พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรม
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?
เราจะนำมาใช้ในชีวิตอย่างไรได้ ?
พุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรม
-
ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ มีความสำคัญเพราะเป็นปีครบรอบ ๒๖๐๐ ปีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วทรงเมตตาสั่งสอนเผยแผ่อีก ๔๕ ปีจึงปรินิพพาน แล้วจึงเริ่มนับพุทธศักราช โดยฝ่ายอินเดีย ลังกา นับปีปรินิพพานเป็น พ.ศ.๑ ในขณะที่ข้างฝ่ายไทยและประเทศในแถบนี้นับเป็น พ.ศ.๑ เมื่อครบรอบปี
-
ในลังกามีการเฉลิมฉลองเมื่อวิสาขบูชาปีที่แล้ว อินเดียเริ่มฉลองตั้งแต่ปีที่แล้ว
ต่อเนื่องมาถึงปีนี้ เรียกกันทั่วไปว่า พุทธชยันตี หมายถึงการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระพุทธเจ้า ที่ทรงมีต่อความทุกข์ อันหมายถึงกิเลส มาร สิ่งไม่ดีงามทั้งปวง
-
พระมหาเถระทั้งหลาย อาทิ สมเด็จพระวันรัต(จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) สมเด็จพระพุทธ-
ชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) ได้ชี้แนะว่าควรที่
ชาวพุทธและชาวไทยจะได้ร่วมกันเฉลิมฉลองด้วยการช่วยกันเผยแผ่และส่งเสริมการเรียนรู้และน้อมนำหลักธรรมของพระพุทธองค์มาปฏิบัติเพื่อการชนะอย่างพุทธะ คือ
ผู้รู้ ผู้ตื่น และ เบิกบาน ด้วยการเจริญใน ทาน ศีล สมาธิ และ ภาวนา ให้ยิ่ง ๆ ขึ้น
ขบวนการและภาคีขับเคลื่อน
-
มหาเถรสมาคมได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ เสนอให้รัฐบาลดำเนินการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ประกอบด้วย กิจกรรมด้านการปฏิบัติบูชา ด้านวิชาการ และ ด้านกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม โดยคณะสงฆ์จะเน้นกิจกรรมด้านวิชาการ ซึ่งได้ร่วมกับองค์การสหประชาชาติจัดงานวิสาขบูชาโลกที่มีผู้แทนชาวพุทธจากทั่วทั้งโลกเข้าร่วมหลายพันคน ในระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม –๒ มิถุนายน ที่พุทธมณฑล หอประชุมสหประชาชาติ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วังน้อย)
-
ภาคีเครือข่ายพุทธศาสนิกชน ตลอดจนผู้สนใจได้มีการดำริและเตรียมการอย่างกว้างขวางหลากหลาย เฉพาะอย่างยิ่งงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา ที่ท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤษภาคม –๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จในวันที่ ๓๐
-
รัฐบาลออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ และมีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕ ตกลงให้สนับสนุนงานของคณะสงฆ์ และ งานที่ท้องสนามหลวง รวมทั้งงานเวียนเทียนที่พุทธมณฑล โดยจะมีการวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์กลางพุทธศาสนาโลกที่พุทธมณฑลด้วย นอกนั้น ให้ราชการ และ เอกชนพิจารณาจัดงานด้วยการเจียดจ่ายจากงบประมาณประจำและจัดหากันเอง
พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?
เราจะนำมาใช้ในชีวิตอย่างไรได้ ?
-
เฉพาะที่หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ ได้มีส่วนเชื่อมร้อยประสานกับสำนักงานทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) ปตท. บริษัท อินทัช จำกัด และภาคีเครือข่าย ได้ให้ความสำคัญในประเด็นนี้ โดยแบ่งกิจกรรมเป็น ๓ กลุ่ม เน้นการสร้างความตื่นตัวชวนให้สนใจ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ สนับสนุนส่งเสริมให้ได้ลองปฏิบัติ ประกอบด้วย
-
ด้านปริยัติและหลักธรรม
-
จัดพิมพ์หนังสือรวมบทความของครูบาอาจารย์ “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?”ประกอบด้วย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์, สมเด็จพระญาณ-สังวร, พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ), พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
-
จัดพิมพ์หนังสือ สื่อ สิ่งพิมพ์ นิทรรศการ ชุด “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ? และเราจะนำมาใช้ในชีวิตอย่างไรได้ ?”สำหรับร่วมทำบุญสมทบสร้างทำถวายไว้ติดตั้ง จัดแสดงที่วัด โรงเรียนทั่วประเทศ และ สถานที่ต่าง ๆ ในโอกาสต่าง ๆ ทั่วประเทศ
-
จัดพิมพ์หนังสือ “พระพุทธเจ้าสอนอะไร ? What Buddha Teach ?”ภาษาไทยและอังกฤษ สำหรับจัดวางทุกห้องพักแรมในโรงแรมทั่วประเทศเป็นเบื้องต้น จำนวน ๑๐ กอง กองละ ๘,๔๐๐ เล่ม รวม ๘๔,๐๐๐ เล่ม (โดย สำนักงานทรัยพ์สินส่วนพระมหากษัตริย์, กระทรวงวัฒนธรรม, กรุงเทพมหานคร, เครืออัมรินทร์, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ฯลฯ)
-
จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์ “๙ มนต์คาถาสำคัญ ๒๖๐๐ ปี”ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเมื่อ ๒๖๐๐ ปีที่แล้ว จนมีผู้บรรลุธรรมเป็นอริยสาวกผู้นำพระพุทธศาสนาออกเผยแผ่มาถึงทุกวันนี้
-
จัดพิมพ์หนังสือ “พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย”(ปรับปรุงใหญ่โดยพระพรหม-คุณาภรณ์) (โดย กองทุน ป. อ. ปยุตฺโต เพื่อเชิดชูธรรม)
-
จัดพิมพ์หนังสือ “ลองอ่านพุทธธรรม”(โดย กองทุนเกื้อโลก ป. อ. ปยุตฺโต, กระทรวงวัฒนธรรม,หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ฯลฯ)
-
จัดพิมพ์หนังสือ “ธรรม ไม่จำกัดกาล : ธัมมะ อกาลิโก”ของ พุทธทาสภิกขุ,ปัญญานันท-ภิกขุ,พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต),พระไพศาล วิสาโล และ ว.วชิรเมธี (โดย ศูนย์สื่อ ศิลปะ และ มหรสพ เพื่อสุขภาวะทางปัญญา, สสส.,หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินท-ปัญโญ)
-
ด้านการเผยแผ่
-
จัดทำชุดนิทรรศการหลัก “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ? เราจะนำมาใช้ในชีวิตอย่างไรได้”เพื่อจัดแสดงในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ณ ศูนย์ประชุมแห่ง
ชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ ๒๙ มีนาคม –๘ เมษายน ๒๕๕๕ และ งานวัดลอยฟ้า : เทศกาลลานโพธิ์ มหกรรมแห่งโพธิปัญญา ดินแดนว่าง สว่าง สงบ ณ รอยัลพารา-กอนฮอลล์ ชั้น ๕ สยามพารากอน ระหว่างวันที่ ๑๗ –๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕
-
จัดทำสื่อ สิ่งพิมพ์ และจุลนิทรรศการ “พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ? เราจะนำมาใช้ในชีวิตอย่างไรได้”จำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า ๘๔,๐๐๐ ชิ้น เพื่อเชิญชวนร่วมกันสร้างทำถวายมอบให้เพื่อติดตั้งที่วัด โรงเรียน องค์กรสถาบัน สำนักงาน ชุมชนท้องถิ่น และ บ้านเรือน ฯลฯ
-
สนับสนุน ส่งเสริมการแสดง สื่อสารสารธรรมในวงกว้าง เพื่อการตื่นตัวชวนให้สนใจ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวาง
-
ด้านการส่งเสริมการปฏิบัติ
-
ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการระดมธรรม ตามวาระ โอกาส และสถานที่ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
-
รณรงค์การทำทาน ถือศีล สวดมนต์เจริญจิตตภาวนา ๙ คาถาสำคัญ๒๖๐๐ ปี ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในช่วงหลังตรัสรู้ ในวาระ โอกาสและจังหวะต่าง ๆ ตลอดปีทั่วทั้งประเทศ
-
รณรงค์การทำประทักษิณเวียนเทียนใหญ่ทั่วทั้งประเทศ ในวันวิสาขบูชา ๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
-
การจัดงานวัดลอยฟ้า:เทศกาลลานโพธิ์ มหกรรมแห่งโพธิปัญญา
ดินแดนว่าง สว่าง สงบ ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น ๕ สยามพารากอน ระหว่างวันที่ ๑๗ –๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ประกอบด้วย กิจกรรมการใส่บาตรทำทาน เจริญศีล สมาธิ สวดมนต์ เจริญจิตตภาวนา การแสดงและอภิปรายธรรม กิจกรรมธรรมนันทนาการ ตลอดจนการแสดงกิจกรรมผลงานของภาคีเครือข่ายธรรมทั่วประเทศ และนิทรรศการทางธรรมต่าง ๆ
-
การจัดมหกรรมหนังกลางแปลงแห่งชาติ ด้วยการคัดเลือกหนังดีมีข้อคิดทางธรรม ส่งให้เปิดฉายดูในทุกวัดและชุมชนท้งถิ่นทั่วทั้งประเทศ และ ที่ ลานมหาเจษฎาบดินทร์ กรุงเทพมหานคร หลังเวียนเทียนคืนวันวิสาขบูชา
๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ (กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงมหาดไทย, กรุงเทพมหานคร)
-
การจัดฉายภาพยนต์พระพุทธศาสนาเรื่องแรกของโลก Light of Asiaพร้อมการบรรเลงสด ดนตรีโหมโรง และเพลงประกอบ โดยอาจารย์บรู๊ซ
แกสตัน อนันต์ นาคคงและคณะ ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซินีม่า
เซ็นทรัลเวิลด์ วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๕ (กระทรวงวัฒนธรรม)
-
เทศกาลภาพยนตร์พุทธปัญญานานาชาติกรุงเทพณ Central World ร่วมกับ International Buddhist Film Foundation ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ ๗ –๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ SFX เซ็นทรัลเวิลด์
-
กิจกรรม “ทำมะ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตื่น ๒๖ วัน เปลี่ยนชีวิต”ตั้งแต่วัน
วิสาขบูชา ที่ ๔ มิถุนายนจนสิ้นเดือนและต่อเนื่องตลอดปี ให้ได้ไม่ต่ำกว่า ๒๖,๐๐๐ คน ทั่วประเทศ ผ่าน ๒๖ หน่วยภาคีเครือข่าย เครือข่ายละ ๑,๐๐๐ คน (สสส.)
-
การเชิญชวนร่วมกิจกรรมสร้างทำและประกวด ๒๖๐๐ คลิปมือถือ
“สงบ ท่ามกลางความวุ่นวาย” กับพระไพศาล วิสาโล แล้วร่วมในมหกรรม ณ หอศิลป์กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๘ –๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕
-
การจัดอบรมและประกวดหนังสั้น “ว่าง ท่ามกลางวุ่น”ร่วมกับ ว.วชิรเมธี และ GTHเพื่อจัดฉายในเทศกาลภาพยนตร์
-
สัปดาห์หนังสือเด็กและหนังสือเพื่อพัฒนาจิตตปัญญา(Spiritual BookFair) ร่วมกับสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย และ กรุงเทพมหานคร ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ ๑๑ –๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕
หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
ณ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ปรับปรุง ๑,๕ มีนาคม และ ๔ เมษายน ๒๕๕๕
เขียนเมื่อ
3 พฤษภาคม 2555 | อ่าน
3073
เขียนโดย
โรงเรียนบ้านลานคา