ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อการเปลี่ยนแปลง

ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม และ 1 เมษายน 2553 ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และการพัฒนาคุณภาพงาน  ณ  โรงแรมลองบีช ชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรฝ่ายสนับสนุนการศึกษาและบริการที่ปฏิบัติงานสำนักงานบริการการศึกษา สำนักงานภาควิชาพยาบาลศาสตร์ และสำนักงานของแต่ละงานการพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เมื่อสิ้นสุดการอบรมผู้เข้าอบรมสามารถ 1) เข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของตนเองในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน 2) เกิดความตระหนักรู้และจุดประกายความคิดในการปรับปรุงและพัฒนางานที่รับผิดชอบ 3) วิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเห็นความเชื่อมโยงของปัญหาและแก้ไขปัญหาได้จากต้นเหตุ 4) เห็นคุณค่าของงานบริการโดยเชื่อมโยงความสำคัญที่มีต่องานส่วนอื่นๆ ขององค์กรและมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพงานบริการให้แก่ผู้รับบริการ เขียนโครงการโดยคุณพี่จุ๋ม ภคมน สัมมาเทศน์

     นอกจากนั้น ได้รับเกียรติจากกระบวนกรหลายท่าน ดังรายนามต่อไปนี้ อาจารย์เปิ้ล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กนกวรรณ กิตตินิยม จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์บิ๊ก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อิทธิโชติ จักรไพวงศ์     ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อม จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์เดียร์ ดร. ภัทรียา กิจเจริญ จากภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล   อาจารย์จุ้ย คะทาวุธ   

 

     วิธีดำเนินการอบรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกันก่อนเริ่มกิจกรรมที่ทุกคนต้องเปิดใจตัวเอง กระโดดลงเล่นกิจกรรม ปิดโทรศัพท์มือถือ ถอดหัวโขน(วางบทบาทและหน้าที่) วางตัวตนลงทุกตำแหน่ง ตรงต่อเวลา และเปิดใจรับฟังคนอื่นและให้คนอื่นได้พูดคุยแลกเปลี่ยนโดยแท้จริง ซึ่งในแต่ละกิจกรรมหากได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเราและเกิด “คุณค่าภายใน”

     ในฐานะผู้ร่วมสังเกตการณ์ขอสะท้อนความคิดของแต่ละกิจกรรมเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เช่น กิจกรรมลมหายใจแห่งความสุข และการฟังอย่างตั้งใจ ที่กระบวนกรแนะนำว่า คนเราควรปล่อยวาง กำหนดลมหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ไม่กังวล ไม่คาดหวัง สะท้อนการเรียนรู้ รับฟังแบบไม่ตัดสินใจ เปิดใจว่าแต่ละกิจกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้อะไร 

      การสื่อสารอย่างสันติ ทำให้เราเห็นคนอื่นและเห็นตัวเราเอง เป็นการทำงานเพื่อทำให้ตัวเราและคนอื่นมีความสุข เป็นการสื่อสารอย่างกรุณา ใส่ใจ ให้คุณค่า กับความต้องการของทุกคน

     การเล่าเรื่องแบบกระจกเงาเพื่อสะท้อนความคิด ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ “มีคนอื่นอยู่ในตัวเรา และมีตัวเราอยู่ในคนอื่น”

 

 

     การฟังแบบเป็นกระจกเงา จะต้องฟังให้ครบถ้วนกระบวนความ ฟังโดยไม่ตีความและตัดสินใจ ฟังโดยไม่พูดแทรก ไม่ขัดขังหวะ ฟังเสียงภายในตัวเองขณะที่พูดและขณะที่ฟังผู้อื่น ฟังแล้วสะท้อนกลับทบทวนสิ่งที่ได้ฟังกลับไปอีกครั้ง

     ส่วนทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นเทคนิคการฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจโดยไม่พูดแทรกขณะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังพูด ทำให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้งจากการฟังนั้น เห็นสีหน้า แววตา มีความสุขร่วมและเข้าใจในสิ่งที่กำลังพูดโดยไม่มีอคติหรือยึดติดกับกรอบความคิดของตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจความหมายจากการตีความคำพูดนั้น คลิกที่นี่  และ ที่นี่

      ความแตกต่างระหว่างคำ เช่น ความรู้สึก / ความคิด ความต้องการ/วิธีการ สังคมไทยจะมีความเกรงใจสูง แต่มิได้แสดงออกถึงความต้องการอย่างตรงไปตรงมา การสังเกต/ตีความและตัดสิน การขอร้อง/คำสั่ง หากสังเกตหรือตีความให้ดีแล้วจะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

 

       บันไดความสัมพันธ์ เปรียบคนเราอยู่ในสภาวะปกติที่ตัวเราอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความหมาย ตัวเราปลอดภัย ไว้วางใจ มีความผูกพันกัน เกิดแรงบันดาลใจแล้วลงมือปฏิบัติ หากตัวเราอยู่ในสภาวะปกป้อง จะทำให้เกิดความกลัว หวาดระแวง ห่างเหิน ท้อแท้และต่อต้านในที่สุด 

     “เปิดใจตัวเอง” สะท้อนความคิดความรู้สึกของผู้เข้าอบรมว่าได้เรียนรู้อะไรจากแต่ละกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและเกิดอะไรขึ้น เช่น เกิดความสามัคคี ความร่วมมือกัน มีความสุข  สนุกสนาน ปลื้มใจ เข้าใจกันมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตจริงได้ 

     คลายความเครียด รู้จักกันมากยิ่งขึ้น สร้างรอยยิ้ม น้ำตา ความทรงจำดีดี การนึกย้อนหลัง 9 ปีแห่งความทรงจำที่เป็นความทุกข์กับชีวิตปัจจุบันที่มีความสุข ประทับใจ ทำให้รู้ความต้องการของตัวเรามากขึ้น 

     จะเห็นได้ว่า ภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมทำให้ผู้เข้าอบรมได้แนวคิด วิธีการ หลักการ และแนวทางการปรับกระบวนทัศน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง 

     ขอขอบพระคุณกระบวนกรทุกท่าน ศนพร. คุณพี่จุ๋ม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ทำให้มีการจัดอบรมครั้งนี้ขึ้น และเห็นสมควรมีการจัดอบรมอีก เพื่อต่อยอดและปัดฝุ่นตัวเอง ขยายวงกว้างออกไป ทำให้เกิดความสมานสามัคคีกันภายในองค์กรเพื่อนำสู่การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนต่อไป

สุเทพ ธุระพันธ์

http://www.gotoknow.org/posts/349548

4 เมษายน 2553


เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2556 | อ่าน 3999
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18644
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9872
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11210
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15303
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12170
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11182
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11124
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11680
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12966
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12207
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th