สามแนวความคิดหลักจากการศึกษาตามนัยพุทธธรรม โดยศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์

สามแนวความคิดหลัก

จากการศึกษาตามนัยพุทธธรรม

โดยศาสตราจารย์สุมน อมรวิวัฒน์

 

1. หลักการบูรณาการทางการศึกษาตามนัยแห่งพุทธธรรม

บูรณาการตามนัยแห่งพุทธธรรม หมายถึง ระบบและกระบวนการของชีวิตซึ่งครอบคลุมหลักการพัฒนามนุษย์ที่ว่าด้วยไตรสิกขาและหลักธรรมที่สำคัญในอันที่จะเป็นแนวปฏิบัติสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี มีอิสรภาพ ส่วนบูรณาการทางการศึกษาตามนัยพุทธธรรม ท่านได้สรุปความคิดรวบยอดไว้ เป็นแนวทางสำหรับการจัดระบบ หลักการ กระบวนการ และปัจจัยสนับสนุนการศึกษา โดยใช้ชีวิต วิถีชีวิต การพัฒนาชีวิตที่ดี เป็นโจทย์หลัก จึงครอบคลุมทุกมิติ ทุกแก่นสาระ ทุกพื้นฐานของสังคม บูรณาการทางการศึกษาจะเป็นการจัดองค์ประกอบกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลและเชื่อมโยง จึงมีลักษณะที่เป็นองค์รวม หล่อหลอม เกิดประโยชน์ นำไปสู่การพัฒนา เป็นความเต็มในทุกมิติ ได้แก่ เต็มศักยภาพผู้เรียน พัฒนาทั่วทั้งกาย จิต และปัญญา ... ครูสอนเต็มเวลาเต็มใจ เนื้อหาสาระสอดคล้องกลมกลืน เต็มตามที่ควรจะเป็น กระบวนการครบถ้วน เต็มที่ตามที่ควรจะทำ ผลการศึกษาเต็มสนองตอบการพัฒนาชีวิตตามวิถีทางที่ดี ถูกต้อง กลมกลืนกับความเป็นจริงของชีวิตและสังคม เป็นการศึกษาที่กระจ่างชัด แจ่มโลก ส่องชีวิต สว่างเย็น ดุจเดือนเพ็ญ

2. หลักการเรียนตามแนวพุทธศาสตร์

กระบวนการเรียนรู้ในชีวิตตามหลักพุทธศาสตร์ มีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่แท้ โดยท่านกล่าวว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง เมื่อผู้เรียนได้สัมผัส สัมพันธ์ คิดวิเคราะห์และปฏิบัติฝึกย้ำซ้ำทวนอย่างต่อเนื่อง (กล่าวคือเกิดกระบวนการเผชิญสถานการณ์) จนหยั่งรู้ซึมซับสู่ภายในจิตใจ กลั่นกรอง เกิดเป็นปัญญาของตนเอง ดังนั้นท่านจึงได้ประยุกต์แนวทางดังกล่าว เช่น การพัฒนาขันธ์ 5 และอายตนะ 6 เป็นต้น มาสู่การจัดการเรียนการสอน เรียกว่า กระบวนการซึมซับ”

สรุปหลักการพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ มีนัยสำคัญดังต่อไปนี้

ก. ความหมายของการเรียนรู้การเรียนรู้ คือ กระบวนการที่ผัสสะทั้ง 6 ของมนุษย์ได้สัมผัสสัมพันธ์สิ่งเร้า เกิดธาตุรู้ มีการกระทำโต้ตอบ ฝึกฝนอบรมตนเองหรือโดยกัลยาณมิตร จนประจักษ์ผล เกิดคุณภาวะ (ความรู้และความดี) สมรรถภาวะ (ความสามารถ) สุขภาวะ (ความผาสุก พอเหมาะพอควร) และอิสรภาวะ (พ้นจากทุกข์และความเป็นทาส)

ข. หลักการเรียนรู้ 6 หลัก

หลักที่หนึ่ง พระพุทธศาสนามองมนุษย์ทั้งในฐานะที่เป็นเอกัตบุคคลและในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมซึ่งต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นconcept72

หลักที่สอง มนุษย์เป็นเวไนยสัตว์หรือเวไนยบุคคล สามารถได้รับการสั่งสอน ฝึกฝนและอบรมบ่มนิสัยได้

หลักที่สาม มนุษย์มีภาวะทางสติปัญญามาแต่กำเนิด (สชาติกปัญญา) แม้ว่ามนุษย์จะมีความแตกต่างกัน ก็จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ (โยคปัญญา)

หลักที่สี่ พระพุทธศาสนาอธิบายหลักการเรียนรู้ของมนุษย์ว่า เกิดขึ้นในวิถีชีวิตทั้งชีวิต มีลักษณะเป็นองค์รวมของรูปกับนาม (รูป ได้แก่ กายภาพ : กาย – วาจา และนามคือ จิตภาวะ) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ไปตามความเจริญเติบโต (พัฒนาการ) ของชีวิต

หลักที่ห้า การเรียนรู้ของมนุษย์มีแกน 3 แกน คือ

1. การฝึกฝนตนเองเรื่องศีล (Self-training in morality)

2.การฝึกฝนตนเองเรื่องสมาธิ (Self-training in mentality or concentration)

3.การฝนตนเองเรื่องปัญญา (Self-training in wisdom)

หลักที่หก การพัฒนาปัญญา “จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ การเกิดปัญญา” ต้องพัฒนาโดยการแสวงหาความรู้ (สุตมยปัญญา) การฝึกฝนคิดค้น (จินตามยปัญญา) และการฝึกฝนตนเอง (ภาวนามยปัญญา)

 

ค. สรุปกระบวนการพัฒนาปัญญา ตามแนวทางพุทธศาสตร์ว่ามีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) กระบวนการพัฒนาปัญญา มีความสมบูรณ์โดยตลอด

(2) กระบวนการพัฒนาปัญญา มีลักษณะบูรณาการ

(3) กระบวนการพัฒนาปัญญา มีลักษณะพัฒนาการที่หมุนเวียนขึ้นหาจุดสูงสุด (Spiral growth)

(4) กระบวนการพัฒนาปัญญา มีลักษณะที่หยั่งรากลงลึกด้วย มิใช่พุ่งขึ้นอย่างเดียว

(5) กระบวนการพัฒนาปัญญา เป็นการสร้างแรงจูงใจและสิ่งเร้า (ศรัทธา) และการฝึกฝนตนเอง ต่อเมื่อเกิดสมาธิและปัญญาแล้ว ต้องละสิ่งเร้านั้นเสีย

(6) กระบวนการพัฒนาปัญญาตามนัยของพระพุทธศาสนา อุดมการณ์สูงสุดคือ การใช้ปัญญาปฏิบัติให้เกิดอิสรภาพอันสมบูรณ์

 

3. การเรียนรู้โดยกระบวนการซึมซับ

มนุษย์ซึมซับรับรู้จากการเผชิญสถานการณ์ บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม

(1) การรับรู้ของเด็กในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากความรู้สึกชั่วแล่นและผิวเผิน กระบวนการซึมซับจึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เผชิญสถานการณ์ต่างๆ บ่อยครั้ง เพื่อเปิดโอกาส (ให้เขาได้) พิจารณา วิเคราะห์ ไตร่ตรอง หาเหตุผลวิธีการต่างๆ ที่ทำให้ตนเองอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ดีและแก้ปัญญาอันเกิดจากสิ่งแวดล้อม

(2) ความหมายของสิ่งแวดล้อมนั้น ครอบคลุมทั้งสรรพสิ่งในธรรมชาติและมนุษย์ด้วยกันเอง concept74

ซึ่งเป็นบทเรียนหรือแบบฝึกหัดที่ยิ่งใหญ่ หากเด็กๆ ได้มีความสัมพันธ์และมีปฏิกิริยาโต้ตอบสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เขาจะเกิดการเรียนรู้ที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง จากระดับการรับรู้ สัมผัสและเข้าใจสิ่งต่างๆ (รูป – เวทนา – สัญญา) ไปสู่ระดับการคิดหลายๆ วิธี (สังขาร) ซึ่งเป็นกระบวนการซึมซับจากสถานการณ์ (ความจริงของธรรมชาติและของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน) ที่เผชิญทั้งทางวิวัฒน์และวิบัติแล้วคิดวิเคราะห์หาทางเลือก

(3) การเรียนรู้ในส่วนนี้มีความซับซ้อนจากจุดที่เกิดความสนใจ ความสงสัย และความประสงค์ที่จะ

ค้นคว้าหาคำตอบ จุดอ่อนของการสอนโดยทั่วไปนั้น มักจะเน้นให้นักเรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์ เกิดความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ อันเป็นเวทนาแล้วหยุดเพียงนั้น กระบวนการซึมซับจึง (เป็นการ) พัฒนาต่อไปจากเวทนา สู่การฝึกคุณสมบัติทางจิต ซึ่งเรียกว่า สังขาร ... เป็นกระบวนการปรุงแต่งคุณภาพทางจิต (Mental formation) หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การคิดนั่นเอง

(4) ท่านได้นำเสนอหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการตามนัยแห่งพุทธธรรมไว้อย่างง่ายๆ ดังนี้

คิดสืบค้นต้นเค้า คิดสืบสาวตลอดสาย

คิดทบทวนต้นปลาย คิดโยงสายสัมพันธ์

คิดจำแนกหมวดหมู่ คิดรู้เหตุผลมั่น

คิดประจักษ์ลักษณ์สามัญ คิดเท่าทันความจริง

คิดแบบแก้ปัญหา คิดค้นคว้าทุกสิ่ง

คิดจุดหมายอ้างอิง คิดไม่ทิ้งหลักการ

คิดทั้งคุณและโทษ คิดประโยชน์แก่นสาร

คิดทางออกเหตุการณ์ คิดประมาณผลกรรม

คิดคุณค่าที่แท้ คิดมุ่งแก้จิตต่ำ

คิดปลุกเร้าคุณธรรม คิดมุ่งนำปัจจุบัน

คิดความจริงถี่ถ้วน คิดแยกส่วนสิ่งสรรพ์

คิดสำดับสำคัญ คิดสำคัญปัจจัย

คิดจำแนกคำถาม คิดตอบตามเงื่อนไข

คิดเพื่อรู้แจ้งใจ คิดสร้างนิสัยใฝ่ดีconcept04

 

(5) เมื่อเด็กได้เผชิญสถานการณ์ (ความจริงของสิ่งแวดล้อม) และฝึกคิดปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เด็กจะซึมซับประสบการณ์ อันเป็นผลมาจากกิจกรรมนั้นๆ เกิดความเข้าใจ ความสามารถ ความคิดเห็นที่จะต้องมาจากการปฏิบัติที่เกิดผลดีและผลร้าย (คุณ – โทษ) ผลจากการเรียนรู้เช่นนี้ ทางพุทธศาสตร์เรียกว่า วิญญาณ (Consciousness) ซึ่งเป็นความรู้ที่แจ่มแจ้งชัดเจน การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับในรูป > เวทนา > สัญญา > สังขาร > วิญญาณ นี้ เรียกว่า เกิดความรู้ตามที่เป็นจริง เป็นความรู้ที่มีฐาน คือ สัมมาทิฐิและมีหลัก คือ ความไม่เห็นแก่ตัว มุ่งประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

 

http://www.roong-aroon.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=144&Itemid=168


เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2555 | อ่าน 7460
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18522
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9753
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11135
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15196
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12073
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11093
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11025
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11589
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12869
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12107
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th