได้ว่าคลื่นสมอง ซึ่งคลื่นที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะแปรผันตามสภาวะจิตใจของคนเรา เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้นำ
เครื่องวัดกระแสคลื่นของสมอง (EEG)่ ต่อกับศีรษะของมนุษย์เครื่องมือนี้จะแสดงให้เห็นกระแสคลื่นของสมองออก
มาในลักษณะของกราฟซึ่งพอแบ่งออกได้เป็นลักษณะใหญ่ๆ คือ
- คลื่นเบต้า มีความถี่ของคลื่นสมองอยู่ระหว่าง 13-40 รอบต่อวินาที เป็นลักษณะของคลื่นสมองของคนที่มีความ
เครียดสูง ในสภาวะนี้คนเราจะรับรู้ และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ช้า
- คลื่นอัลฟา มีความถี่ของคลื่นในสมองอยู่ระหว่าง 8-13 รอบต่อวินาที เป็นลักษณะของคลื่นสมองของคนที่มีจิตใจ
สงบ อารมณ์ดี ในสภาวะนี้คนเราจะมีความจำดี สามารถรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว


นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับคลื่นสมองของมนุษย์ได้ค้นพบว่ามีปัจจัยหลายๆ ประการที่มี
อิทธิพลต่อคลื่นสมองของคนเรา เช่น เสียงเพลง คนรอบข้าง อาหารที่รับประทาน การออกกำลังกาย คำพูด การฝึก
โยคะและการทำสมาธิ
ดังนั้นผู้เรียนที่ถูกจัดให้เกิดการเรียนรู้ในบรรยากาศที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดสภาวะคลื่นสมองต่ำ เช่น ได้เรียนจากผู้สอน
ที่อารมณ์ดี ยิ้มแย้ม และเป็นมิตร ได้รับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ (ลดอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์โดยเฉพาะ
สัตว์ใหญ่ๆ และอาหารรสจัด) ได้ออกกำลังกายอยู่เสมอ ได้รับการยกย่องชมเชยที่เหมาะสม ได้ฝึกโยคะและทำสมาธิ
ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ ในขณะที่ผู้สอนเปิดเพลงเบาๆ ที่จะทำให้คลื่นสมองต่ำจะเรียนรู้ข้อมูลในเรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
การสร้างภาพพจน์ด้านบวกให้กับนักเรียน


การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องในศตวรรษนี้คือ การค้นพบเกี่ยวกับเรื่องภาพพจน์ของตนเอง
(Self Concept) ภาพพจน์ของตนเอง คือ ความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเราเอง ความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึก
ที่เรามีต่อตัวเราเองโดยตรง ซึ่งอาจจะตรงหรือแตกต่างจากความรู้สึกที่คนอื่นๆ รู้สึกต่อตัวเรา เราแต่ละคน
จะมีภาพพจน์ของตัวเราเองซึ่ง อาจจะเป็นด้านบวก เช่น รู้สึกว่าตัวเองป็นคนเก่ง เป็นคนที่มีความสามารถ
เป็นคนที่เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดี มีความเชื่อมั่น ถ้าผู้สอนมีความสามารถช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
ได้ก็หมายความว่า ผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุถึงความต้องการขั้นที่สี่ (Esteem Needs)
ผลที่ตามมาก็คือ ผู้เรียนจะเป็นคนที่มีความมั่นใจในตนเอง พร้อมที่จะเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้อย่างดี สามารถ
แ ก้ไขปัญหา และทำสิ่งใดๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยตนเอง ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้เรียนมีภาพพจน์ด้านลบ
ต่อตนเอง เช่น รู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่เก่ง เป็นคนไม่มีความสามารถในการเรียนรู้ รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไม่ได้เรื่อง
ไม่มีความเชื่อมั่น เมื่อพบปัญหาใดมักจะท้อแท้ตั้งแต่แรก ไม่ต้องการที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่อยากแม้แต่
จะเข้าห้องเรียน คิดว่าไม่สามารถทำสิ่งใดให้สำเร็จได้ด้วยตัวเอง มีผู้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภาพพจน์
ของตนเองและได้ค้นพบความจริงที่น่าสนใจยิ่งว่า


- ภาพพจน์ที่คนเรามีต่อตัวเองสามารถเปลี่ยนแปลงได้
- ภาพพจน์ที่คนเรามีต่อตัวเองสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี (เป็นบวก) ขึ้น
จะทำให้คนเรามีความเชื่อมั่นสูงขึ้น กล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น พร้อมที่จะยอมรับและปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
ซึ่งจะทำให้การรับรู้และการเรียนรู้ของเรานั้นดีขึ้นไปด้วย
ครูหรือผู้สอนที่ต้องการให้ผู้เรียน มีการรับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น จึงควรคำนึงถึงความรู้สึกของผู้เรียนให้มาก และควรที่จะใช้ความพยายามอย่างมากที่จะทำให้ผู้เรียนมีภาพพจน์ด้านบวกสูงขึ้น และรู้สึกดีต่อตนเองมากขึ้น
คนเราสามารถรับข้อมูลต่างๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า โดยเฉพาะอย่างผ่านทางตาและทางหู
คุณครูหรือผู้สอนจึงควรจะเป็นคนที่มีอารมณ์ดี ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
ให้เกียรติผู้เรียนและยอมรับในตัวผู้เรียน อารมณ์ การยอมรับ การให้เกียรติผู้เรียน การเสริมความคิดด้านบวกของ
 

คุณครูนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งของการให้การศึกษาแนวใหม่ (นีโอฮิวแมนนิส)
ใช้วิธีจูงใจ ไม่ใช่การบังคับ
โดยธรรมชาติแล้วคนทุกคนที่มีภาพพจน์ด้านบวกกับตัวเองกระหายที่จะ
- ได้รับการยอมรับ
- ได้รับคำชมเชย ยกย่อง
- ได้รับความสำเร็จ
- ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- ได้รับความสนุกสนานและท้าทาย


คุณครูหรือผู้สอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว และมีความสุข นอกจากจะต้องเชี่ยวชาญในการหาวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองแล้ว ยังจะต้องรู้วิธีการ
สร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้สอนจึงมีหน้าที่โดยตรงที่จะจัดการเรียนการสอนให้
สนุกและท้าทายความสามารถของผู้เรียนส่วนใหญ่ในห้อง (ถ้าการเรียนการสอนไม่สนุก ถือว่าเป็นความ
ผิดของผู้สอน) ผู้เรียนทุกคนจะถูกกระตุ้นให้ใช้ความคิดให้มาก ผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยนำทางเป็นผู้ชี้นำ
ทางเป็นผู้ชี้ประเด็นและมุมมองที่น่าคิดให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนทุกคนจะต้องได้รับการเอาใจใส่ ได้ลงมือทำ
ได้รับคำชมเชย และรอยยิ้ม การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและการให้กำลังใจจากผู้สอนถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ
ยิ่งของการจัดการเรียนการสอนแบบ นีโอฮิวแมนนิส ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นบทบาทหน้าที่ของผู้สอน
โดยตรงที่จะทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเพื่อที่จะสอนเรื่องต่างๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจได้โดยง่าย
(ถ้าผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ ทำไม่ได้ หรือสอบไม่ผ่านถือว่าเป็นความผิดของผู้สอน)

ผู้สอนต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้เรียน
นักจิตวิทยาสมัยใหม่ได้ยอมรับแล้วว่า ประสาทสัมผัสที่มีหน้าที่รับข้อมูลต่างๆ ได้สูงที่สุดก็คือ
ตาของคนเรานั่นเอง พฤติกรรมต่างๆ ของคนรอบข้างจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆ ของคนเรา
เป็นอย่างมาก แนวคิดนีโอฮิวแมนนิสจึงมีความเชื่อว่า ?พฤติกรรมของครู คือ บทเรียนที่ดีที่สุดของ
ผู้เรียน? และไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่า ?จงเป็นอย่างที่ครูสอน แต่อย่าเป็นอย่างที่ครูเป็น?
- ผู้เรียนที่ใกล้ชิดกับครูที่มีมารยาทดี สุภาพ ก็มักจะมีมารยาทดี สุภาพ ตามไปด้วย
- ผู้เรียนที่ใกล้ชิดกับครูที่ตรงต่อเวลา ก็มักจะเป็นคนที่มีนินัยตรงต่อเวลาไปด้วย
- ผู้เรียนที่ใกล้ชิดกับครูที่มีคุณธรรม ก็มักจะกลายเป็นคนที่มีคุณธรรมไปด้วย
 

ครูหรือผู้สอนที่ต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนที่ฉลาด เก่ง ดี และมีความสุขควร
ตระหนักอยู่เสมอว่า ถ้าต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนอย่างไร ผู้สอนจะต้องพยายามทำตัวให้เป็น
คนอย่างนั้นเสียก่อน ดังที่นักการศึกษาผู้มีชื่อเสียง สจ๊วต มิลเลอร์ ได้กล่าวไว้ว่า ?ไม่มีใครสามารถ
ให้ในสิ่งที่ตนไม่มีได้? ในทัศนะของพีอาร์ ซาร์การ์แล้ว ครูมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญยิ่งในการ
ช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนที่ สมบูรณ์และมีความสุข ครูมีหน้าที่โดยตรงในการสร้างคน วิชาชีพคร
ูจึงเป็นวิชาชีพเฉพาะที่ ไม่ใช่ใครๆ ก็สามารถเป็นได้ ครูที่ดีนอกจากจะมีหน้าที่ถ่ายทอด
เนื้อหาวิชาได้ดีแล้ว ยังจะต้องมีพฤติกรรม และการแสดงออกต่างๆ ที่เป็นตัวอย่างแก่ผู้เรียน
ได้เป็นอย่างดี เช่น

มีคุณธรรม มีความตรงไปตรงมา เปิดเผย มีน้ำใจ เอื้ออารี มีความเสียสละ มีบุคลิกภาพที่สง่างาม
มีความเป็นผู้นำ และการที่ผู้เรียนได้รับการชี้แนะที่ถูกต้อง ได้เห็นตัวอย่างที่ดีงาม
พวกเขาก็จะกลายเป็นคนที่ฉลาด สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีคุณธรรม มีความรัก
มีความเอื้ออารี กล้าหาญ มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ฯลฯ และพร้อมที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีของคน
ในสังคมต่อไป

http://www.thaihypno.com/content/viewContent.php?menu_id=237&page_id=2


เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2556 | อ่าน 27166
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18644
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9871
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11210
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15297
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12168
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11181
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11124
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11679
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12966
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12206
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th