พระธรรมโกศาจารย์ ขึ้น รองสมเด็จฯ “พระพรหมบัณฑิต”

ถ้าจะให้วิเคราะห์ตามเนื้อผ้าชั้นธรรมที่อาวุโสสุดคือ พระธรรมกิตติวงศ์ วัดราชโอรสาราม กทม. เพราะได้ชั้นธรรมตั้งแต่ปี 2535 อดีตเคยเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม แต่ถูกถอดถอน ส่วนอีกรูปก็น่าสนใจคือ พระธรรมกิตติมุนี วัดเฉลิมพระเกียรติ นนทบุรี ได้ชั้นธรรมตั้งแต่ปี 2542 และ พระธรรมเจดีย์ วัดกัลยาณมิตร กทม.ได้ชั้นธรรมตั้งแต่ปี 2546
แต่สุดท้ายก็มาจบที่ พระธรรมโกศาจารย์ วัดประยูรวงศาวาส กทม. ซึ่งท่านได้ชั้นธรรมตั้งแต่ปี 2548
ส่งผลให้วงการสงฆ์ซีกมหาจุฬาฯ (มจร.) ได้เฮ โผแบเบอร์ สดใสไร้คู่แข่ง! ดันพระธรรมโกศาจารย์ขึ้นแท่น "รองสมเด็จ" ชื่อใหม่ "พระพรหมบัณฑิต" เปิดใหม่ ซิงๆ สื่อหลายฉบับพาดหัวข่าว "เตรียมเลื่อนสมณศักดิ์พระธรรมโกศาจารย์"
จากที่ผ่านมาชาว มจร. ลุ้นกันตัวโก่งขอให้เลื่อนในปีนี้นะครับ อย่าเลื่อนไปปีหน้า ฮา ! แต่ความจริงแล้วก็ไม่มีอะไรหรอก เหตุผลที่เจ้าคุณประยูรได้รองสมเด็จฯปีนี้ก็คือ "ไม่มีตัวแล้ว"
เนื่องเพราะความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะเจ้าคุณประยูร ได้เป็นกรรมการเถรสมาคม ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ควรจะได้เป็น "รองสมเด็จฯ" ไปโดยปริยาย เพื่อความเหมาะสมในด้านการปกครองที่ปัจจุบันต้องยอมรับว่าเข้มข้น เนื่องเพราะเจ้าคุณประยูร เป็นพระนักวิชาการ และเป็นถึงอธิการบดี มจร. ที่เพียบพร้อมทั้งวัยวุฒิ และคุณวุฒิอย่างแท้จริง!!!
ส่วนวัดปากน้ำก็เข็นเอา "เจ้าคุณสุชาติ" ขึ้นรองสมเด็จฯไปก่อนหน้าเจ้าคุณประยูรแล้ว ซึ่งท่านสอบได้ ป.ธ.9 เป็นเณรนาคหลวงปีเดียวกัน แต่ตั้งตัดหน้าให้มีอาวุโสด้านสมณศักดิ์แก่กว่าตั้ง 1 ปี ยังไงก็ต้องได้สมเด็จฯ ก่อนเพื่อน

เหลือเพียงพระธรรมเจดีย์ "เจ้าคุณประกอบ" วัดกัลยาณมิตรองค์เดียว ที่ไปไม่ถึงดวงดาว เพราะเจ้านายคือ สมเด็จวัดชนะมรณภาพละสังขารไปเสียก่อน ย่อมขาดเสาหลักที่พึ่งใหญ่ แต่ถึงกระไรก็ตามอีกไม่นานย่อมถึงคิวของท่านอย่างแน่นอน

โดยเมื่อวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร มีการประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมครั้งนี้ ได้มีการพิจารณารายชื่อพระเถรานุเถระ ที่จะเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ ประจำปี 2555 สำหรับในปีนี้มีตำแหน่งชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายมหานิกาย ว่างจำนวน 1 ตำแหน่ง ซึ่งพระเถรานุเถระที่ได้รับการพิจารณาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะฯ ได้แก่ พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม โดยรองสมเด็จพระราชาคณะฯรูปใหม่ คาดว่าจะมีราชทินนามว่า “พระพรหมบัณฑิต” ทั้งนี้ ไม่มีพิจารณาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ เนื่องจากโควตาเต็มจำนวนทั้งของมหานิกายและธรรมยุต
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
มีนามเดิมว่า ประยูร มีฤกษ์ เป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498 มีความรู้ความสามารถอย่างสูงในทางพุทธปรัชญา และทางพระพุทธศาสนา ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2509 ขณะที่อายุได้ 11 ปี ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ท่านสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในปีเดียวกันนั้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาเล่าเรียนและพัฒนาความรู้ทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถได้รับปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) พ.ศ. 2521 สอบได้ประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส (Diploma in French) จากมหาวิทยาลัยเดลี เมื่อ พ.ศ. 2527 และสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาเอก (Ph. D.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเดลี เมื่อ พ.ศ. 2528
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นผู้มีเกียรติคุณความสามารถทั้งทางด้านวิชาการ และทางด้านงานบริหารอย่างโดดเด่นท่านหนึ่งของสังคมไทย บทบาทสำคัญในทางวิชาการของท่านมีอยู่มากมาย เช่น

- เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- เป็นอาจารย์พิเศษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
- เป็นประธานอำนวยการดำเนินการรายการธรรมะทางวิทยุเพื่อการศึกษา
- เป็นประธานคณะบรรณาธิการพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- เป็นประธานจัดการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธ เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา แห่งโลก ครั้งที่ ๒ ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 9-11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543

: ประวัติการทำงาน

* พ.ศ. 2528 เป็นอาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์
* พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2532 เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ
* พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2536 เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
* พ.ศ. 2533 - พ.ศ. 2535 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
* พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2540 เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
* พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน เป็นอธิการบดี

: ลำดับสมณศักดิ์
* พ.ศ. 2532 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธีธรรมาภรณ์
* พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวรมุนี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
* พ.ศ. 2542 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโสภณ วิมลปริยัติกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
* พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
* พ.ศ. 2555 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ฝ่ายมหานิกาย ที่ พระพรหมบัณฑิต

: ตำแหน่งทางคณะสงฆ์
* เจ้าคณะภาค 2 รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์ 3 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และ จังหวัดสระบุรี
* เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
* เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)

: ตำแหน่งทางวิชาการ
* พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาวิชาปรัชญา ของ มจร.
* เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552 ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอัคฆวิทยา พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) นับว่าเป็นพระเถรานุเถระรูปที่ 2 ของประเทศไทย ที่ได้รับตำแหน่งดังกล่าว ก่อนหน้านี้ท่านเจ้าประคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาศาสนศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2549 ทั้งนี้ ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คือ ผู้ทรงเกียรติคุณในวิชาประเภทใดประเภทหนึ่ง ซึ่งที่ประชุมร่วมกันของราชบัณฑิตทุกสำนักเห็นชอบ ก่อนนำเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

ผลงานทางวิชาการ มีผลงานทางวิชาการ งานวิจัย เป็นที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้ง ผลงานวิชาการยังได้รับการอ้างอิงในวารสาร ตำรา รวมทั้งหนังสือที่เชื่อถือได้ในวงวิชาการ และมีการนำผลงานทางวิชาการ ไปใช้ประโยชน์จนเป็นที่ยอมรับในสาขาปรัชญา ผลงานวิชาการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง อาทิ วิมุตติมรรค ปรัชญากรีกบ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก A Buddhist Approach to Peace Buddhist Morality เป็นต้น 
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) นับว่าเป็นศาสตราจารย์ สายวิชาการคนแรกของประเทศไทยที่มาจากคณะสงฆ์ ที่ผ่านมามีพระสงฆ์ที่ได้เป็นศาสตราจารย์ แต่เป็น ศาสตราจารย์พิเศษ คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวสกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม
ปัจจุบัน ท่านปฏิบัติงานอยู่ที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ และพำนักจำพรรษาที่ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600

***************************************
เรื่องโดย  : บก.ไก่ วีรพล
เรียบเรียงโดย : เต้ มงคลพระ


เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2555 | อ่าน 8127
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน แวดวงวิถีพุทธ อื่นๆ
 
ประกาศผลการคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำรุ่นที่13
ประกาศคัดเลือกโรงเรียนวิถีพุทธชั้นนำรุ่น 13 ปี2565
12/09/2565
เปิดอ่าน 17479
 
กิจกรรมวิถีพุทธ "ค่ายพุทธบุตร"
09/01/2567
เปิดอ่าน 946
 
ถวายเทียนร.รบ้านต้นโตนด/วสมเด้จหลวงพ่อทวด
29/07/2566
เปิดอ่าน 4567
 
ถวายเทียนโรงเรียนวัดบุพนิมิต
29/07/2566
เปิดอ่าน 4640
 
ถวายเทียนโรงเรียนบ้านนาเกตุ
29/07/2566
เปิดอ่าน 4515
 
ถวายเทียนโรงเรียนวัดอรัญวาสิการาม
29/07/2566
เปิดอ่าน 4492
 
ถวายเทียนวัดบันลือคชาวาส
29/07/2566
เปิดอ่าน 4477
 
ถวายเทียนโรงเรียนวัดภมรคติวัน
29/07/2566
เปิดอ่าน 4131
 
ถวายเทียนพรรษาโรงเรียนวัดทรายขาว
29/07/2566
เปิดอ่าน 4072
 
ถวายเทียนโรงเรียนบ้านปลักปรือ
29/07/2566
เปิดอ่าน 4102
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th