พุทธธรรม เพชรน้ำเอกในโลกพุทธศาสนา

 

พุทธธรรม

คู่มือมนุษย์ศตวรรษที่ 21

ธนภณ สมหวัง

นยุคที่อารยธรรมโลกาภิวัตน์กำลังครอบงำสังคมเช่นในปัจจุบัน ความหมายและคุณค่าของชีวิตที่แท้จริงกำลังเลือนหายไปมนุษย์ ส่วนหนึ่งกำลังสร้างชีวิตและนิยามความหมายรวมถึงคุณค่าแห่ง ชีวิตใหม่ภายใต้ฤทธานุภาพของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คงไม่มียุคไหนที่ชีวิตจะถูกท้าทายมากเท่าปัจจุบัน พุทธ ธรรม งานเขียนของ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) เป็น หนังสือที่ถือได้ว่าเป็นเพชรน้ำเอกในโลกพุทธศาสนาที่จะเชื่อม โยงภูมิปัญญาดั้งเดิมของมนุษยชาติให้กลับมามีความหมายต่อ ชีวิตในปัจจุบัน เพราะไม่ว่ามนุษย์จะเจริญก้าวหน้าไปมากน้อยเพียงใด ก็ตาม มนุษย์ก็ยังจำเป็นจะต้องตอบคำถามตนเองให้ได้ ว่า ชีวิตคืออะไร? ควรให้ชีวิตเป็นไปอย่างไร? ไม่เช่นนั้นแล้ว ชีวิตก็จะไร้ความหมายและคุณค่า โดยสิ้นเชิง! ในวาระวันครบรอบ 61 ปีของพระธรรมปิฎก 12 มกราคม จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่จะกล่าวถึงความสำคัญของหนังสือชื่อ พุทธธรรม อีกครั้ง เพชรน้ำเอกในโลกพุทธศาสนา "พุทธธรรม เป็นคำอธิบายคำสอนของพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุด ในโลก และเป็นวิชาการที่สุดในบรรดางานเขียนทางพระพุทธศาสนา ในเมืองไทยในปัจจุบันนี้…" (ศาสตราจารย์ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2535) "พุทธธรรมนั้น เป็นการรวบรวมคำสอนของพระพุทธศาสนาให้ เป็นระบบอย่างที่คนในปัจจุบันเข้าใจได้ง่ายเป็นหนังสือที่สำคัญที่ สุดในประวัติศาสตร์ของคนชาติไทยทีเดียว ในพระพุทธศาสนาด้วย ทั้งหมด และทั้งโลกด้วยหนังสือพุทธธรรมควรจะได้ Nobel Prize…" (ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี, 2538) "พุทธธรรม เป็นหนังสือเล่มเดียวที่แสดงถึงหลักธรรมในพระพุทธ ศาสนาได้อย่างลุ่มลึกเป็นระบบและรอบด้านที่สุดเท่าที่เคยมีใน ภาษาไทย" (พระไพศาล วิสาโล, 2530) จากทรรศนะของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อหนังสือ พุทธธรรมข้างบนนี้ คงไม่เป็นการเกินเลยแม้แต่น้อยหากจะกล่าว ว่า พุทธธรรมเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาที่ยอดเยี่ยมที่สุดและ เป็นเสมือนเพชรน้ำเอกในโลกพุทธศาสนาในปัจจุบัน จากพระไตรปิฎกถึงพุทธธรรม เป็นที่ทราบกันว่า ภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วได้มีการรวมรวม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างเป็นระบบครบถ้วนอยู่ในรูปแบบที่

เรียกกันว่า คัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งถือได้ว่า เป็นแหล่งที่รวมรวม คำสอนเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นแหล่งรวม รวมพุทธพจน์ ที่เป็นเสมือนตัวแทนพระพุทธเจ้า ต่อมา เมื่อมีผู้มาศึกษาหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา พระ เถระที่เป็นนักปราชญ์ก็ได้นำเอาหลักพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกมา อธิบายให้ประชาชนได้เข้าใจชัดเจนมากขึ้น สิ่งที่พระเถระได้ อธิบายและได้รับการประมวลไว้เป็นหนังสือเรียกว่า อรรถกถา และมีวรรณกรรมที่อธิบายคำสอนไขความในคัมภีร์อรรถกถาต่อ มาอีกเรียกว่า ฎีกาและ อนุฎีกา ตามลำดับ ในปี พ..2514 โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีดร.ป๋วย อึ้งภาภรณ์เป็นประธานกรรมการ ได้ตีพิมพ์งาน เขียนเรื่อง "พุทธธรรม ของ พระศรีวิสุทธิโมลี (ประยุทธ์ ปยุตโต) ซึ่งมีความยาว 206 หน้าขึ้นเป็นครั้งแรก โดยผู้เขียนได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ภาค ภาคแรกว่าด้วยหลัก มัชเฌนธรรมหรือหลักความจริงที่ เป็นกลางตามธรรมชาติ (สัจจ ธรรม) ภาคที่สองว่าด้วยเรื่องมัชฌิมา ปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติที่เป็น สายกลาง ตากฏธรรมชาติ (จริยธรรม) ได้โยงหลักพุทธธรรมเข้ากับ ปัญหาพื้นฐานของชีวิตอย่างละเอียด โดยตั้งคำถามและตอบคำถาม เกี่ยวกับ "ชีวิต" โดยเริ่มจาก ชีวิตคืออะไร? ชีวิตเป็นอย่างไร? ชีวิตเป็นไปอย่างไร? ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร? และชีวิตควร เป็นอยู่อย่างไร? หลังจากนั้นมา 11 ปีผู้นิพนธ์ได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมและ ขยายความ จนกลายเป็นพุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยาย ความและได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในโอกาสฉลองกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี นอกจากนี้ แล้ว พุทธธรรมยังได้รับการแพร่กระจายออกไปอีก เป็นจำนวนมากทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยการแยกแต่ละ บทออกไปตีพิมพ์ต่างหาก และท่านพระธรรมปิฎกได้นำไปอธิบาย ประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์และศาสตร์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก จน เป็นจำนวนหนังสือมากกว่า 200 เล่ม เช่น กรรมตามนัยพุทธ ธรรม , ประโยชน์สูงสุดของชีวิตนี้ , สัมมาสติในพุทธธรรมสมาธิ : ฐานสู่สุขภาพจิตและปัญญาหยั่งรู้ , ธรรมนูญชีวิต , พุทธจริยธรรม เพื่อชีวิตที่ดีงาม , วิธีคิดตามนับพุทธธรรม ฯลฯ เป็นต้น ส่วนภาษาอังกฤษ เช่น Good, Evil and Beyond, Dependent Origination, Samadhi in Buddhism, Sammasati : an Exposition of Right Mindfulness และหนังสือพุทธธรรม ฉบับเดิมยังได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย Dr.Grant A. Olson จัดพิมพ์เผยแพร่โดย State University of New York ในชื่อ Buddhadhamma : Natural laws and Values for Life ในปี 1995 ส่วนฉบับปรับปรุงและขยายความก็ได้รับการแปลโดย Mr.Bruce Evans และจะตีพิมพ์โดยมูลนิธิพุทธธรรมต่อไป ลักษณะสำคัญของพุทธธรรม พุทธธรรมเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาที่มีเนื้อหาลุ่มลึก หลาก หลาย หากพิจารณาถึงลักษณะสำคัญจะพบว่า มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการคือ 1. เป็นอรรถกถาร่วมสมัย ที่แสดงหลักธรรมของพระ พุทธศาสนาเถรวาทอย่างบริสุทธิ์ ซื่อตรงต่อคัมภีร์พระไตร ปิฎกเป็นอย่างยิ่ง ย่อมจะนำผู้อ่านเข้าถึงหลักพุทธธรรมที่ถูกต้อง

อย่างแท้จริงได้อย่างไม่คลาดเคลื่อน นอกจากนี้ แล้วการที่ผู้นิพนธ์ได้แสดงหลักฐานที่มาไว้มากนั้น "ก็เพื่อที่จะทำให้หนังสือนี้เป็นอิสระจากผู้เขียน และให้ผู้เขียนเอง ก็เป็นอิสระจากหนังสือด้วย" เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิตทางศาสนาเคยตั้งข้อสังเกต ว่า ในหนังสือพุทธธรรมจะไม่มีตัวตนของผู้เขียนอยู่เลย ลักษณะดัง กล่าวจึงเป็นการสะท้อนให้เห็นความตั้งใจของผู้นิพนธ์ที่ต้องการนำเสนอแต่พุทธธรรมบริสุทธิ์โดยแท้จริง 2. นำเสนอหลักการและสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา อย่างครบถ้วน รอบด้าน ครอบคลุมและเป็นระบบอย่างชัด เจน เท่าที่ระบบในปัจจุบันจะพึงมิได้ลักษณะดังกล่าวนี้จะเห็น ได้จากการนำเสนอหลักความจริงทั้งในส่วนที่เป็นสัจธรรมหรือโล กุตตรธรรม กับหลักจริยธรรมหรือโลกิยธรรม หลักองค์ประกอบแห่ง การดำรงอยู่ที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้งในส่วนที่เป็นชีวิต สังคม และ ธรรมชาติ หลักแห่งชีวิตทั้งในส่วนแห่งพฤติกรรมจิตใจ และสติปัญญา การนำเสนอดังกล่าวจึงช่วยให้เห็นองค์รวมแห่งระบบคำสอนใน พระพุทธศาสนาอย่างชัดเจน 3. เป็นมาตรฐานและเกณฑ์ของความเชื่อและการปฏิบัติ ของชาวพุทธทั่วไป ทั้งในระดับชาวบ้านและพระภิกษุ รวมทั้ง การขจัดความคลุมเครือสับสน เข้าใจผิดในหลักพุทธธรรม ตลอด จนพื้นฟูสาระสำคัญบางอย่างของพระพุทธศาสนาที่ถูกละเลย และ สูญหายไป เช่น ความเข้าในในเรื่องกรรม สันโดษ อุเบกขา วาสนา การปฏิบัติธรรม ความเชื่อในเรื่องนรก สวรรค์ นิพพาน ความสำคัญของสงฆ์และสถาบันสงฆ์ การศึกษารวมทั้งมิติ ทางสังคมของพระพุทธศาสนาเป็นต้น

คัดจาก มติชนสุขสรรค์หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ ๑๑มกราคม พ..๒๕๔๓

พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ  เป็นไฟล์ pdf นะครับ

หรือ
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/buddhadhamma_revised_and_expanded_edition.pdf

หรือ

http://download448.mediafire.com/ecay9wpj5tdg/rmtnnmyjjf3/พุทธธรรมPDF.rar

หรือ

http://www.mediafire.com/?rmtnnmyjjf3

หรือ
http://www.4shared.com/document/_HSXDuib/_online.html


เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2556 | อ่าน 6369
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18531
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9766
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11142
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15201
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12077
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11098
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11030
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11594
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12876
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12117
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th