“โครงการ มหกรรมลานโพธิ์ ตอนงานวัดลอยฟ้า ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้”
(temple in the cloud)
ของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
-
ชื่อโครงการ หรือชุดโครงการ
มหกรรมลานโพธิ์ ตอนงานวัดลอยฟ้า ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้
ของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
-
ความเป็นมา หลักการและเหตุผล
ในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นวาระสำคัญอย่างยิ่งของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย จะมีการเฉลิมฉลองสัมพุทธชยันตี ครบวาระ ๒๖๐๐ ปีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ร่วมกับธรรมภาคีทุกภาคส่วน มาร่วมกันนำเสนอแนวคิดและหลักสูตรในการนำเอาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นำเสนอ ชักชวนต่อประชาชนในวงกว้าง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้นำเอามานึกคิด ไตร่ตรอง เพื่อเกิดการคิดดีและทำถูกตามแนวทางพุทธธรรม เข้าสู่แนวทางความสุขที่แท้จริง ที่พระองค์ท่านมาถ่ายทอดให้ชาวโลกได้นำไปศึกษาปฏิบัติ
ความเป็นมา พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรม
-
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็นปีครบรอบ ๒๖๐๐ ปีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วทรงเมตตาสั่งสอนเผยแผ่อีก ๔๕ ปีจึงปรินิพพาน แล้วจึงเริ่มนับพุทธศักราช โดยฝ่ายอินเดีย ลังกา นับปีปรินิพพานเป็น พ.ศ.๑ ในขณะที่ข้างฝ่ายไทยและประเทศในแถบนี้นับเป็น พ.ศ.๑ เมื่อครบรอบปี
-
ในลังกามีการเฉลิมฉลองเมื่อวิสาขบูชาปีที่แล้ว อินเดียเริ่มฉลองตั้งแต่ปีที่แล้วต่อเนื่องมาถึงปีนี้ เรียกกันทั่วไปว่า พุทธชยันตี หมายถึงการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีต่อความทุกข์ อันหมายถึงกิเลส มาร สิ่งไม่ดีงามทั้งปวง
-
พระมหาเถระทั้งหลาย อาทิ สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้ชี้แนะว่าควรที่ชาวพุทธและชาวไทยจะได้ร่วมกันเฉลิมฉลองด้วยการช่วยกันเผยแผ่และส่งเสริมการเรียนรู้และน้อมนำหลักธรรมของพระพุทธองค์มาปฏิบัติเพื่อการชนะอย่างพุทธะ คือผู้รู้ ผู้ตื่น และ เบิกบาน ด้วยการเจริญใน ทาน ศีล สมาธิ และ ภาวนา ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น
ขบวนการและภาคีขับเคลื่อนในประเทศไทย
-
มหาเถรสมาคมได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ เสนอให้รัฐบาลดำเนินการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ประกอบด้วย กิจกรรมด้านการปฏิบัติบูชา ด้านวิชาการ และ ด้านกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม โดยคณะสงฆ์จะเน้นกิจกรรมด้านวิชาการ ซึ่งได้ร่วมกับองค์การสหประชาชาติจัดงานวิสาขบูชาโลกที่มีผู้แทนชาวพุทธจากทั่วทั้งโลกเข้าร่วมหลายพันคน ในระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม – ๒ มิถุนายน ที่พุทธมณฑล หอประชุมสหประชาชาติ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วังน้อย)
-
ภาคีเครือข่ายพุทธศาสนิกชน ตลอดจนผู้สนใจได้มีการดำริและเตรียมการอย่างกว้างขวางหลากหลาย เฉพาะอย่างยิ่งงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา ที่ท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤษภาคม – ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จในวันที่ ๓๐
-
รัฐบาลออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ตกลงให้สนับสนุนงานของคณะสงฆ์ และ งานที่ท้องสนามหลวง รวมทั้งงานเวียนเทียนที่พุทธมณฑล โดยจะมีการวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์กลางพุทธศาสนาโลกที่พุทธมณฑลด้วย นอกนั้น ให้ราชการ และ เอกชนพิจารณาจัดงานด้วยการเจียดจ่ายจากงบประมาณประจำและจัดหากันเอง
แนวทางของโครงการ
มหกรรมลานโพธิ์จัดขึ้นในใจกลางเมือง ให้เป็นการชุมนุมขององค์กรทางพุทธศาสนา ได้มีโอกาสนำเสนอกิจกรรมและหลักสูตรเพื่อให้คนได้ฝึกฝนพัฒนาตัวเอง (Self Cultivation) ที่รูปแบบที่หลากหลายทั้งแบบพื้นฐานและแบบผสมผสาน
โดยมีการกุศโลบายการนำเสนอ ให้มีการหักมุม โดนใจคนในสังคมสมัยใหม่ โดยนำการละเล่นในงานวัดที่เป็นไสยศาสตร์เก่าๆ ที่คนคุ้นชิน เช่นเสี่ยงเซียมซี บ้านผีสิง สาวน้อยตกน้ำ ยาดอง มาผลิกหักมุมอย่างเหนือความคาดหมาย ให้มีเนื้อหาเข้าหาธรรมะ และสะท้อนชีวิตใหม่ที่ใกล้ตัวของคนในสังคมบริโภคนิยมในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ขัดแย้ง ยั่วให้คิด แต่ไม่เคร่งเครียด แต่ให้ประชาชนได้คิด เห็นปัญหาใกล้ตัวว่ามาจากการยึดติดกับตัวกู ของกูที่พระท่านได้สอนไว้ จะเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการฝึกตนตามหลักธรรม
และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงาน จะได้มีโอกาสพิจารณาหลักสูตรหลายหลายแบบ ที่องค์กรพุทธต่างๆ นำมาเสนอ ค้นหา พิจารณา ตามแต่จริตและปัจจัยของแต่ละคน เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิต ครอบครัว และสังคม ให้มีชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างแท้จริง
โดยได้ชักชวนองค์กรต่างๆทุกภาคส่วน มาร่วมแรงร่วมใจ ตามกำลังและความชำนาญ เข้าเป็นภาคีร่วมจัดในลักษณะเหมือนกฐินสามัคคี สามารถพัฒนาให้เกิดเป็นรูปแบบที่นำไปจัดได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรชาวพุทธได้มีพื้นที่แสดงผลงาน และช่องทางชักชวนประชาชนให้เข้าสู่การปฏิบัติธรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้การร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจในพระธรรม นำไปใช้เป็นหลักนำชีวิต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล มีความยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังการจัดมหกรรมลานโพธิ์นี้นำไปสู่พัฒนาความร่วมมืออื่นๆ ขององค์กรทุกภาคส่วน ให้เป็นเครือข่ายธรรมภาคีเพื่อสังคม ที่มีทิศทางและเป้าหมายใหญ่เดียวกัน มีความร่วมมือพึ่งพากันตามสมควร โดยมีการดำเนินงานเป็นอิสระ เพื่อให้มีแรงขับดันสังคมได้อย่างมีพลัง มีความคล่องตัวแต่มีระบบ
3. วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
๑.ประสานภาคีเครือข่ายองค์กรเข้าเป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญและกำลังศรัทธา
๒.ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปได้ฝึกตนให้เป็นคนดี มีความสุข ตามแนวทางพุทธธรรม
๓.พัฒนาและทดลองนวัตกรรมใหม่ๆ ในการทำกิจกรรม การส่งเสริมการศึกษา ปฏิบัติและเผยแผ่ธรรมในรูปแบบลักษณะที่น่าสนใจและทันสมัย ให้เข้ากับวิธีชีวิตของคนที่เปลี่ยนไป
พื้นที่เป้าหมาย
-
พื้นที่ใจกลางเมืองบริเวณสยามแสควร์ / พื้นที่รอบกรุงเทพมหานครที่รถไฟฟ้าไปถึง
กลุ่มเป้าหมาย
๑. ผู้ร่วมกิจกรรม:
-
เป้าหมายหลัก- ประชาชนทั่วไปอายุระหว่าง ๒๕-๕๐ ปีที่ยังไม่ได้ใช้พุทธธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต: เห็นความสำคัญของศีลธรรมพอสมควร แต่ยังไม่ได้นำเอาธรรมะ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง
-
เป้าหมายรอง- คนทั่วไปที่สนใจธรรมะอยู่แล้ว เคยศึกษา และปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง
๒. องค์กรภาคีร่วมจัด
-
หน่วยงานรัฐและเอกชนขนาดใหญ่ ในการเป็นภาคีเข้าร่วมและสนับสนุน
-
วัด คณะสงฆ์ และองค์กรชาวพุทธ ในการนำเสนอหลักสูตรและนวัตกรรม ในการปฏิบัติ การเจริญสติ การฝึกอบรมที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่สนใจเข้าร่วม
-
กลุ่มโรงเรียน มหาวิทยาลัย สื่อสารมวลชน และสำนักพิมพ์ ในการนำเสนอแนวทางและเนื้อ ทั้งด้านวิชาการ และด้านสันทนาการ ในการปลูกฝังแนวคิดด้านพุทธธรรม และศีลธรรม ให้แก่เด็กและเยาวชน แนะนำ แนะแนวทางให้แก่ประชาชนที่ต้องการให้ลูกเติบโตไปเป็นคนดี และครอบครัวมีความสุข
-
กลุ่มอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญ ทั้งเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือกลุ่มบุคคล ที่เสียสละเวลาและรายได้ เข้ามารับผิดชอบ เสริมในด้านต่างๆที่เป็นอาชีพ หรือความถนัดของตน ช่วยพัฒนางาน เพื่อให้ได้งานให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และมีคุณภาพพอที่จะชักจูงคนรุ่นใหม่
ตัวชี้วัด
-
ปริมาณผู้ชมงาน: มีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดมากกว่า ๘๐,๐๐๐ คน และผู้รับชมผ่านสื่อสารมวลชนในรูปแบบต่างๆ ไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐,๐๐๐ คน
-
เป้าหมายหลัก- ๔๐,๐๐๐ คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐,๐๐๐ คนต่อวัน
-
เป้าหมายรอง- ๔๐,๐๐๐ คน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ ๑๐,๐๐๐ คนต่อวัน
-
ทัศนคติของผู้ชมงาน : ทำให้ผู้ชมงานเห็นประโยชน์ของธรรมะในการใช้ชีวิตประจำวัน เพิ่มขึ้น ไม่ต่ำกว่า ๖๐%
-
จำนวนองค์กรร่วมจัด
-
หน่วยงานรัฐและเอกชนขนาดใหญ่ ไม่ต่ำกว่า ๘ องค์กร
-
วัด คณะสงฆ์ และองค์กรชาวพุทธ ไม่ต่ำกว่า ๘๐ องค์กร
-
กลุ่มโรงเรียน มหาวิทยาลัย สื่อสารมวลชน และสำนักพิมพ์ ไม่ต่ำกว่า ๖๐ องค์กร
-
กลุ่มอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่า ๒๐ กลุ่ม
-
ระยะเวลาของโครงการ
-
ระยะเวลาเตรียมการ : เดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕
-
ระยะเวลาจัดมหกรรม : วันที่ ๑๗ – ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕
-
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการนายสันติ โอภาสปกรณ์กิจ
คณะทำงานเจ้าหน้าที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, อาสาสมัครและธรรมภาคีของหอจดหมายเหตุฯ
ภาคีหลักหรือองค์กรสนับสนุนอื่น ๆ
-
ภาคีร่วมจัดกิจกรรมทางธรรม :
วัด ศาสนสถาน สถานปฏิบัติธรรม ฯ / กลุ่ม องค์กร คณะบุคคลต่าง ๆ
-
ภาคีร่วมจัดภาคีกิจกรรม ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรม :
เครืออมรินทร์ / เครือเดอะเนชั่น / บริษัท Playworkจำกัด / บริษัท Kathi Studioจำกัด / บริษัท EitS Solution จำกัด / คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม / วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
-
ภาคีสนับสนุน
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ / สำนักนายกรัฐมนตรี / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) / กระทรวงวัฒนธรรม / ธนาคารไทยพาณิชย์ / เครือซิเมนต์ไทย / กรุงเทพมหานคร / การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย / มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช / อินทัชกรุ๊ป / บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) / บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
-
แผนดำเนินงาน
แนวงาน ประกอบด้วย ๕ ส่วนสำคัญ
ผ่าน ๔ โซนใหญ่ลานโพธิ์ ลานธรรม ศาลาราย และ มหาวิหาร
๑. แสดงนวัตกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน พร้อมการแสดงผลงาน หนังสือและสื่อธรรมในยุคไซเบอร์ของภาคีองค์กรชาวพุทธทั้งหลาย
-
การนำเอาการละเล่นในงานวัด การละเล่นในงานวัดที่เป็นไสยศาสตร์เก่าๆ ที่คนคุ้นชิน เช่นเสี่ยงเซียมซี บ้านผีสิง สาวน้อยตกน้ำ ยาดอง มาหักมุมให้เป็นธรรมะ และสะท้อนชีวิตใหม่ที่ใกล้ตัวของคนในสังคมบริโภคนิยมในปัจจุบัน เช่นการเสี่ยงเซียมซีตอบโจทย์ โดยเลือกปัญหาที่อยากหาคำตอบ แต่แทนที่จะเป็นคำทำนายตามดวงแบบไสยศาสตร์ กลับได้เป็นได้เป็นหลักธรรม คำสอนของคณาจารย์รูปต่างๆ เป็นต้น
-
จัดซุ้มแสดงผลงาน หนังสือและสื่อธรรม เพื่อเผยแผ่พระธรรมของพระพุทธองค์ ด้านองค์กรเครือข่ายธรรมะ สถานปฏิบัติธรรม หนังสือ เว็บไซต์ ทีวีธรรมะ และ สื่อต่าง ๆ ฯลฯ
-
ร่วมกิจกรรม การแสดงธรรม การอภิปราย เสวนาอย่างหลากหลาย ของครูบาอาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สื่อ ศิลปิน นักคิดค้นคว้าและนักปฏิบัติ ตลอดจนคนรุ่นใหม่ที่สนใจและแสวงหา
เพื่อการเรียนรู้และสักการบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และ พระสังฆคุณ ๕ นิทรรศการสำคัญ ๑-พระพุทธประวัติสุดประเสริฐ ๒-ทรงตรัสรู้อะไร ๓-ถึงไทยและอุษาคเนย์ ๔-จอมเจดีย์สี่ภาค ๕-อัครศาสนูปถัมภก และ ๖-สาวกสืบสาน
-
เรียนรู้และนมัสการพระพุทธเจ้าผ่านนิทรรศการพระพุทธประวัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผ่าน ๖ ช่วงสำคัญแห่งชีวิตของพระพุทธองค์ตั้งแต่ประสูติ เจริญเติบโตและเสาะแสวงหาความรู้ ออกบวช พากเพียรปฏิบัติ ตรัสรู้บรรลุธรรม เมตตาเผยแผ่แก่พหูชน ดับขันธปรินิพพาน ในมหาวิหารลอยฟ้า รอยัลพารากอนฮอลล์
-
เรียนรู้ข้อธรรมสำคัญในนิทรรศการชุด “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ? ”
-
สักการบูชาพระมหาธาตุเจดีย์องค์สำคัญพร้อมพระพุทธรูปองค์สำคัญและหลักฐานจารึกรอยพระธรรม กับหุ่นขี้ผึ้งครูบาอาจารย์รูปสำคัญจาก ๔ ภาค
ภาค
|
พระธาตุ
|
พระพุทธรูป
|
พระธรรม
|
พระสงฆ์สุปฏิปันโน
|
เหนือ
|
พระธาตุหริภุญชัย
|
พระพุทธชินราช
|
ปฏิจจสมุปบาท
|
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
|
อีสาน
|
พระธาตุพนม
|
หลวงพ่อพระใส
|
............
|
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
|
กลาง
|
พระปฐมเจดีย์
|
หลวงพ่อพระพุทธโสธร
|
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
|
สมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต พรหมรังสี)
วัดระฆัง
|
ใต้
|
พระบรมธาตุเมืองนคร
|
พระพุทธสิหิงค์
|
เยธัมมา ฯ
|
หลวงพ่อทวด
|
๒. เพื่อการทำบุญและให้ทาน
-
ร่วมทำบุญใส่บาตรพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี ๔ วัน ที่ลานด้านหน้าสยามพารากอน บนสกายวอล์ค และ สถานีรถไฟ บีทีเอส. จากบริเวณศูนย์การค้าสยาม ถึง ราชประสงค์
-
ร่วมสมทบทุนทำบุญสร้างทำหนังสือและสื่อธรรมสำคัญ เพื่อถวายวัด มอบแก่โรงเรียน สถาบันสถานศึกษา และ โรงแรมสถานที่พักแรมทั่วประเทศไทย ประกอบด้วย
-
“หนังสือสวดมนต์ ๙ คาถาสำคัญ”ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเมื่อ ๒๖๐๐ ปีที่แล้ว จนมีผู้บรรลุธรรมเป็นอริยสาวกผู้นำพระพุทธศาสนาออกเผยแผ่มาถึงทุกวันนี้
-
หนังสือ “พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย”โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) และหนังสือแนะนำ “ตามรอยพุทธธรรม”สำหรับผู้เริ่มศึกษา
-
หนังสือ WHAT BUDDHA TEACH ? พระพุทธเจ้าสอนอะไร ?สำหรับวางในสถานพักแรมทั่วประเทศไทย ของ สำนักงานทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ฯลฯ
๓. เพื่อการถือศีล ทำสมาธิ เรียนรู้ภาวนา เจริญสติและปัญญา
-
ร่วมรับและถือศีล ๕ ศีล ๘ต้อนรับวันวิสาขบูชา ๒๕๕๕ ครบ ๒๖๐๐ ปี พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่ามกลางดวงแก้วอันประเสริฐทั้ง ๓ : พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
-
ร่วม “สวดมนต์ ๙ คาถาสำคัญ ๒๖๐๐ ปี”ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงจนมีผู้บรรลุธรรมทันทีมาแล้ว
-
ร่วมเป็น หนึ่งใน ๒,๖๐๐ คน ทำสมาธิเจริญจิตภาวนาหมู่ประจำแต่ละวัน กับครูบาอาจารย์จากทั่วประเทศไทย
-
ร่วมเป็น หนึ่งใน ๒๖,๐๐๐ คน ในโครงการ “ทำมะ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตื่น ๒๖ วัน เปลี่ยนชีวิต”กับ ธรรมภาคีและเครือข่าย สสส.
-
ร่วมฟังพระธรรมเทศนาประดับสติปัญญาจากครูบาอาจารย์จากทั่วประเทศไทย
๔. เพื่อนำเสนอกิจกรรมธรรมบันเทิง ดนตรี เพลง ละคร ภาพยนตร์ทั้งหลาย
-
มหกรรมการแสดงดนตรีและเพลงเพื่อธรรมะของนานาวงดนตรี ศิลปิน นักร้องต่าง ๆ จากทั่วประเทศ
-
มหกรรมการแสดงละคร การละเล่นเพื่อธรรมะของนานานักแสดง ศิลปินต่าง ๆ จากทั่วประเทศ
-
มหกรรม ๒,๖๐๐ คลิปมือถือ“สงบ ท่ามกลางความวุ่นวาย”
-
ตัวอย่างภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์พุทธปัญญานานาชาติ
-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-
ประชาชนเปลี่ยนทัศนคติ
-
ประชาชนเข้าปฏิบัติธรรมมากขึ้น
-
ประชาชนสนับสนุนองค์กรพุทธมากขึ้น
-
มีกลุ่มคนรวมกันไปเป็นอาสาสมัคร เข้าร่วมกับองค์กรพุทธต่างๆมากขึ้น ช่วยนำเสนอหลักสูตรและกิจกรรมใหม่ๆ
-
สื่อสารมวลชนติดตามข่าวเสนอมากขึ้น เปิดพื้นที่ในสื่อให้กับงานด้านพุทธธรรมมากขึ้น
-
องค์กรที่เข้าร่วมโครงการเห็นประโยชน์ในธรรม นำไปส่งเสริมให้พนักงานในแต่ละองค์กร ให้เข้าร่วมในหลักสูตรเจริญสติ หรือ จัดให้มีการฝึกอบรมในด้านการเจริญสติและการนำหลักธรรมเข้ามาใช้ในการพัฒนาตน ให้มีความพอใจและมีความสุขในงานและในชีวิต
-
องค์กรพุทธฯ มีการนำเสนอหลักสูตรการเจริญสติ และการประยุกต์ใช้พุทธธรรมมากขึ้น มีคุณภาพ มีระบบการจัดการ มีการวัดผลมากขึ้น มีความหลากหลายทั้งในด้านวิธีการ และความเข้มข้น
-
แต่ละองค์กรพุทธ มีการพัฒนาหลักสูตรการเจริญสติให้กับคนกลุ่มที่ยังมีศรัทธาไม่มาก หรือปรับหลักสูตรให้เหมาะกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป มีพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
-
ชาวพุทธเกิดศรัทธา รวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นองค์กร มีการร่วมมือระหว่างกัน สร้างเครือข่ายในการผลักดันให้การฝึกตนตามแนวพุทธธรรม เป็นที่นิยมของประชาชน
-
ภาคีร่วมงาน เห็นความสำคัญในการงานชุมนุมการเสนอผลงานและหลักสูตรขององค์กรพุทธ ร่วมกันจัดให้มีมหกรรมอย่างนี้เกิดขึ้นสม่ำเสมอทุกปี
เขียนเมื่อ
3 พฤษภาคม 2555 | อ่าน
3440
เขียนโดย
โรงเรียนบ้านลานคา