การสื่อสารอย่างสันติขั้นต้น

คุณเคยเจอปัญหาเช่นนี้ไหม

ยิ่งคุยกับแฟนยิ่งทะเลาะกัน,มีเจ้านายแบบสุด ๆไม่เคยจะเข้าใจลูกน้อง,หรือมีลูกน้องแบบสุด ๆพูดอะไรก็ไม่ทำตาม,เวลาพูดกับแม่สามีไม่เคยลงเอยด้วยดีสักที,หรือเบื่อจริง ๆที่ต้องไปเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับทุกข์ชาวบ้านฯลฯ

...การสื่อสารอย่างสันติอาจจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่คุณสามารถนำไปใช้คลี่คลายปัญหาการสื่อสารเหล่านี้ได้...

การสื่อสารอย่างสันติ(Compassionate Communication)เป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสารโดยใช้ความกรุณาเป็นพื้นฐานมุ่งให้เกิดการฟังและพูดด้วยความเข้าอกเข้าใจช่วยให้เราสามารถสานสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้งอีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ในการคลี่คลายความขัดแย้งโดยให้ความสำคัญกับความต้องการของทุกฝ่ายและเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างกัน

วิธีการนี้มีพื้นฐานบนหลักการNonviolent Communication ของ ดร. มาแชลโรเซนเบอร์ก (www.cnvc.org)ผู้พัฒนาวิธีการสื่อสารนี้จนได้รับการนำไปใช้คลี่คลายความขัดแย้งมาแล้วในหลากหลายประเทศทั้งในระดับความสัมพันธ์ส่วนบุคคลองค์กร สถาบันการศึกษาการบริการด้านสุขภาพบริษัทธุรกิจการทำงานเพื่อสังคมหน่วยงานของรัฐในความขัดแย้งทางการเมืองฯลฯ

| วันที่จัด |
 วันที่ 14-15มกราคม 2555

| เนื้อหาการอบรม |
 -นำเสนอแนวคิดและเครื่องมือรูปแบบของการสื่อสารอย่างสันติเบื้องต้นองค์ประกอบหลักสี่ประการอันได้แก่ การสังเกตความรู้สึก ความต้องการและการขอร้อง
 -เรียนรู้เทคนิคในการสื่อสารและฝึกหัดการรับและแสดงความเข้าใจผู้อื่นรับฟังสารที่สื่อออกมาอย่างไม่สันติด้วยความเข้าใจด้วยการสาธิต
 -การประยุกต์การสื่อสารอย่างสันติไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
 -ฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์ในชีวิตจริง
 -ฝึกฝนการภาวนาควบคู่ไปกับการเรียนรู้ทักษะการสื่อสาร

| กระบวนการอบรม |
 -ใช้กระบวนการแบบการมีประสบการณ์ร่วม(experiential style)โดยดึงตัวอย่างจากประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมรับฟังทั้งผู้อื่นและตนเองด้วยความกรุณา
 - กิจกรรมท้าทายให้กำลังใจอย่างลึกซึ้งและสนุก
 -เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นความรู้สึกอย่างจริงใจอย่างสันติโดยหลีกเลี่ยงการทำให้อีกฝ่ายปิดรับและตั้งแง

| วิทยากร |
พูลฉวี เรืองวิชาธรและกลุ่มเมล็ดพันธุ์แห่งสันติ

| สถานที่ |
เรือนร้อยฉนำสวนเงินมีมา คลองสานกรุงเทพฯ

|บริจาคเข้าร่วมกิจกรรม|
 บริจาคตามกำลังทรัพย์รับจำนวน 32 ท่านเฉพาะผู้ที่มีคุณสมบัติดังนี้
 - ผู้ที่ทำงาน ภาคสังคมเช่น มูลนิธิ , NGOหรือผู้ที่ทำงานลงพื้นที่เพื่อพัฒนาชุมชน
 - ผู้ที่ทำงาน ภาครัฐที่สนใจแต่หน่วยงานไม่มีแรงสนับสนุน(ที่มีรายได้ต่ำกว่า๑๒,๐๐๐ บาท)
 - บุคคลทั่วไปที่มีรายได้ต่ำกว่า๑๒,๐๐๐ บาท
 - ผู้พิการ ,นักศึกษา , และพระสงฆ์ เณร  แม่ชี

|สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ |
 เสมสิกขาลัยสำนักงานรามคำแหงจงรักษ์ แซ่ตั้ง หรือสาวิตรี กำไรเงินโทรศัพท์ 02-314 7385 ถึง 6


เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2554 | อ่าน 4566
เขียนโดย admin

 
 
ข้อมูลผลการดำเนินงาน
  • ทั้งหมด 129 รายการ 1 / 7
     
     
     
    เว็บไซต์และข้อมูลของโรงเรียนทุกโรงเรียนในเว็บไซต์นี้ สงวนลิขสิทธิ์ การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์อื่นใด
    ต้องได้รับการอนุญาต จากเจ้าของเว็บไซต์ก่อนเสมอ
     
    สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(สนก.)
    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
    ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
    โทรศัพท์ 02-288-5889-90 โทรสาร 02-288-5879
    Powered by ThaiAppCenter.com ศูนย์รวมแอปมือถือไทย
    โครงการสถานศึกษาวิถีพุทธ สำนักงานพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 55 ตำบลลำไทร
    อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13170
    โทรศัพท์: 083 305 2392 |
    เจ้าหน้าที่เว็บไซต์เข้าสู่ระบบ
    พัฒนาเว็บไซต์โดย: สคูลจ๊อบ สมัครครู ประกาศรับสมัครครู สมัครงานโรงเรียน www.schooljob.in.th