การพัฒนาองค์กรอยู่ได้เกินสองพันปีและเจริญก้าวหน้า : ตามรอยพระพุทธองค์

 

ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังจะพบว่าพระพุทธศาสนาให้คำตอบหลายประการที่เราตั้งคำถามไว้ ทั้งในเรื่องงานและชีวิต
ข้อคิดที่น่าสนใจและท้าทายนักคิดทั้งหลายอยู่ประการหนึ่งคือ ทำอย่างไรให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า และมีการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งพระพุทธศาสนาพิสูจน์ด้วยตัวอย่างจริงที่จับต้องได้จริงมากว่า 2500 ปี เราจึงควรเรียนรู้และเดินตามรอยพระบาทพระพุทธองค์ บางทีจะพบว่าแนวคิดทฤษฎีใหม่ที่เรายกขึ้นมาสมัยหลัง ๆ นี้ ล้วนเป็นของเก่าซ้ำกับที่พระพุทธองค์ได้สอนไว้นานแล้ว
ธรรมะที่พระพุทธองค์ค้นพบ มีอย่างกว้างขวางรอบด้าน ตั้งแต่ภาพรวมของ อนันตจักรวาล จนถึงความเคลื่อนไหวของวิถีจิตมนุษย์ ที่เล็กละเอียดยิ่งมากกว่าปรมาณู มิต้องพูดถึงธรรมะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชิวิตมนุษย์ พระองค์ท่านจำแนกข้อธรรมเฉพาะสำหรับพระราชา นักบวช พ่อค้าจนถึงธรรมะสำหรับปุถุชนทั่วไปอย่างละเอียดและแจ่มแจ้ง
พระองค์สอนวิธีการคิดแยกแยะการปฏิบัติธรรมเลือกตามความพอใจ ตามระดับความแก่กล้าของสติปัญญาของแต่ละคน มีทั้งวิธีคิด เครื่องมือ ปฏิบัติ อุบาย การยกภาพอุปมาอุปมัยที่เห็นภาพชัด รวมถึงทัศนคติท่าทีที่ควรมีในแต่ละสถานการณ์
ข้อธรรมในการพัฒนาองค์กรศาสนาพุทธให้ยั่งยืนและเจริญมาถึงปัจจุบันนั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญเป็นแน่ แต่เกิดขึ้นมาด้วยกลยุทธ์ ที่เยี่ยมยอดลึกซึ้งแฝงอยู่ มากมาย ผมขอสรุปด้วยภาษาการบริหารง่าย ๆ ดังนี้ คือ

1. Clear Vision and Consistent พระพุทธองค์ทรงมีพุทธวิสัยทัศน์ ที่ชัดเจน คือการรื้อขนหมู่สัตว์ ให้พ้นทุกข์ และชี้ทางพระนิพพาน ว่าเป็นทางรอดหลุดพ้น และไม่เคยเปลี่ยนแปลงพุทธวิสัยนี้ตลอดมาจนมาปัจจุบัน
2. Communication การสื่อสารพุทธวิสัยทัศน์ ให้คนในองค์กร คือในหมู่พุทธบริษัท ได้ทราบอย่างชัดเจน และพระพุทธองค์ทำหน้าที่สื่อสารตอกย้ำ สั่งสอน ให้กับกลุ่มต่าง ๆ เช่น ชาวบ้านทั่วไป พระสงฆ์ คนที่ต้องได้รับทุกข์อยู่ รวมถึงหมู่เทวดา ด้วยข้อธรรมต่างๆ ตามภูมิปัญญาของแต่ละคน พระองค์ทรงทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง 45 ปี จวบจนถึงวันปรินิพพาน
3. Committed Leader ทรงตอกย้ำ ทุมเทสั่งสอน อย่างสุดชีวิตของพระองค์ พูดง่าย ๆ ว่า ทรงเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กรมี Commitment ในระดับสูงสุด
4. Lead by example actions พระพุทธองค์เป็นผู้นำด้วยตัวอย่างจากพระองค์ เอง ด้วยวัตรปฏิบัติ การสอน วิธีคิด การเสียสละ การให้อภัย การสงเคราะห์ ผู้คน เช่น การสอนให้ภิกษุช่วยเหลือเองกันยามเจ็บป่วย
5. Tools Design ทรงออกแบบเครื่องมือ ต่างๆ ที่จะเป็นธรรมะ ตลอดจนอุบายในการช่วยฝึกปฏิบัติธรรมมากมายให้เลือกใช้ตามความพร้อมและความถนัดของแต่ละคน เช่น อริยสัจ 4 มรรค 8 โพชฌงค์7 สติปัฏฐาน 4 การฝึกกสิน 40 อสุภสัญญา 10 เป็นต้น
6. Speech repetion ที่ตอกย้ำลงลึกรากเหง้า จนถึงจิตใต้สำนึก การสวดมนตร์ ท่องบ่นข้อธรรม ต่างๆทุกค่ำเช้า อย่างขึ้นใจทุกลมหายใจเข้าออกเป็นอุบายประการหนึ่งที่จะทำให้ วิสัยทัศน์กลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ เช่น การอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆก็ทรงสอนไม่ให้หลง โดยให้ตนเองมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ
7. Alignment ไปทางเดียวกันทั้งการกระทำทางกาย การพูดด้วยวาจา และใจที่นึกคิด โดยให้พูด คิด ทำ สิ่งที่เป็นเป็นเหตุที่นำไปสู่ผลดี หรือก่อกุศลเพื่อการมุ่งมั่นสู่พระนิพพานทั้งสิ้น และไม่ทรงสรรเสริญกิจกรรมอื่นที่ทำให้เสียเวลา ขัดขวางการปฏิบัติธรรม
8. Good governance ทรงเปิดเผย โปร่งใส และสอนให้คนอื่นเป็นเช่นพระองค์ท่าน ด้วยการละ สละอย่างไม่เห็นแก่ตัว เช่นการกรานกฐิน ที่ให้นางปชาบดีโคตมีส่งมอบจีวรอันวิจิตรแด่สงฆ์หมู่ใหญ่ มากกว่าจะเน้นถวายที่พระองค์เอง
9. Open door Policy ทรงเปิดรับการเห็นคิดโต้แย้งความคิดที่แตกต่าง ความคิดที่ท้าทายทุกรูปแบบจากทุกคน แม้จะมาจากนักคิดนอกศาสนา สำนักอื่นๆ พระองค์ก็พร้อมที่จะให้โอกาสให้เข้ามาแสดงความเห็น เช่น นิครณนาฎบุตร และพระองค์ก็ได้ทรงตอบทุกคำถามแบบสิ้นสงสัย ครบถ้วนทุกกระบวนความ
10. Self reliance management ทรงสอนให้พึ่งตนเองก่อนเป็นหลัก ในการปฏิบัติธรรม การดำรงชีวิต และวิธีคิดที่เน้นจุดเริ่มต้นทำการใด ๆ ให้เริ่มต้นด้วยตนเองก่อน
11. Self sufficient เน้นการอยู่อย่างพอเพียง และเพียงพอ เน้นการดำรงชีวิตที่ไม่ฟุ้งเฟ้อ พออยู่พอเพียง ตามความจำเป็น เช่นการบัญญัติให้พระภิกษุ ใช้ เฉพาะ ของ 8 อย่างเท่านั้นในการยังชีพ การให้ถือศีลแปด งดเว้นอาหารยามวิกาลไป ซึ่งร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้มากนัก
12. Self Learning ทรงสอนให้เรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อรู้ข้อธรรมแล้วให้ปลีกวิเวกออกไป ด้วยการปฏิบัติสำหรับตนเอง แต่ก็ควรมีครูอาจารย์กำกับอยู่ห่าง ๆ
13. Social Responsibility การสงเคราะห์โลก ทรงสอนสั่งให้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันใน หมู่มิตร ครอบครัว ชุมชน และในหมู่สงฆ์เอง เช่นเมื่อสงฆ์อาพาธทรงสอนให้ดูแลกันเองและทรงทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
14. Fact based solution การแก้ไขปัญหาที่เหตุ ไม่นำอารมณ์มาตัดสินปัญหา นำข้อเท็จจริง ไม่หนีความจริง สู้กับปัญหา เช่น ทรงไม่หนีไปเมืองอื่นตามคำทูลขอของพระอานนท์ เพื่อหลบเลี่ยงการบริภาษของชาวเมือง เป็นต้น
15. Causal Analysis ทรงวิเคราะห์แยกแยะปัญหาต่าง ๆด้วยหลักเหตุ และผล โดยมีสมมติฐานว่าทุกสิ่งล้วนเกิดมาแต่เหตุ ที่ใช้กันอย่างเป็นสากลจนปัจจุบัน
16. Risk Management ทรงสอนให้คนไม่ประมาท ทรงเป็นศาสดาเพียงพระองค์เดียวในโลกที่สอนคนไม่ให้ประมาทอย่างต่อเนื่องจนถึงวันสุดท้ายก่อนปรินิพพาน
17. Change Management ทรงสอนให้ปรับความคิด พร้อมในการเปลี่ยนแปลงตามกฏไตรลักษณ์ คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และให้เราปรับความคิดเท่าทันพร้อมการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่ทุกข์ร้อนใจ โวยวาย
18. Triggle down effect ทรงสอนให้เริ่มต้นที่จุดย่อยที่หน่วยของบุคคลคือตัวเราแต่ละคน ในระดับ Micro แล้วขยายไปกลุ่มใหญ่ เพราะสังคมกลุ่มใหญ่เป็นผลมาจากการรวมกันของอณูย่อยๆของแต่ละบุคคล นี้เอง แม้การเลือกคบคนก็ให้เลือกคบคนที่จะช่วยให้เราพัฒนาขึ้นเท่านั้น
19. Think Positiive เสมอ ทรงสอนให้หยิบฉวยข้อคิดจากทุกสถานการณ์ที่ผ่านไป ให้คิดในทางบวกและปรับข้อธรรมเข้ามาเรียนรู้และเป็นบทเรียนได้อย่างเยี่ยมยอด ทรงสอนไม่ให้ดีใจมากไปเมื่อสมใจ หรือเสียใจเมื่อไม่ได้ดั่งใจ
20. ทรงสอนว่าพลังของความเมตตา ที่ช่วยบรรเทาแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยกุศลจิตที่ดีต่อกัน ทรงสอนให้เมตตาต่อกันในเบื้องต้น เมื่อท่าทีของทั้งสองฝ่ายเย็นลงแล้ว การแก้ไขปัญหา ก็จะง่ายและรวดเร็ว
21. Appropriate way การยึดทางสายกลางที่เหมาะสม พอควร ไม่ตึง หรือหย่อนไป กรณีทรงไม่อนุญาติตามพระเทวทัตที่ให้บัญญัติพระวินัยขึ้นใหม่ ช่วยให้พระพุทธศาสนามีความยืดหยุ่นและอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
22. Human Resource Development การพัฒนาคนด้วยวิธีการหลากหลาย ทรงมีระบบการสอนหลายวิธี เช่น ใช้วัสดุใกล้ตัวเป็นเครื่องมือสอน ใช้เหตุการณ์ขณะนั้นเป็นตัวสอน ใช้วิธีการท่องจำแล้วให้ไปพิจารณาเอง ใช้ซากศพเป็นครูสอน ใช้ตัวผู้เรียนเป็นห้องสมุดห้องทดลองเพื่อค้นหาความรู้จากตัวเอง เป็นต้น
23. Expertise Management ทรงใช้ระบบผู้เชื่ยวชาญ เช่น การยกย่องมหาสาวก 80 องค์ 80 สาขา ที่เป็นเลิศเด่นในด้านต่าง ๆ เช่นพระสารีบุตร เลิศด้านปัญญา พระโมคคัลลาเลิศด้านฤทธิ์ พระอุบาลี เลิศด้านพระวินัย พระอานนท์เลิศ ด้านการจดจำข้อธรรม และ พระสีวลี เลิศด้านการบำเพ็ญทานบารมี เป็นต้น
24. Student Center จำแนกคนก่อนสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เช่น การจำแนกคนที่จะบรรลุธรรม เป็น บัวสี่เหล่า หรือการจำแนกคนที่พร้อมการฝึกฝนเหมือนม้า 4 ประเภท เป็นต้น

บทสรุป
ธรรมะของพระพุทธองค์นั้นกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งนัก บทความนี้เป็นเพียงการเสนอขั้นต้นให้เห็นถึงความลึกซึงนั้น ท่านสามารถศึกษาด้วยตัวของท่านเองเป็นหลัก (โอปนยิโก -ควรน้อมมาใส่ตน) และก็จะทราบด้วยตนเอง(วิญญูฮีติ-เข้าใจได้ตามวิสัยคนทั่วไป) ปรับใช้ได้แน่นอนสำหรับแต่ละคนตามฐานานุรูป (ปัจจัตตัง-ผลเกิดกับแต่ละคนไม่เหมือนกัน) แม้ในปัจจุบัน (อกาลิโก-ใช้ได้เสมอไม่ขึ้นกับกาลเวลา)

 


 ชัยยศ ศิริรัตนบวร

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=620040

 

เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2555 | อ่าน 2957
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ธรรมะวันนี้ อื่นๆ
 
เปรต วิบากกรรมของผู้ยุยงให้คนอื่นแตกแยก
เปรต วิบากกรรมของผู้ยุยงให้คนอื่นแตกแยก พระพุทธศาสนากล่าวถึงวิบากกรรมของคนที่ชอบพูดยุยงให้คนอื่นแตกแ
30/08/2565
เปิดอ่าน 6234
 
ซื่อสัตย์
เรือลำนั้นชื่อ ซื่อสัตย์
09/10/2564
เปิดอ่าน 4207
 
"ปรุง เปลี่ยน ปรับ ขยับขยาย"
"ปรุง เปลี่ยน ปรับ ขยับขยาย" พระเทพปฎิภาณวาที (เจ้าคุณพิพิธ) วัดสุทัศนเทพวราราม เจ้าคณะเขตดุสิต กทม
13/01/2563
เปิดอ่าน 5833
 
นางฟ้าตกสวรรค์
โลกมนุษย์​ ยาวนานจริงหรือ​ อย่าประมาทในการทำความดี
06/10/2562
เปิดอ่าน 9013
 
สาธุ​ คืออะไร?
สาธุ
18/04/2562
เปิดอ่าน 5574
 
ธรรมชาติแมงป่อง
ธรรมชาติแมงป่อง
14/04/2562
เปิดอ่าน 5010
 
เต่าตาบอด
เต่าตาบอด​ 100ปี​ ยื่นคอขึ้นเหนือน้ำให้ลอดแอก​ยากยิ่งนัก
02/02/2562
เปิดอ่าน 5177
 
งูกับการสวดมนต์
งูกับการสวดมนต์
20/06/2561
เปิดอ่าน 5395
 
ลอยกระทง
ลอยกระทง เป็นประเพณีสำคัญที่ชาวไทยสืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
03/11/2560
เปิดอ่าน 6173
 
เปิดกลโกง กับคนโกง 8 จำพวกในพระไตรปิฎก
เปิดกลโกงกับคนโกง 8 จำพวกในพระไตรปิฎก ประเภทของคนโกงถูกเตือนแล้วโกรธ ไม่ใช่โกงเงินทอง แต่โกงความดี
01/11/2560
เปิดอ่าน 5666
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th