การจัดการศึกษาไทยตามแนวพุทธศาสนา 1

การจัดการศึกษาไทยตามแนวพุทธศาสนา

หลักการ

1. ชีวิตมนุษย์เป็นเพียงภพหนึ่ง หรือช่วงหนึ่งของกระบวนการชีวิตที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาของจิต ซึ่งจิตจะผลักดันชีวิตให้ดำเนินไปตามอวิชชา > ตัณหา > กิเลส > กรรม > วิบาก > แล้วก็ย้อนไปสร้างกิเลส กรรม วิบากต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

2. ความเป็นไปแห่งชีวิตมนุษย์ ขึ้นอยู่กับการกระทำที่เกิดจากเจตนาของตัวมนุษย์เองทั้งในอดีต และปัจจุบัน (กรรมเก่ากรรมใหม่) รวมทั้งจิตที่ยังมีอวิชชา ตัณหาอยู่

3. ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ไม่มีสิ่งใดคงที่ ไม่มีอะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง ในโลกล้วนไม่มีความจริง เป็นเพียงมายาภาพที่เกิดจากจิตของมนุษย์ที่เข้าไปปรุงแต่งเท่านั้น การเข้าไปเกี่ยวข้องโดยไม่มีสติ และปัญญาดีพอ จะทำให้เกิดผลเสียหายต่อตัวเองและสังคมอย่างกว้างขวาง

4. จุดมุ่งหมายที่แท้จริงของชีวิต ควรหาทางไม่ให้มาเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆอีก คือ ตัดวงจรชีวิต หรือยุติกระบวนการสืบต่อเนื่องของจิตให้ได้

5. ชีวิตที่ถูกต้อง คือ ชีวิตที่พยายามฝึกอบรมจิตใจให้มีสติปัญญามากขึ้น จนจิตสามารถรู้เท่าทันทุกสิ่งตามความเป็นจริง ยอมรับความเป็นจริงนั้น ไม่ฝืนความจริง ฝึกทำจิตใจให้เป็นกลาง ไม่บังคับปรุงแต่งจิตให้คิดแต่เรื่องดีๆ หรือบังคับจิตให้หลบหนีความจริงที่ประสบ หรือไม่ปล่อยจิตใจให้ไหลตามอารมณ์ของกิเลส ตัณหา พยายามเฝ้าดูจิต สังเกตจิตจนเข้าใจได้ว่า ที่เรามีทุกข์ มีปัญหาก็เพราะเมื่อเวลาจิตคิดอะไร รู้สึกอะไร เรามักเข้าไปช่วยมันคิด หรือปรุงแต่ง แต่ถ้าเราไม่เข้าไปช่วยมันคิด หรือปรุงแต่ง ไม่ช้าสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต ก็จะดับไปเองในไม่ช้า

6. มนุษย์สามารถฝึกฝนสติ ปัญญาได้ด้วยตนเองจากความรู้ที่ได้รับการแนะนำจากผู้รู้ (สุตามยปัญญา) หรือจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองทุกสิ่งที่ประสบด้วยโยนิโสมนสิการ(จินตามยปัญญา) และจากการสร้างสถานการณ์ของตัวเองที่ทำให้เกิดความกลัวต่างๆ เช่น กลัวตาย กลัวชีวิตลำบาก กลัวเสียหน้า กลัวไม่มีใครยอมรับหรือยกย่อง เป็นต้น หรือเกิดความสังเวชใจ จนจิตเข้าใจและยอมรับไตรลักษณ์ได้(ภาวนามยปัญญา) ก็จะปล่อยวาง หมดทุกข์ไปตามลำดับ

7. ในการเรียนรู้ ครูอาจารย์เป็นแต่เพียงผู้แนะนำ ชี้แนะ ให้รู้คุณรู้โทษและอบรมให้รู้จักควบคุมตัวเอง ไม่ตามใจตนเอง แต่จะได้ผลมากน้อยขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติเอาจริงตั้งใจจริงของผู้นั้น

8. ในโลกนี้ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่มีคุณ มีโทษ มีดี มีชั่ว มีประโยชน์ หรือไร้ประโยชน์ ไม่มีระบบการปกครองใดดีที่สุด ไม่มีสิ่งใดดีที่สุด หรือเลวที่สุดต่อมนุษย์ ทุกอย่างอยู่ที่จิตใจของมนุษย์เองที่ไปกำหนด หรือต้องการ หรือรับรู้ ยอมรับสิ่งนั้นมันเอง (สำหรับทางโลก ตัวตัดสินสิ่งเหล่านี้ คือเป้าหมายที่มนุษย์ หรือสังคมนั้นต้องการ)

9. พุทธธรรมไม่สามารถเป็นปรัชญา หรือเป้าหมายของการศึกษาใดๆได้เพราะมีหลักการและจุดมุ่งหมายที่ไม่เหมือนกัน แต่เราสามารถประยุกต์วิธีการฝึกอบรมแบบพุทธศาสนาเข้ากับการจัดการเรียนการสอน หรือวิธีการจัดการศึกษาของเราได้

แผนภูมิการจัดการศึกษาไทยตามแนวพุทธศาสนา

กระบวนการจัดการศึกษา

พุทธศาสนา

การศึกษาไทยตามแนวพุทธศาสนา

1. ความหมายของการศึกษา

(Meaning of Education)

การพัฒนาชีวิตเพื่อฝึกจิตใจ

ให้มี “...สติ และ ปัญญา…”มากยิ่งขึ้น

การฝึกฝนพัฒนาจิตใจ ความคิดให้มีศักยภาพและสมรรถภาพในการดำรงชีวิต

2. เป้าหมายสูงสุดทางการศึกษา

(Aims of Education)

นิพพาน ชีวิตที่พ้นทุกข์หมดปัญหาไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

พื่อบูรณาการองค์ความรู้ และชีวิต

ไปใช้ให้มีความสุข ปัญหาชีวิตน้อยลง

3. แนวนโยบายพื้นฐานการศึกษา

(Education policy)

ไตรสิกขา

ฝึกจิตตั้งใจงดเว้นสิ่งที่เป็นโทษ(ศีล)

ฝึกจิตให้ตั้งมั่น, สงบ(สมาธิ)

ฝึกจิตให้พิจารณาไตรลักษณ์(ปัญญา)

เพื่อขจัดอวิชชา ตัณหา

ต้องพัฒนา :

1. ความรู้ (Cognitive Domain)

2. จริยธรรม (Affective Domain)

3. ศักยภาพ และ 4. สมรรถภาพ (Psycho -motor Domain Taxonomic System

 

4. หลักการ

(Method of Education)

ควรออกบวชใช้ชีวิตแบบภิกษุ เพื่อฝึกสติ-ปัญญาพิจารณาชีวิตตามหลักไตรลักษณ์ 3 (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) และหลักอริยสัจ4

1. ทุกข์ รู้ปัญหา รู้ทุกข์

2. สมุทัย รู้สาเหตุของปัญหา

3. นิโรธ รู้การแก้ปัญหา

4. มรรค รู้วิธีการแก้ปัญหา

1. ต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ตามศักยภาพและธรรมชาติของตัวเองด้วยตนเอง

2.ทุกสิ่งที่เรียนรู้ต้องยืดหยุ่นได้ตามความพร้อมหรือแรงจูงใจทุกเวลาและทุกสถานการณ์

3.ต้องสามารถบูรณาการทุกสิ่งรอบตัวให้เกิดการเรียนรู้ในชีวิตจริง

4. ต้องทำให้ผู้เรียนเชื่อมั่นตนเอง มีวินัยในตัวเอง

5. หลักสูตร (Curriculum)

· คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ตามแนวทาง

- โพธิปักขิยธรรม 37

- มงคล 38

- อนุปุพพีกถา

- สมถกัมมัฏฐาน 40

- วิปัสสนากัมมัฏฐาน 37

1. มีเป้าหมาย / ตัวชี้วัดที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งความรู้ ทักษะ สมรรถนะ และศักยภาพให้กับผู้เรียนอย่างชัดเจน

2.เน้นให้ผู้เรียนรักษาหรือพัฒนาสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมไทย/ท้องถิ่นตนเอง และรู้เท่าทันสังคมโลก

3. เน้นการบูรณาการ, สร้างองค์ความรู้, ผลิตผลงาน/นวัตกรรม, พัฒนาทักษะการคิด, ทักษะชีวิต,ทักษะกระบวนการเรียนรู้/การทำงาน

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492342


เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2555 | อ่าน 3912
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18526
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9758
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11138
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15199
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12074
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11094
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11027
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11592
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12872
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12108
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th