ปฏิญญากรุงเทพฯ ๒๕๕๘

เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๒ ผู้แทน ๓๔ ประเทศได้เสนอต่อที่ประชุมสมัชชา สหประชาชาติให้วันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนพฤษภาคม เป็นวันสำคัญสากลของโลก และขอให้มีการจัดงานฉลองที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และสำนักงานประจำ ภูมิภาคต่างๆ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับรองตามนั้น (ในสมัยที่ ๕๔ วาระที่ ๑๗๔) ดังนั้น วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยความร่วมมือของชาวพุทธทุกนิกาย

เพื่ออนุวัตรตามมติที่ประชุมสหประชาชาติ พวกเราจาก ๘๕ ประเทศและภูมิภาค จึงได้มาร่วมกันฉลองวันประสูติ วันตรัสรู้ วันดับขันธปรินิพพาน ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ดังเช่นหลายปีที่ผ่านมา งานฉลองจัดโดยมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาลไทย ภายใต้ ความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมแห่งประเทศไทย ในช่วงที่มีงานฉลองวิสาขบูชานี้ พวกเรา ได้มาร่วมกันพิจารณาตามหัวข้อการประชุมว่าด้วยเรื่อง “พระพุทธศาสนากับวิกฤติของโลก” อันเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกันระหว่างองค์กร และปัจเจกบุคคล ต่างๆ จากพระพุทธศาสนาทุกนิกาย เมื่อเสร็จสิ้นงานฉลองและงานประชุม ที่ประสบ ผลสำเร็จของพวกเราแล้ว พวกเราได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ดังต่อไปนี้

๑. จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๒. จัดทำสหบรรณานุกรมทางพระพุทธศาสนา ระยะที่ ๑ ที่จะเชื่อมบรรณานุกรม พระไตรปิฎกทุกฉบับเข้าด้วยกันด้วยระบบออนไลน์ รวมทั้งจัดทำเว็บไซท์บรรณานุกรม ที่ใช้ เทคนิคชั้นสูง สำหรับพระไตรปิฎกมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั้งฉบับบาลีและฉบับแปล เป็นภาษาไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

๓. เพื่อแก้ไขวิกฤติของโลกทุกรูปแบบ กระตุ้นเตือนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (ก) ใส่ใจ ต่อหลักปฏิจจสมุปบาท ที่เกี่ยวกับการอิงอาศัยกันระหว่างสรรพสัตว์กับสรรพสัตว์ และกับ สิ่งแวดล้อม (ข) ส่งเสริมให้มองโลกในแง่ดีว่า เราสามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยอาศัย ปัญญาและกรุณา

๔. กระตุ้นเตือนปัจเจกชนทุกคน โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ให้ส่งเสริมการพัฒนาสตรี ทั่วโลก

๕. กระตุ้นเตือนให้หน่วยงานรัฐบาลและองค์การนอกภาครัฐทั้งหมด ลงทุนด้านการศึกษา ให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการส่งเสริมการศึกษาเจริญสติ ความหลากหลายด้านศาสนา คุณค่าทาง จริยธรรมและการพัฒนาจิตใจ ให้แก่เยาวชนและสังคมส่วนรวม เช่น ส่งเสริมโครงการ หมู่บ้านรักษาศีลห้าในประเทศไทย

๖. ส่งเสริมการการพัฒนาจิตใจส่วนบุคคลและการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง ในระดับสังคม เศรษฐกิจ กฎหมายและการเมือง โดยอาศัยการใช้ชีวิตเรียบง่าย มีหลักจริยธรรมที่ดีงาม เพื่อจะสร้างชุมชนมีสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาแบบยั่งยืน ที่ใส่ใจถึงภาวะโลกร้อน และ ความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อม เพื่อเกื้อหนุนให้เพื่อนมนุษย์อยู่ร่วมโลกกันได้ โดยไม่เอารัด เอาเปรียบกัน กระตุ้นเตือนให้ประชาคมโลกส่งเสริมการตระหนักรู้เรื่องการอิงอาศัยกัน ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

๗. เรียกร้องให้มีความพยายามในการบรรเทาทุกข์ สำหรับภัยธรรมชาติและภัยแล้งต่างๆ เช่น ที่เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาลเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งชุมชนชาวพุทธทั่วโลกได้ให้การช่วยเหลือ และกระตุ้นเตือนให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันระดมทรัพยากรมาปฏิบัติการ ช่วยเหลือบรรเทา ทุกข์ด้วยความกรุณา

๘. กระตุ้นเตือนให้รัฐบาลและภาคประชาชนในประชาคมอาเซียน พร้อมทั้งประเทศเพื่อน บ้านหาทางแก้ไขสถานการณ์ที่ล่อแหลมและระบบนิเวศที่เปราะบางในลุ่มแม่น้ำโขง

๙. สนับสนุนผู้นำชาวพุทธดำเนินการพบปะแลกเปลี่ยนกับศาสนาอื่นให้มากยิ่งขึ้น เพื่อ ส่งเสริมความเข้าใจ ความปรองดอง ความเคารพ การสร้างสันติภาพ และความสามัคคี เพื่อ สร้างสังคมที่เป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น ภายในประชาคมอาเซียนและประเทศอื่นๆ

๑๐. เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม เช่น ยาเสพติดให้โทษ การใช้ความรุนแรงต่อคนกลุ่มน้อย และการ ใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ให้ใช้หลักการที่มีอยู่ในนิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนา เช่น การเจริญสติ กรุณา ปัญญา ความรับผิดชอบต่อตนเอง ความเคารพต่อชีวิตและผู้คนทั้งหมด โดยไม่มีการแบ่งแยกเพราะสถานะทางสังคมและเพศ ยกตัวอย่างเช่น การสอนสติปัฏฐาน เพื่อแก้ไข พฤติกรรมของนักโทษ

เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2558 | อ่าน 11543
เขียนโดย admin

       
 
 
  อ่าน ความรู้คู่คุณธรรม อื่นๆ
 
หลักชาวพุทธ 12 ประการ
ปัจจุบัน ปัญหาสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏชัดในสังคม คือการที่คนมากมายเป็นชาวพุทธกันเพียงในนาม โดยไ
27/01/2559
เปิดอ่าน 18461
 
ระเทศไทยจัดวิสาขโลก ครั้งที่ 15 เชิดชูกษัตริย์นักพัฒนา
16/10/2560
เปิดอ่าน 9703
 
วิปัสสนาเบื้องต้น
30/03/2560
เปิดอ่าน 11093
 
จิตวิทยาการแนะแนวเชิงพุทธ : แนวคิด หลักการและแนวปฏิบัติ
21/03/2559
เปิดอ่าน 15152
 
แด่ ยุวชน
แด่ยุวชน....สามสิ่งที่เธอต้องเรียนรู้และฝึกฝนสามประการแรก คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ผสมผสานเข้าไปในชีวิ
27/01/2559
เปิดอ่าน 12033
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาโท สาขาจิตวิทยาการศึกาาและการแนะแนว รุ่นที่๒
22/11/2558
เปิดอ่าน 11053
 
ครุศาสตร์ มจร.เปิดรับสมัครนิสิต ปริญญาตรี สาขาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแนะแนว
22/11/2558
เปิดอ่าน 10991
 
งานวิจัย : กระบวนปลูกฝังค่านิยมการบริโภคด้วยพุทธิปัญญาสำหรับวัยรุ่น
งานวิจัยนี้ได้รับการคัดเลือกในการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ครั้งที่ ๑ MCU Congress 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ในหัวข้อพุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาจิตใจและปัญญา
15/03/2558
เปิดอ่าน 12820
 
ธรรมะรับอรุณ โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมดได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลาย จะทำให้เหมือนทุกคนไม่ได้ฉันนั้น
09/02/2558
เปิดอ่าน 12071
 
สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก เป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
ส่วนงานของสหประชาชาติที่กำกับดูแลองค์กรนอกภาครัฐของคณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติได้มีหนังสือลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ แจ้งให้ ทราบอย่างเป็นทางการว่า บัดนี้ สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak) ได้รับอนุมัติให้มีสถานะเป็นที่ปรึกษาพิเศษของคณะมนตรี เศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ
22/09/2556
เปิดอ่าน 11020
 
 
 
 
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
 
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
โทรศัพท์: 083 305 2392 |
เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th