“การศึกษาแนวพุทธปัญญา” โดย พระธรรมโกศาจารย์(ประยูร ธมฺมจิตโต)

สรุปคำบรรยาย

เรื่อง “การศึกษาแนวพุทธปัญญา”

โดย พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต)

ในการประชุมปฏิบัติการการจัดการการศึกษารูปแบบใหม่

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2546 ณ โรงแรมแกรนด์ เดอ วิลล์ วังบูรพา กรุงเทพมหานคร

--------------------------------------------

การดำเนินการจัดการศึกษาแนวพุทธปัญญามีผู้ให้ความคิดเห็นไว้มากมาย ซึ่งในเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายว่า จะให้ทุกจังหวัดดำเนินการ แต่ระยะแรกควรจัดนำร่องก่อน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากจุดเริ่มต้น คือ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นผู้เสนอในการประชุมที่สถาบันราชภัฏสวนดุสิตว่า ต้องการให้มีโรงเรียนที่เน้นด้านพุทธศาสนา ให้มีโรงเรียนต้นแบบที่ดี มีนักบวชที่ดีเข้ามาสอน เช่น พระสงฆ์ แม่ชี ทำให้มีต้นแบบที่ดี จุดเน้นคือครูต้นแบบที่ดีจะต้องมี 3 อย่าง คือ สอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น ถ้าครูทำไม่ได้ การสอนคุณธรรม จริยธรรมก็ไม่ได้ผล เราต้องการครูต้นแบบเช่นนี้ เราจะเห็นได้จากอิทธิพลของการอยู่ร่วมกันในสำนักของพระสงฆ์ชื่อดัง ก็เป็นอิทธิพลของครูอาจารย์ที่มีแนวสอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เราต้องมาวิเคราะห์ว่า ปัจจุบัน เราขาดตรงไหนแล้วเติมให้เต็ม ขอให้มีกรอบ มีแนวความคิด ไตรสิกขาอยู่ตรงไหนในกรอบนี้แล้ว ต้นแบบอยู่ตรงไหนในกรอบ ความประสงค์ในวันนี้ต้องการบรรยากาศสอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เห็น

กรอบความคิด

ในการดำเนินการตามแนวทางโรงเรียนวิถีพุทธจะต้องประกอบด้วย ปัญญาวุฒิธรรม 4 ดังต่อไปนี้

ปัญญาวุฒิธรรม 4

1. สัปปุริสสังเสวะ หมายถึง การอยู่ใกล้คนดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ครู อาจารย์ดี มีข้อมูล สื่อที่ดี

2. ธรรมสวนะ หมายถึง หลักสูตรการเรียนการสอนที่ดี

3. โยนิโสมนสิการ หมายถึง มีความสามารถคิด วิเคราะห์ข้อมูลได้

4. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หมายถึง เมื่อมีความรู้ได้มีการเรียนจากหลักสูตรที่ดี สามารถคิด วิเคราะห์และต้องนำไปใช้ในวิถีชีวิตได้

ดังนั้น หากมีการศึกษาครบ 4 ข้อ คือ เป็นการจัดการศึกษาแนวพุทธปัญญา

จากที่กล่าวมา สิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นไปเพื่อพัฒนาศีล ระเบียบ วินัย นวัตกรรม ถ้าเป็นวิถีชีวิตก็จะเป็นวัฒนธรรมจากวัตถุและจิตใจ

ระบบศีล จริยธรรม คือ ระบบการมีชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย เน้นการมีความสุขโดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยไม่มีสิ่งฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย มีแต่ระบบธรรมชาติ เช่น พระที่มาบวชที่วัดป่านานาชาติของหลวงพ่อชา เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีจุดรวมคือสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย สำนักสงฆ์ใน ต่างประเทศได้เอาแนวคิดของหลวงพ่อชาไปขยายทั่วโลก เป็นแนวทางของสำนักที่ไม่เหมือนที่อื่น เพราะเริ่มจากศีล เคร่งครัดเรื่องระเบียบ วินัยอย่างมาก เช่น ต้องเคารพครู อาจารย์ ต้องเอาน้ำ ไปล้างเท้าอาจารย์ ตอนแรกฝรั่งที่มาบวชก็มีความทุกข์มาก เพราะยอมรับไม่ได้ แต่ต่อมาก็รับได้และได้มากราบเท้าหลวงพ่อชา อย่างไรก็ตามสำนักต่าง ๆ ที่ไปตั้งในต่างประเทศได้เสื่อมสลายไปเพราะสังคมไม่สงบ ไม่มีกติกา ไม่มีความสุข ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งกติกา เกิดความสงบ สมาธิก็เกิด ไม่ใช่ เป็นการฝืนใจ แต่เป็นการฝึกใจ เพราะการฝึกใจมี 2 วิธี คือ

1. ฝึกจากภายในสู่ภายนอก ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำเช่นนี้ได้คือ พระอรหันต์ เมื่อฟังเทศน์แล้วเกิดปัญญาและเกิดศีล คือ สติ

2. ฝึกจากภายนอกสู่ภายใน ต้องมีการควบคุมให้เกิดสติหรือศีล เมื่อเกิดสติก็จะเกิดสมาธิในจิตใจ เมื่อจิตสงบและมีความสุขก็จะมีสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิคือปัญญาเช่นเดียวกับทหารที่ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาโดยสายเลือด เพียงแต่ทหารไม่ได้พัฒนาจิตใจอย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง ดังนั้น ต้องคำนึงว่าสมาธิต้องไปสู่ปัญญา และต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน การพัฒนาจิตใจเริ่มจากศีลและมีปัญญาตามมา ศีลมีไว้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้มีสมาธิ เด็กจะต้องเรียนอย่างมีความสุข ซึ่งในความเป็นจริงระเบียบ วินัยเป็นไปเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะเรียน ให้เด็กรู้ว่าการอยู่กับธรรมชาติเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้ว อย่าให้เด็กต้องเป็นทุกข์เพราะไม่มีสิ่งนั้นสิ่งนี้ เช่น ของฟุ่มเฟือย โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ซึ่งโรงเรียนในประเทศไทยจะต้องคิดว่าในการดำเนินการเช่นนี้จะต้องทำอย่างไร เพราะจะปิดกั้นเด็กหรือแยกส่วนจากสังคมที่ฟุ่มเฟือยไม่ได้

ในการวิเคราะห์หรือโยนิโสมนสิการเป็นการสอนให้คิด แนะนำให้เด็กรู้จักคิด กลั่นกรองว่าอะไรคือคุณค่าแท้หรือคุณค่าเทียม ดังนั้นเด็กจะต้องเรียนแบบไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา เราจะต้านกระแสโภชนานิยมได้อย่างไร และทำอย่างไรไม่ให้ดูถูกวัฒนธรรมไทย และให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยไม่ดีหรือไม่เชย สังคมไทยเราต้องคิดให้หนักว่าจะทำอย่างไร เรามีต้นแบบมากมายที่จะต้องให้ศึกษา เช่น พวกอามิส ประเทศไอร์แลนด์ สิ่งที่ทำให้เขาอยู่ได้คือเขาอยู่บนรากฐานวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ดูถูกภูมิปัญญาท้องถิ่น ในสังคมของพวกอามิสเป็นวิถีคริสต์โบราณ เขาอยู่ได้อย่างมีความสุขเพราะเขาไม่รับวัฒนธรรมของอเมริกา ความสุขเกิดจากกัลยาณมิตร ความเอื้ออาทร ปฏิสัมพันธ์ ถ้าจะสรุปความคิดของ ดร.ชัยอนันต์ พูดถึงสังคมไทยกลุ่มใหญ่ คือ แบ่งฐานออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น สังคมด้อยโอกาส สังคมพอเพียง คือสังคมพึ่งพากัน รวมกันเป็นสหกรณ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เกิดได้ก็เพราะความสามัคคี แท้ที่จริงในสังคมของเด็กก็จะมีกลุ่มเพื่อน (Peer group) จะทำ

อย่างไรจะส่งเสริมให้เพื่อนเป็นกัลยาณมิตรของเขา พวกอามิสอยู่ได้เพราะระบบลงแขก ร่วมมือกันระหว่างเพื่อนบ้านเป็นความสัมพันธ์ในชนบท ในส่วนของโรงเรียนจะสามารถร่วมมือกันเช่นนี้ได้หรือไม่ เช่น ให้ครูสอนข้ามวิชา ข้ามโรงเรียน ไม่ควรผูกมัดอยู่กับโรงเรียนในสังกัดของตัวเองเท่านั้น

โรงเรียนในอุดมคติตามกรอบความคิด

1. มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีกติกา มีระเบียบวินัย

2. มีบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย

3. สอนให้คิด ปุจฉา วิสัชนา วิเคราะห์เป็นในลักษณะ อยากขอให้มีโรงเรียนต้นแบบ

4. ให้มีเป้าหมายในการดำเนินการ

วิชาพุทธศาสนาจะทำให้คนเป็นคนดี มีความรู้อย่างไม่โดดเดี่ยว คือ ในโรงเรียนพุทธปัญญาก็อาจมีเด็กเก่งภาษาอังกฤษได้ พุทธปัญญามี 2 ด้าน โรงเรียนทั่วไปสอนให้เด็กมีตาข้างเดียว คือ มีความสำเร็จในทางโลกแต่แก้ไขปัญญาชีวิตไม่ได้ ซึ่งเกิดจากขาดความรู้ปัญญาในทางธรรม บางคนมีปัญญาทางธรรมก็เอาตัวไม่รอด ดังนั้น ต้องมีปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม ดังเช่นท่านพุทธทาสเคยยกตัวอย่างว่า เวลาไถนาต้องมีวัว 2 ตัว ต้องมีวัวตัวรู้และวัวตัวแรง วัวตัวรู้เป็นวัวแก่แต่รู้งาน วัวตัวแรงเป็นวัวรุ่นที่มีกำลังจึงจะสมดุล หากใช้วัวตัวรู้ไถนาเพียงอย่างเดียวก็จะทำงานได้ช้า แต่ถ้าใช้วัวตัวแรงเพียงอย่างเดียวก็จะไถนาไปไม่มีทิศทาง

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าต้องมีจักษุทั้งสองข้าง การจัดการศึกษาเช่นนี้เป็นต้นแบบที่ ทั่วโลกเอาเป็นตัวอย่าง อยากทำตาม เราจะทำทีเดียวไม่ได้ ต้องมีโรงเรียนพุทธปัญญานำร่อง


เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2555 | อ่าน 4945
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18522
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9753
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11135
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15196
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12073
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11093
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 11025
 
ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔)
02/06/2558
เปิดอ่าน 11589
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12869
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12107
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th