หลักชาวพุทธ : ภูมิธรรมขั้นพื้นฐานเพื่อพัฒนาการแห่งชีวิตและสังคม

หลักชาวพุทธ

ภูมิธรรมขั้นพื้นฐาน
เพื่อพัฒนาการแห่งชีวิตและสังคม

- -

ปัจจุบันนี้ ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไม่มีทั้งความรู้ และ
การปฏิบัติของชาวพุทธ สภาพเช่นนี้เป็นเหมือนเมฆหมอกที่บดบังแสงสว่างและความงามแห่งคุณค่าของพระพุทธศาสนา นอกจากตัวบุคคลนั้น
จะไม่เจริญงอกงามในธรรมแล้ว สังคมก็สูญเสียประโยชน์มากมายที่พึงได้จากพระพุทธศาสนา จึงเป็นปัญหาร้ายแรงที่ควรตื่นตัวขึ้นมาเร่งแก้ไข
คำว่า “ชาวพุทธ” มิใช่เป็นถ้อยคำที่พึงเรียกขานกันอย่างเลื่อนลอย บุคคลที่จะเรียกได้ว่าเป็น “ชาวพุทธ” จะต้องมีหลักการ มีคุณสมบัติ
ประจำตัว และมีมาตรฐานความประพฤติ ที่รองรับ ยืนยัน และแสดงออกถึงความเป็นชาวพุทธนั้น
หลักการ และปฏิบัติการ ที่เรียกว่า “หลักชาวพุทธ” ดังต่อไปนี้ เป็นภูมิธรรมขั้นพื้นฐานของชาวพุทธ
ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักการ และดำเนินตามปฏิบัติการนี้ นอกจากเป็นชาวพุทธสมแก่นามแล้ว จะมีชีวิตที่พัฒนาก้าวหน้างอกงาม และช่วยให้
สังคมเจริญมั่นคงดํารงอยู่ในสันติสุข เป็นผู้สืบต่อวิถีชาวพุทธไว้ พร้อมทั้งรักษาธรรมและความเกษมศานต์ให้แก่โลก
“หลักชาวพุทธ” อันพึงถือเป็นบรรทัดฐาน มีดังต่อไปนี้
หลักการ และปฏิบัติการ ที่เรียกว่า “หลักชาวพุทธ” ดังต่อไปนี้ เป็นภูมิธรรมขั้นพื้นฐานของชาวพุทธ
หลักชาวพุทธ
๑. หลักการ
๑. ฝึกแล้วคือเลิศมนุษย์: ข้าฯ มั่นใจว่า มนุษย์จะประเสริฐเลิศสุด แม้กระทั่งเป็นพุทธะได้ เพราะฝึกตนด้วยสิกขา คือการศึกษา
. ใฝ่พุทธคุณเป็นสรณะ: ข้าฯ จะฝึกตนให้มีปัญญา มีความบริสุทธิ์ และมีเมตตากรุณา ตามอย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
. ถือธรรมะเป็นใหญ่: ข้าฯ ถือธรรม คือความจริง ความถูกต้องดีงาม เป็นใหญ่ เป็นเกณฑ์ตัดสิน
. สร้างสังคมให้เยี่ยงสังฆะ: ข้าฯ จะสร้างสังคมตั้งแต่ในบ้าน ให้มีสามัคคี เป็นที่มาเกื้อกูลร่วมกันสร้างสรรค์
. สำเร็จด้วยกระทำกรรมดี: ข้าฯ จะสร้างความสำเร็จด้วยการกระทำที่ดีงามของตน โดยพากเพียรอย่างไม่ประมาท
 
๒. ปฏิบัติการ
  ข้าฯ จะนำชีวิต และร่วมนำสังคมประเทศชาติ ไปสู่ความดีงาม และความสุขความเจริญ ด้วยการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

  ก).มีศีลวัตรประจำตน
  ๑. บูชาบูชนีย์: มีปกติกราบไหว้ แสดงความเคารพ ต่อพระรัตนตรัย
บิดามารดา ครูอาจารย์ และบุคคลที่ควรเคารพ
. มีศีลห่างอบาย: สมาทานเบญจศีล
ให้เป็นนิจศีลคือหลักความประพฤติประจำตัว
ไม่มืดมัวด้วยอบายมุข
  ๓. สาธยายพุทธมนต์: สวดสาธยายพุทธวจนะหรือบทสวดมนต์
โดยเข้าใจความหมายอย่างน้อย ก่อนนอนทุกวัน
๔. ฝึกฝนจิตด้วยภาวนา: ทำจิตใจให้สงบ ผ่องใส เจริญสมาธิ อันค้ำจุนสติที่ตื่นตัว หนุนปัญญาที่รู้ทั่วชัดเท่าทัน และอธิษฐาน จิตเพื่อจุดหมายที่เป็นกุศล วันละ ๕–๑๐ นาทีี
  ข).เจริญกุศลเนืองนิตย์
  ๕. ทำกิจวัตรวันพระ: บำเพ็ญกิจวัตรวันพระ ด้วยการตักบาตร
หรือแผ่เมตตา ฟังธรรม หรืออ่านหนังสือธรรม โดยบุคคลที่บ้าน
ที่วัด ที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน ร่วมกัน ประมาณ ๑๕ นาที
๖. พร้อมสละแบ่งปัน: เก็บออมเงิน และแบ่งมาบำเพ็ญทาน เพื่อบรรเทาทุกข์ เพื่อบูชาคุณ เพื่อสนับสนุนกรรมดี อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
  ๗. หมั่นทำคุณประโยชน์: เพิ่มพูนบุญกรรม บำเพ็ญประโยชน์
อุทิศแด่พระรัตนตรัย มารดาบิดา ครูอาจารย์ และท่านผู้เป็น
บุพการีของสังคมแต่อดีตสืบมา อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
๘. ได้ปราโมทย์ด้วยไปวัด: ไปวัดชมอารามที่รื่นรมย์ และไปร่วมกิจกรรม ทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสำคัญของครอบครัว
  ค).ทำชีวิตให้งามประณีต
  ๙. กินอยู่พอดี: ฝึกความรู้จักประมาณในการบริโภคด้วยปัญญา
ให้กินอยู่พอดี
๑๐. มีชีวิตงดงาม: ปฏิบัติกิจส่วนตน ดูแลของใช้ของตนเอง และทำงานของชีวิต ด้วยตนเอง ทำได้ ทำเป็น อย่างงดงาม
น่าภูมิใจ
  ๑๑. ไม่ตามใจจนหลง: ชมรายการบันเทิงวันละไม่เกินกำหนดที่ตกลงกันในบ้าน ไม่มัวสำเริงสำราญปล่อยตัวให้เหลิงหลงไหลไปตามกระแสสิ่งล่อเร้าชวนละเลิง
และมีวันปลอดการบันเทิง อย่างน้อยเดือนละ ๑ วัน
๑๒. มีองค์พระครองใจ: มีสิ่งที่บูชาไว้สักการะประจำตัว เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัย และตั้งมั่นอยู่ในหลักชาวพุทธ
ด้วยการปฏิบัติ ๓ หมวด ๑๒ ข้อนี้ ข้าพเจ้าเป็นชาวพุทธแท้จริง ที่มั่นใจว่า จะสามารถรักษาธรรมไว้ และร่วมนำโลกไปสู่สันติสุข
บุคคลที่ถือปฏิบัติตาม “หลักชาวพุทธ” ดังกล่าวมานี้ เป็นผู้มีภูมิธรรมพื้นฐานของชาวพุทธ จึงเป็นชาวพุทธที่แท้จริง สมกับชื่อที่เรียกขาน
แรกที่สุด พอเด็กเกิดมา ลืมตาดูโลก การศึกษาก็เริ่ม ลูกจะเห็นโลกและมองโลกอย่างไรก็อยู่ที่พระพรหม คือพ่อแม่ จะชี้แสดงชักนำให้ การศึกษาเดินหน้าไป ดังนั้น ถ้าจะให้แน่จริงและมั่นใจที่สุด การปฏิบัติตามหลักชาวพุทธจึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่ที่บ้าน โดยการนำของบูรพาจารย์ คือคุณพ่อคุณแม่ ที่แน่แท้ว่าเป็นครูคนแรกของลูก
เมื่อเด็กมาเข้าโรงเรียน คือเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษา ถือว่าเป็นจุดกำหนดในการแสดงความเป็นผู้ศึกษาให้ปรากฏชัดเจนออกมา เท่ากับบอกแจ้งว่าจะตั้งต้นเล่าเรียนศึกษาอย่างจริงจัง ให้สมนามที่เรียกว่าเป็น “นักเรียน”
ในขณะที่เริ่มแสดงความเป็นนักเรียนนั้น เด็กก็ควรได้โอกาสที่จะเริ่มแสดงความเป็นชาวพุทธของตนให้ปรากฏชัดออกมาด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อให้กระบวนการของการศึกษาทุกส่วนประสานเกื้อกูลและกลมกลืนกัน ดำเนินไปอย่างครบองค์ สมที่จะเรียกว่าเป็นไตรสิกขา
มื่อเด็กมีภูมิธรรมพื้นฐานของชาวพุทธ ด้วยการถือปฏิบัติตามหลักชาวพุทธข้างต้นนี้ ความเป็น “ชาวพุทธ” ของเด็กก็จะเริ่มปรากฏชัดเจนออกมา เป็นนิมิตหมายว่าชีวิตของเธอจะงอกงามก้าวหน้าไปในพัฒนาการแห่งการศึกษา ดุจดวงอาทิตย์ที่อุทัยแล้ว ก็จะขึ้นสูงเด่นงามสง่าทอแสงเจิดจ้าให้ความสว่างและพลังอันอำนวยความสัมฤทธิ์สมหวังและความรุ่งเรืองทุกประการ

อุทัยแห่งชีวิตการศึกษาของเด็ก ก็หมายถึงอุทัยแห่งปวงความหวังของครอบครัว ของสังคม และของมนุษยชาติทั้งมวล อันเป็นหลัก ประกันให้มั่นใจว่า มนุษย์ที่ได้พัฒนาดีแล้วนี้ จะสามารถรักษาธรรมไว้ และนำโลกไปสู่สันติสุขได้ อย่างแน่นอน

 

ข้อมูล: หลักชาวพุทธ (ชุดเพิ่มหัวข้อย่อ ถ้อยคำคล้องจอง)
             โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)


เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2556 | อ่าน 9454
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18531
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9767
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11145
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15204
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12077
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11099
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11032
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11595
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12879
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12123
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th